Sunday, April 30, 2006
ความเคลื่อนไหวของผม
ความเคลื่อนไหวของผม
(ภาพถ่ายโดย อรรัตน์ คุ้มทรัพย์)
สวัสดีชาวบล็อกทุกท่าน โดยเฉพาะผู้วิวาทะกันแบบมันหยดติ้งๆ ทั้ง นิติรัฐ ราติโอ้ พี่กล้า น้องมิ้ม ปกป้อง และไร้นามทั้งหลาย
วันนี้ วันดี คลื่นลมการเมืองสงบ อารมณ์ดี มีความสุข เนื่องจากภารกิจเพื่อชาติเท่าที่ผมทำได้ ใกล้เสร็จสิ้นแล้ว โดยสรุป ผมถือว่า แผนการณ์ที่ผมวางไว้ทั้งหมดเสร็จสิ้นลงเพียงครึ่งหนึ่ง ในขณะที่ภารกิจกู้ชาติ คืบหน้าไปเพียงไม่กี่คืบ ดังนั้นผมจึงได้เวลาชี้แจง ด้วยความสุภาพแก่มิตรรักทุกท่าน อีกครั้งหนึ่ง
.....................................
สำหรับผม ทำไมต้องกู้ชาติ ?
1.ระบอบทักษิณปล้นเงินที่ต้องโอนไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวม 1,600,000,000,000 บาท พวกท่านอยู่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบใด
2.ระบอบทักษิณขายรัฐวิสาหกิจ ขายสัมปทาน ซึ่งเป็นสมบัติชาติ และหลักประกันการดำรงชีวิตของคนในชาติทุกคน
3.ระบอบทักษิณฮุบกิจการที่เป็นสมบัติชาติเอาไปเป็นของตัว คือ ปตท. และต้องการฮุบ กฟผ.เนื่องจากมีระบบสายเคเบิ้ลที่มีประสิทธิภาพสูงในการส่งข้อมูลมากกว่าดาวเทียมหลายร้อยเท่า
ฝากท่านทั้งหลายศึกษาข้อมูลให้ครบ เพราะผมขี้เกียจเขียนขยายความ
...................................
เป้าหมายส่วนตัว ทำลายระบอบทักษิณ ด้วยการตัดที่ฐานราก ผมใช้ชื่อ กลยุทธว่า รื้อไม้ค้ำ
"ทักษิณ เปรียบดังต้นไม้ที่ตายแล้ว แต่ยืนอยู่ด้วยไม้ค้ำ คือ ลิ้วล้อ และสิบเก้าล้านเสียงที่ชอบอ้าง ดังนั้นการเอาชนะจึงไม่ใช่การตีที่นาย เพราะตีนายไม้ค้ำจะตั้งแข็งขึ้นมาบัง ทำให้ต้นไม้ไม่ล้ม"
ข้อจำกัด
1.ทักษิณ ยึดครองสื่อ ปิดหู ปิดตา ประชาชน ส่งคนไปนั่งดูรายการทีวีแทบทุกช่อง นอกจากนี้ตัวระบอบกินลึก
2.ผมส่วนตัวกำลังน้อย จึงต้องอาศัยกำลังผู้อื่น เพื่อนำ อาจารย์ไร้ทุนทางสังคมอย่างผมเหยียบไปบนสนามกำลัง
3.ผมไม่อาจเสนอยุทธศาสตร์ใหญ่ต่อพันธมิตรได้โดยตรง ในตอนหลังมีคนเดือนตุลาชักชวนจึงได้เข้าร่วมในทีมที่ปรึกษาของคนเดือนตุลากลุ่มหนึ่ง ซึ่งบางคนมีส่วนในการจัดตั้งพรรคไทยรักไทย จึงได้เริ่มเสนอกลยุทธ แต่ค่อนข้างจะช้าเกินไป
4.พันธมิตรดำเนินกลยุทธผิดพลาดในตอนต้น คือ ชุมนุมใหญ่เร็วเกินไป คือวันที่ 26 กุมภา ในขณะที่ภาพของพันธมิตรยังดูดี ควรบุกตะลุยต่างจังหวัดก่อน เพื่อสมานเจตนารมณ์ร่วม แต่รีบกลับเข้า กทม.เร็วเกินไป ตรงจุดนี้กลายเป็นข้อจำกัดจนถึงปัจจุบัน ที่พันธมิตรไม่อาจขยายแนวได้มาก
5.ในเรื่องนายกพระราชทาน ผมถือเป็นกลยุทธที่ต้องลงเรือลำเดียวกัน เพื่อนำมวลชนออกสู่ท้องถนน ซึ่งในพันธมิตรเองก็มีคนไม่เห็นด้วยเยอะ แต่ในยามหน้าสิ่วหน้าขวานกองทัพออกศึกต้องพร้อมเข้าใจเจตนารมณ์สูงสุดร่วมกัน
6.ระบอบกฎหมาย เหมือนคนเป็นอัมพาต เพราะระบบทักษิณหลับตาตลอด บางเรื่องผมถือว่า หรี่ตาลง เพื่อชัยชนะ และนำ นิติรัฐกลับมาสถาปนาให้มั่นคง เปรียบเสืมอนปลวกกินเสาเรือน ต้องขุดขึ้นมาก่อน แล้วเอาเสามาตั้งใหม่ให้ได้หลังกำจัดปลวก
...................................
กิจกรรม
1.ออกเดินทางปราศรัย
ที่ อุบล ชัยนาท สิงห์บุรี ศรีษะเกษ โคราช ปทุมธานี ลานโพธิ์ สนามหลวง มิสกวัน มัฆวาฬ สีลม พารากอน หน้าพรรคไทยรักไทย หน้า กกต. โดนขวดเขวี่ยงก็มี โดนแท็กซี่บีบแตรใส่ นอนค้างในที่ต่างๆข้างม็อบ ตำรวจตาม มีโทรขู่ ทุกรูปแบบ
2.ฟ้องคดี เพิกถอนสัญญาสัมปทาน ตอนนี้อยู่ในระหว่างอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้อง หากศาลรับเตรียมซื้อเสื้อเกราะกับโลงจำปา ฮา ฮา
3.เป็นทีมทำข้อมูลและทนายความศาลจำลอง ภายใต้บังคับการของ อ.ปริญญา และ อ.บรรเจิด
4.ร่วมทีมที่ปรึกษา กับคนเดือนตุลา
5.เป็นที่ปรึกษากฎหมายศูนย์จับตาการเลือกตั้ง นำเสนอประเด็นร่วมกับ อ.คมสันต์ โพธิ์คง เพื่อให้พันธมิตร และสภาทนายนำไปฟ้องคดี ล่าสุดศาลปกครองสั่งระงับการเลือกตั้ง 29 เมษายน
6.ออกรายการคม ชัด ลึก ร่วมกับคุณรสนา และคุณสมเกียรติ (ประธานสหภาพแรงงานท่าเรือฯ)
........................
ผลร้ายที่ตามมา
1.ถูกพ่อด่า แม่ด่า ตาด่า แต่พี่สาวเชียร์ น่ารัก
2.ถูกชาวบล็อกจำนวนมากด่า ถึงพ่อ แม่ ทั้งที่พ่อ แม่ก็ด่าผมเหมือนกัน ฮา ฮา ไล่มาตั้งแต่
3.ถูกตั้งข้อกล่าวหาโดยชุมชนบล็อกเก่อมากมายเพราะ ความบ้าระห่ำ เลือดเดือดของผมเอง ฮา ฮา พี่กล้า นิติรัฐ ราติโอ้ มิ้ม และพวกลิ้วล้อไร้นามทั้งหลาย
4.มีหนี้ติดตัว จากค่าเดินทางโดยแท็กซี่กู้ชาติ ค่าโรงแรม ศิริรวมแล้วตอนนี้ ประมาณ ครึ่งแสน
5.มีความสุขดี เพราะผมถือว่า ได้สู้เพื่อคนทุกคนรวมทั้งคุณที่ด่าผมเละ
......................
บุคคลที่ประทับใจ
1.กลุ่ม อดีต สว. มาลีรัตน์ แก้วกาบ การุณ ใสงาม สมบูรณ์ ทองบุราณ
2.กวีชาวบ้าน สมาน เกาะเหล็ก
3.อ.ภูวดล ม.เกษตร พี่ดี๋ ดอกมะดัน พี่วีระ สมความคิด พี่ดนัย อนันตโย
4.พี่สมศักดิ์ โกศัยสุข และ อ.สมเกียรติ พงศ์ไพบูล
5.พี่นิติรัฐ น้องจูน น้องเรย์ คนคุมเวทีและพนักงานของ astv
6.ฮิวโก้ นายเจ๋งจริง
7.พี่น้องในพันธมิตรที่มาชุมนุมทุกท่าน
.........................
ตกหลุมรัก
อ.บรรเจิด อ.เจริญ อ.คมสันต์ ในฐานะ นักปราชญ์คู่แผ่นดิน
.......................
เหตุการณ์ประทับใจ
1.แจกลายเซ็นให้แฟนๆ ยังกับ ฟิล์ม รัฐภูมิ
2.มีแม่ยก ป้าๆทั้งหลาย ทำกับข้าวมาให้กิน
3.ทำหน้าที่ส่งสารเรื่อง The King can do no wrong ให้กับพี่คำณูน จนคุณสนธิเอาไปพูดและถูกฟ้องคดีหมิ่นฯ
4.ไปปราศรัยหน้าไทยรักไทย ร่วมกับพี่น้องรามที่น่ารักและมันส์มาก ชอบๆ
5.ยืนด่า วาสนา บนเวทีหน้า กกต.สิบหน
6.ปราศรัยที่พารากอน วัยรุ่นตรึม หวานกรอบ
...................................
สำหรับชาวบล็อกทั้งขาประจำและขาจร ผมขอเรียนท่านทั้งหลาย ว่าผมเป็นคนสุภาพ สุภาพมากด้วย และให้เกียรติคนอย่างเสมอหน้า ไม่เคยกดหัวใคร และต่อสู้กับพวกกดหัวชาวบ้านเสมอๆ
ในช่วงแรกที่ผมเริ่มเคลื่อน และเขียนบล็อกไปด้วย มีคนเริ่มเล่นผมด้วยความรุนแรง ผมสุภาพ แต่ก็ยังไม่หยุด ผมก็แรงบ้าง (กรุณาไปสืบดูกันด้วย อย่ามองข้าม ไม่เช่นนั้นผมถือท่านที่ชอบด่าผมไม่มีความเป็นธรรม)
จากนั้น ผมไปปราศรัย ก็มีพวกออกมาตำหนิ โดยไม่เข้าใจว่าการพูดในม็อบเป็นอย่างไร ไม่เข้าใจในสไตล์ของผม จังหวะนั้น ผมเองก็ไม่ฟังใครเหมือนกัน เพราะผมมีเรื่องต้องคิด ต้องทำเยอะ และคนติผมก็หาได้เป็นผู้ที่คู่ควรจะติ เพราะไม่ได้ทำอะไรเลยนอกจากติ ถามว่ามีคนติไหม มีแต่คนเหล่านั้นล้วนเป็นผู้มีผลงานมาแล้วทั้งสิ้น ซึ่งผมฟัง ฟังเพราะเขาเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เช่น อ.สมคิด อ.พันธ์ทิพย์ อ.ชลธิรา ในขณะที่ มีคนชม อย่าง อ.สุรพล อ.บรรเจิด อ.พินัย แล้วคนอย่าง นิติรัฐ ราติโอ้ ปกป้อง ทำอะไรมาบ้าง เป็นใคร จึงหาญกล้ามาวิจารณ์ผม ผมก็สวนไปตามสันดาน นักเลง
จากนั้น ผมก็ปิดบล็อกดีกว่าเพราะ ดูจะไม่ค่อยมีใครให้ความเป็นธรรมหรือดูต้นสายปลายเหตุสักเท่าไร ทั้งนี้ก็เนื่องจากอ่านบล็อกผมเป็นตอนๆไม่ได้อ่านติดต่อกัน จึงไม่เข้าใจในเหตุการณ์ นอกจากไม่มีความเป็นธรรมยังอ่อนหัดในเรื่องกลยุทธ โดยเฉพาะ นิติรัฐ และราติโอ้ ที่ถึงกลับลงทุนเขียนบล็อกตอบโต้สองตอน ผมบอกได้เลยว่าผมอ่านแบบผ่านๆ เพราะไร้สาระ และผมก็ตลกใจที่มีคนออกมามั่วกับสองคนนี้เต็มไปหมด น่าสังเวชจริงๆ นอกจากนี้เวลาผมเจอคนไร้สาระมากๆผมจะไม่อยากชี้แจง เพราะขี้เกียจพูด และก็โตๆกันแล้วไปคิดเอาเอง
....................................
ทั้งหลายทั้งปวง จึงฝากไปยังทุกท่าน ด้วยความนับถือว่า กรุณาดูสิ่งที่ผมเคลื่อนไหว กลับไปถามเหตุการณ์ในบล็อกที่สลายไปแล้ว จากผู้ที่พอรู้ ดูเหตุการณ์ให้ครบถ้วนก่อน หรือหัดรับฟังคำชี้แจงบ้าง แล้วค่อยตัดสินผม
.....................................
ส่วนกรณีบรรลุเซน อัตตา อนัตตา นั้น ยังยืนคำเดิม ว่าท่านทั้งหลายต้องเรียนรู้จากผม
บทเรียนแรก แลเห็นความรู้สึกต่างๆที่มีต่อผม ในใจของท่านซะก่อน
เพราะ เซน สรุปรวมลงแค่
"การแลเห็นธรรมชาติภายในตนเอง ซึ่งไร้ธรรมชาติ"
มิใช่จำมาพูด แต่ผมปฏิบัติวิปัสสนามาหลายปี
อย่าลืมว่าการมองว่าคนพูดหยาบ จะบรรลุธรรมได้อย่างไร เป็นความติดยึดอย่างนึง
การมองว่าผมหยาบคาย อุบาทว์ ก็เป็นการยึดติดอย่างหนึ่ง
...................................
ทุกอย่างที่ผมทำ หรือพูด เป็นเพียงความเคลื่อนไหว จากธรรมชาติของผมซึ่งไร้ธรรมชาติเท่านั้น แล้วท่านจะรู้ว่าท่านนั้นแหละที่คิดผิด
.............................
บุญรักษา ชีวาสดชื่น
Thursday, April 27, 2006
สถานการณ์บ้านเมืองภายหลังกระแสพระราชดำรัส
สถานการณ์บ้านเมืองภายหลังกระแสพระราชดำรัส
(ตีพิมพ์ในมติชน วันที่ 1 พ.ค.2549)
ในที่สุดสถานการณ์บ้านเมืองก็เริ่มเข้าสู่ภาวะคลี่คลายตัวได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้ภายหลังที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีกระแสพระราชดำรัสต่อคณะตุลาการศาลปกครองสูงสุด และคณะผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งกระแสพระราชดำรัสของพระองค์มีความชัดเจนโดยไม่ต้องอรรถาธิบายขยายความเพิ่มเติม
แก่นแท้ของพระราชดำรัสในมุมมองของนักกฎหมาย มีความชัดเจนว่า ต่อไปนี้ประเทศชาติต้องกลับมาสู่ การปกครองในระบอบประชาธิปไตย กลับมาสู่การปกครองโดยกฎหมาย (The Rule of Law) ซึ่งหากประชาชนทุกหมู่เหล่าน้อมรับกระแสพระราชดำรัสมาใส่เกล้าใส่กระหม่อม และปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระองค์อย่างเคร่งครัด สังคมการเมืองไทยที่เคยอยู่ในสภาวะโกลาหล (Chaos) มานานพอสมควรย่อมพบกับจุดพลิกผันที่สวยงามหมดจด จนบรรดานานาอารยะประเทศต่างชื่นชมและประหลาดใจที่การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองของประเทศไทยเป็นอย่างอารยะ แตกต่างจากเหตุการณ์ที่เกิดการชุมนุมประท้วง ในประเทศพิลิปปินส์ ประเทศเนปาล และ ประเทศฝรั่งเศส โดยสิ้นเชิง
สภาวการณ์ทางการเมืองหลังจากนี้ คงต้องดำเนินไปบนพื้นฐานของการเคารพหลักประชาธิปไตยและหลักการปกครองโดยกฎหมายมากกว่าที่เคยเป็น ซึ่งหากมีการดำเนินการใดบนพื้นฐานของหลักการทั้งสองประการอย่างเคร่งครัดแล้ว ปรากฏการณ์ทางการเมืองภายหลังจากนี้น่าจะมีทิศทางดังต่อไปนี้
1. การยกเลิกการเลือกตั้งและกลับสู่การเลือกตั้งของพรรคร่วมฝ่ายค้าน
จากเหตุการณ์การเลือกตั้งที่มีปัญหาความไม่ชอบธรรมในหลายกรณี ทั้งอำนาจในตราพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้ง กรณีการทุจริตการเลือกตั้ง กรณีความไม่โปร่งใสในการจัดการการเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยในหลายกรณีนั้นยังไม่มีกระบวนการในการหาคำตอบที่ชัดเจนว่าการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในวันที่ 2 เมษายน 2549 มีความบริสุทธิ์ยุติธรรมเพียงใด แต่สิ่งที่ปรากฏชัดเจน คือ การเลือกตั้งที่ผ่านมามีการลงสมัครของผู้สมัครคนเดียวอยู่หลายร้อยเขต ซึ่งนั่นมิใช่วิถีทางของระบอบประชาธิปไตยที่ต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิที่จะเลือก ซึ่งการที่ประชาชนจะเกิด “สิทธิที่จะเลือก” ได้ โดยเหตุผลก็ต้องมีผู้สมัครหลายคนให้พิจารณาตัดสินใจ ดังนั้น การเลือกจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากปรากฏว่าในเขตเลือกตั้งมีผู้สมัครเพียงคนเดียว
กรณีดังกล่าวเป็นผลมาจากการบอยคอตการเลือกตั้งของพรรคร่วมฝ่ายค้าน ซึ่งแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนในการต่อต้าน “ระบอบทักษิณ” ในวิถีทางที่แตกต่างไปจากพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งหลักจากนี้หากมีการจัดการเลือกตั้งรอบใหม่ พรรคร่วมฝ่ายค้านคงปฏิเสธที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งไม่ได้อีกต่อไป
2. การชุมนุมประท้วงเพื่อต่อต้าน “ระบอบทักษิณ”
บนวิถีทางของการปกครองระบอบประชาธิปไตย สิ่งที่กฎหมายจะต้องเข้าไปรับรองและคุ้มครองในประการสำคัญ ก็คือ สิทธิและเสรีภาพในแสดงความคิดความเห็น และสิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมในที่สาธารณะ ซึ่งภายใต้กรอบของกฎหมายถือว่าหลักการดังกล่าวมีศักดิ์ทางกฎหมายเป็นหลักการในระดับ รัฐธรรมนูญ ซึ่งถือเป็นหลักการสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ อันกฎหมายที่อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าหรือการกระทำในรูปลักษณะใดๆจะขัดหรือแย้งมิได้
ดังนั้นหากพิจารณาถึงข้อเรียกร้องของ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ยอมยุติข้อเรียกร้องในการขอ “นายกพระราชทาน” ตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว มิได้หมายความว่า กลุ่มประชาชนจะไม่มีสิทธิในการชุมนุมโดย สงบ เปิดเผย และปราศจากอาวุธแต่อย่างใด ทั้งนี้ ก็เนื่องด้วยเหตุผลที่ว่า เจตนารมณ์ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแท้จริงมุ่งเน้นประเด็นความสำคัญในการต่อต้านระบอบทักษิณ และการขอให้นายกรัฐมนตรีลาออก ด้วยเหตุนี้เมื่อนารัฐมนตรียังไม่ลาออก ย่อมหมายความว่า วิถีทางในการดำเนินการของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็ยังไม่บรรลุผล และเมื่อสิทธิในการชุมนุมในที่สาธารณะเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญที่สามารถกระทำได้ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจึงสามารถดำเนินการชุมนุมประท้วงต่อไปได้บนพื้นฐานของหลักการแห่งเสรีประชาธิปไตย และหลักการปกครองโดยกฎหมาย
ซึ่งกรณีนี้มีนัยที่ควรจับตา คือ การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยกรณีว่า ร่าง พรบ.ทางหลวง (ฉบับที่...) พ.ศ.....ที่มีข้อความห้ามมิให้ผู้ใดชุมนุมกันบนเขตทางหลวง ขัดหรือแย้งกับต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 29 และ 44 หรือไม่
3. การแสดงบทบาทของ “องค์กรตุลาการ” ในการดำเนิน “กระบวนการยุติธรรม” ในทุกรูปแบบ
เมื่อประชาชนทุกหมู่เหล่าเห็นพ้องต้องกันว่า การปกครองประเทศจะต้องดำเนินไปบนพื้นฐานของหลักการปกครองโดยกฎหมาย ด้วยเหตุดังกล่าว เมื่อปรากฏกรณีอันเป็นที่สงสัยถึงความไม่สุจริต การคอรัปชั่นอย่างมโหฬารของรัฐบาลชุดปัจจุบัน กระทั่งการกระทำผิดกฎหมายของฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในการชุมนุมประท้วง และด้วยเหตุที่ ไม่มีบุคคลใดอยู่เหนือกฎหมาย (No man above the Law) “กระบวนการยุติธรรม” จึงเป็นคำตอบที่ดีที่สุดในการพิจารณาคดีความต่างๆเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับทั้งสองฝ่ายอย่างตรงไปตรงมา อย่างเป็นอิสระ และปลอดจากการแทรกแซงโดยอิทธิพลใดๆ
ด้วยเหตุดังกล่าว สิ่งที่ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ จะต้องทำการทบทวนบทบาทของตนเองว่า คดีประเภทใดอยู่ในอำนาจของศาลใด โดยเฉพาะประเด็นการปฏิเสธการตัดสินคดีนั้น ทั้งสามองค์กรควรมีการประชุมปรึกษาหารือกันในประเด็นดังกล่าว เพื่อให้กรณีที่เป็นที่สงสัยของสังคมเข้าสู่ “กระบวนการทางกฎหมาย” เข้าสู่ “กระบวนการยุติธรรม” มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สอดคล้องกับภาษิตกฎหมายที่ว่า “ผู้พิพากษาไม่สามารถปฏิเสธการตัดสินคดีได้” นอกจากนี้การตัดสินคดีความต่างๆต้องเป็นไปด้วยรวดเร็ว ดังภาษิตกฎหมายที่ว่า “Justice delay Justice Deny” และสำหรับนักกฎหมายทุกคนพึงพิจารณาว่าในการใช้กฎหมาย “กฎหมายกับความยุติธรรมจะต้องไม่ขัดแย้งกัน” ( Law and Justice should not be conflicting) หากบทบาทของ “องค์กรตุลาการ” เป็นไปตามภาษิตกฎหมายที่กล่าวมา ผมเชื่อว่า องค์กรตุลาการ จะกลายเป็นหัวรถจักรในการกอบกู้ หลักการปกครองโดยกฎหมายกลับคืนสู่ประเทศไทย และ องค์กรตุลาการก็จะกลายเป็นผู้ธำรงบทบาทของนักกฎหมายในฐานะวิศวกรของสังคม ( Social Engineering) ได้อย่างแท้จริง
4. การดำเนินการปฏิรูปการเมือง การปฏิรูปสังคม และการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ
วิวาทะสำคัญที่ทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็น ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน ฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน และประชาชน กล่าวถึง และเป็นวิวาทะที่ทุกฝ่ายมีจุดร่วมตรงกันก็คือ การปฏิรูปการเมือง ด้วยเหตุดังกล่าว ประเด็นการปฏิรูปการเมือง หรือในกรณีของอาจารย์จอห์น อึ้งภากร ขยายความกว้างไปถึงการปฏิรูปสังคม จะกลายเป็นวาระแห่งชาติที่ต่างฝ่ายจะต้องเข้ามาร่วมคิด ร่วมแสดงความคิดเห็นในเชิงลึกอย่างแน่นอน กรอบขอบเขตที่เริ่มมีการพูดถึงไปบ้างแล้ว อาทิเช่น องค์ประกอบของคระกรรมการปฏิรูปการเมือง วิธีการในการปฏิรูปการเมือง กรอบระยะเวลาในการปฏิรูปการเมือง แต่นั้นยังไม่มากเพียงที่จะทำให้การปฏิรูปการเมืองเกิดสัมฤทธิผล
ด้วยเหตุดังกล่าว การดำเนินการปฏิรูปการเมือง การปฏิรูปสังคม ในประเด็นปัญหาต่างๆอย่างเข้มข้นคงจะเกิดขึ้นในไม่ช้าไม่นาน แต่สิ่งหนึ่งที่ผมอยากฝากทุกฝ่ายพึงพิจารณาในเบื้องต้น ก็คือ ในการพิจารณาประเด็นปัญหาต่างๆนั้น ควรมีการทำความเข้าใจสภาพสังคมวิทยาการเมืองไทยให้มีความชัดเจน และเข้าใจแก่นแท้ของปัญหาเสียก่อน ก็จะส่งผลทำให้ การปฏิรูปการเมือง การปฏิรูปสังคม จนนำไปสู่ การปฏิรูปรัฐธรรมนูญ ดำเนินไปบนพื้นฐานของ อริยสัจสี่ประการ ซึ่งเป็นทางดับทุกข์ของสังคมได้อย่างแท้จริง
5. การจัดการเลือกตั้งภายหลังการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ในกรณีที่อาจเกิดขึ้น คือ องค์กรตุลาการ อาจมีคำพิพากษาให้ยกเลิกการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 จนนำไปสู่การมีพระราชกฤษฎีการกำหนดวันเลือกตั้งฉบับใหม่ ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นพรรคฝ่ายค้านก็จะเข้าร่วมในการเลือกตั้งที่ตามพระราชกฤษฎีการฉบับใหม่ ซึ่งในกรณีดังกล่าวจะเป็นอันตรายอย่างยิ่งหาก ภายหลังการเลือกตั้งดังกล่าวเสร็จสิ้นลง ไม่มีการดำเนินการใดๆในการปฏิรูปการเมืองตามมาภายหลัง ดังนั้นพันธกิจสำคัญของทั้งฝ่ายรัฐบาลในอนาคต และฝ่ายค้านในอนาคต ภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ก็คือ การปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 2 จนนำไปสู่การมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และหลังจากนั้นสิ่งที่ควรทำ คือ การยุบสภาเพื่อให้เกิดการเลือกตั้ง บนพื้นฐานของกฎ กติกาใหม่ ที่ผ่านการพิจารณาจากทุกฝ่ายของสังคมเป็นที่เรียบร้อย
ท้ายที่สุดผมมีความคาดหวังว่า หากสังคมไทยน้อมรับกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวใส่เกล้าใส่กระหม่อม น้อมรับแนวทางเสรีประชาธิปไตย และหลักการปกครองโดยกฎหมายที่พระองค์ทรงสอนสั่ง มาปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรมจนนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านทางสังคมบนพื้นฐานแห่งการเรียนรู้ร่วมกันอย่างปราศจากความรุนแรงซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนไม่ปรารถนาให้เกิดขึ้นกับตนเอง ความวัฒนาสถาพรของประเทศชาติย่อมมิใช่แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์อีกต่อไป
................
บุญรักษา ชีวาสดชื่น
(ตีพิมพ์ในมติชน วันที่ 1 พ.ค.2549)
ในที่สุดสถานการณ์บ้านเมืองก็เริ่มเข้าสู่ภาวะคลี่คลายตัวได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้ภายหลังที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีกระแสพระราชดำรัสต่อคณะตุลาการศาลปกครองสูงสุด และคณะผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งกระแสพระราชดำรัสของพระองค์มีความชัดเจนโดยไม่ต้องอรรถาธิบายขยายความเพิ่มเติม
แก่นแท้ของพระราชดำรัสในมุมมองของนักกฎหมาย มีความชัดเจนว่า ต่อไปนี้ประเทศชาติต้องกลับมาสู่ การปกครองในระบอบประชาธิปไตย กลับมาสู่การปกครองโดยกฎหมาย (The Rule of Law) ซึ่งหากประชาชนทุกหมู่เหล่าน้อมรับกระแสพระราชดำรัสมาใส่เกล้าใส่กระหม่อม และปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระองค์อย่างเคร่งครัด สังคมการเมืองไทยที่เคยอยู่ในสภาวะโกลาหล (Chaos) มานานพอสมควรย่อมพบกับจุดพลิกผันที่สวยงามหมดจด จนบรรดานานาอารยะประเทศต่างชื่นชมและประหลาดใจที่การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองของประเทศไทยเป็นอย่างอารยะ แตกต่างจากเหตุการณ์ที่เกิดการชุมนุมประท้วง ในประเทศพิลิปปินส์ ประเทศเนปาล และ ประเทศฝรั่งเศส โดยสิ้นเชิง
สภาวการณ์ทางการเมืองหลังจากนี้ คงต้องดำเนินไปบนพื้นฐานของการเคารพหลักประชาธิปไตยและหลักการปกครองโดยกฎหมายมากกว่าที่เคยเป็น ซึ่งหากมีการดำเนินการใดบนพื้นฐานของหลักการทั้งสองประการอย่างเคร่งครัดแล้ว ปรากฏการณ์ทางการเมืองภายหลังจากนี้น่าจะมีทิศทางดังต่อไปนี้
1. การยกเลิกการเลือกตั้งและกลับสู่การเลือกตั้งของพรรคร่วมฝ่ายค้าน
จากเหตุการณ์การเลือกตั้งที่มีปัญหาความไม่ชอบธรรมในหลายกรณี ทั้งอำนาจในตราพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้ง กรณีการทุจริตการเลือกตั้ง กรณีความไม่โปร่งใสในการจัดการการเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยในหลายกรณีนั้นยังไม่มีกระบวนการในการหาคำตอบที่ชัดเจนว่าการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในวันที่ 2 เมษายน 2549 มีความบริสุทธิ์ยุติธรรมเพียงใด แต่สิ่งที่ปรากฏชัดเจน คือ การเลือกตั้งที่ผ่านมามีการลงสมัครของผู้สมัครคนเดียวอยู่หลายร้อยเขต ซึ่งนั่นมิใช่วิถีทางของระบอบประชาธิปไตยที่ต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิที่จะเลือก ซึ่งการที่ประชาชนจะเกิด “สิทธิที่จะเลือก” ได้ โดยเหตุผลก็ต้องมีผู้สมัครหลายคนให้พิจารณาตัดสินใจ ดังนั้น การเลือกจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากปรากฏว่าในเขตเลือกตั้งมีผู้สมัครเพียงคนเดียว
กรณีดังกล่าวเป็นผลมาจากการบอยคอตการเลือกตั้งของพรรคร่วมฝ่ายค้าน ซึ่งแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนในการต่อต้าน “ระบอบทักษิณ” ในวิถีทางที่แตกต่างไปจากพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งหลักจากนี้หากมีการจัดการเลือกตั้งรอบใหม่ พรรคร่วมฝ่ายค้านคงปฏิเสธที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งไม่ได้อีกต่อไป
2. การชุมนุมประท้วงเพื่อต่อต้าน “ระบอบทักษิณ”
บนวิถีทางของการปกครองระบอบประชาธิปไตย สิ่งที่กฎหมายจะต้องเข้าไปรับรองและคุ้มครองในประการสำคัญ ก็คือ สิทธิและเสรีภาพในแสดงความคิดความเห็น และสิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมในที่สาธารณะ ซึ่งภายใต้กรอบของกฎหมายถือว่าหลักการดังกล่าวมีศักดิ์ทางกฎหมายเป็นหลักการในระดับ รัฐธรรมนูญ ซึ่งถือเป็นหลักการสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ อันกฎหมายที่อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าหรือการกระทำในรูปลักษณะใดๆจะขัดหรือแย้งมิได้
ดังนั้นหากพิจารณาถึงข้อเรียกร้องของ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ยอมยุติข้อเรียกร้องในการขอ “นายกพระราชทาน” ตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว มิได้หมายความว่า กลุ่มประชาชนจะไม่มีสิทธิในการชุมนุมโดย สงบ เปิดเผย และปราศจากอาวุธแต่อย่างใด ทั้งนี้ ก็เนื่องด้วยเหตุผลที่ว่า เจตนารมณ์ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแท้จริงมุ่งเน้นประเด็นความสำคัญในการต่อต้านระบอบทักษิณ และการขอให้นายกรัฐมนตรีลาออก ด้วยเหตุนี้เมื่อนารัฐมนตรียังไม่ลาออก ย่อมหมายความว่า วิถีทางในการดำเนินการของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็ยังไม่บรรลุผล และเมื่อสิทธิในการชุมนุมในที่สาธารณะเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญที่สามารถกระทำได้ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจึงสามารถดำเนินการชุมนุมประท้วงต่อไปได้บนพื้นฐานของหลักการแห่งเสรีประชาธิปไตย และหลักการปกครองโดยกฎหมาย
ซึ่งกรณีนี้มีนัยที่ควรจับตา คือ การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยกรณีว่า ร่าง พรบ.ทางหลวง (ฉบับที่...) พ.ศ.....ที่มีข้อความห้ามมิให้ผู้ใดชุมนุมกันบนเขตทางหลวง ขัดหรือแย้งกับต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 29 และ 44 หรือไม่
3. การแสดงบทบาทของ “องค์กรตุลาการ” ในการดำเนิน “กระบวนการยุติธรรม” ในทุกรูปแบบ
เมื่อประชาชนทุกหมู่เหล่าเห็นพ้องต้องกันว่า การปกครองประเทศจะต้องดำเนินไปบนพื้นฐานของหลักการปกครองโดยกฎหมาย ด้วยเหตุดังกล่าว เมื่อปรากฏกรณีอันเป็นที่สงสัยถึงความไม่สุจริต การคอรัปชั่นอย่างมโหฬารของรัฐบาลชุดปัจจุบัน กระทั่งการกระทำผิดกฎหมายของฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในการชุมนุมประท้วง และด้วยเหตุที่ ไม่มีบุคคลใดอยู่เหนือกฎหมาย (No man above the Law) “กระบวนการยุติธรรม” จึงเป็นคำตอบที่ดีที่สุดในการพิจารณาคดีความต่างๆเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับทั้งสองฝ่ายอย่างตรงไปตรงมา อย่างเป็นอิสระ และปลอดจากการแทรกแซงโดยอิทธิพลใดๆ
ด้วยเหตุดังกล่าว สิ่งที่ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ จะต้องทำการทบทวนบทบาทของตนเองว่า คดีประเภทใดอยู่ในอำนาจของศาลใด โดยเฉพาะประเด็นการปฏิเสธการตัดสินคดีนั้น ทั้งสามองค์กรควรมีการประชุมปรึกษาหารือกันในประเด็นดังกล่าว เพื่อให้กรณีที่เป็นที่สงสัยของสังคมเข้าสู่ “กระบวนการทางกฎหมาย” เข้าสู่ “กระบวนการยุติธรรม” มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สอดคล้องกับภาษิตกฎหมายที่ว่า “ผู้พิพากษาไม่สามารถปฏิเสธการตัดสินคดีได้” นอกจากนี้การตัดสินคดีความต่างๆต้องเป็นไปด้วยรวดเร็ว ดังภาษิตกฎหมายที่ว่า “Justice delay Justice Deny” และสำหรับนักกฎหมายทุกคนพึงพิจารณาว่าในการใช้กฎหมาย “กฎหมายกับความยุติธรรมจะต้องไม่ขัดแย้งกัน” ( Law and Justice should not be conflicting) หากบทบาทของ “องค์กรตุลาการ” เป็นไปตามภาษิตกฎหมายที่กล่าวมา ผมเชื่อว่า องค์กรตุลาการ จะกลายเป็นหัวรถจักรในการกอบกู้ หลักการปกครองโดยกฎหมายกลับคืนสู่ประเทศไทย และ องค์กรตุลาการก็จะกลายเป็นผู้ธำรงบทบาทของนักกฎหมายในฐานะวิศวกรของสังคม ( Social Engineering) ได้อย่างแท้จริง
4. การดำเนินการปฏิรูปการเมือง การปฏิรูปสังคม และการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ
วิวาทะสำคัญที่ทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็น ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน ฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน และประชาชน กล่าวถึง และเป็นวิวาทะที่ทุกฝ่ายมีจุดร่วมตรงกันก็คือ การปฏิรูปการเมือง ด้วยเหตุดังกล่าว ประเด็นการปฏิรูปการเมือง หรือในกรณีของอาจารย์จอห์น อึ้งภากร ขยายความกว้างไปถึงการปฏิรูปสังคม จะกลายเป็นวาระแห่งชาติที่ต่างฝ่ายจะต้องเข้ามาร่วมคิด ร่วมแสดงความคิดเห็นในเชิงลึกอย่างแน่นอน กรอบขอบเขตที่เริ่มมีการพูดถึงไปบ้างแล้ว อาทิเช่น องค์ประกอบของคระกรรมการปฏิรูปการเมือง วิธีการในการปฏิรูปการเมือง กรอบระยะเวลาในการปฏิรูปการเมือง แต่นั้นยังไม่มากเพียงที่จะทำให้การปฏิรูปการเมืองเกิดสัมฤทธิผล
ด้วยเหตุดังกล่าว การดำเนินการปฏิรูปการเมือง การปฏิรูปสังคม ในประเด็นปัญหาต่างๆอย่างเข้มข้นคงจะเกิดขึ้นในไม่ช้าไม่นาน แต่สิ่งหนึ่งที่ผมอยากฝากทุกฝ่ายพึงพิจารณาในเบื้องต้น ก็คือ ในการพิจารณาประเด็นปัญหาต่างๆนั้น ควรมีการทำความเข้าใจสภาพสังคมวิทยาการเมืองไทยให้มีความชัดเจน และเข้าใจแก่นแท้ของปัญหาเสียก่อน ก็จะส่งผลทำให้ การปฏิรูปการเมือง การปฏิรูปสังคม จนนำไปสู่ การปฏิรูปรัฐธรรมนูญ ดำเนินไปบนพื้นฐานของ อริยสัจสี่ประการ ซึ่งเป็นทางดับทุกข์ของสังคมได้อย่างแท้จริง
5. การจัดการเลือกตั้งภายหลังการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ในกรณีที่อาจเกิดขึ้น คือ องค์กรตุลาการ อาจมีคำพิพากษาให้ยกเลิกการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 จนนำไปสู่การมีพระราชกฤษฎีการกำหนดวันเลือกตั้งฉบับใหม่ ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นพรรคฝ่ายค้านก็จะเข้าร่วมในการเลือกตั้งที่ตามพระราชกฤษฎีการฉบับใหม่ ซึ่งในกรณีดังกล่าวจะเป็นอันตรายอย่างยิ่งหาก ภายหลังการเลือกตั้งดังกล่าวเสร็จสิ้นลง ไม่มีการดำเนินการใดๆในการปฏิรูปการเมืองตามมาภายหลัง ดังนั้นพันธกิจสำคัญของทั้งฝ่ายรัฐบาลในอนาคต และฝ่ายค้านในอนาคต ภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ก็คือ การปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 2 จนนำไปสู่การมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และหลังจากนั้นสิ่งที่ควรทำ คือ การยุบสภาเพื่อให้เกิดการเลือกตั้ง บนพื้นฐานของกฎ กติกาใหม่ ที่ผ่านการพิจารณาจากทุกฝ่ายของสังคมเป็นที่เรียบร้อย
ท้ายที่สุดผมมีความคาดหวังว่า หากสังคมไทยน้อมรับกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวใส่เกล้าใส่กระหม่อม น้อมรับแนวทางเสรีประชาธิปไตย และหลักการปกครองโดยกฎหมายที่พระองค์ทรงสอนสั่ง มาปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรมจนนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านทางสังคมบนพื้นฐานแห่งการเรียนรู้ร่วมกันอย่างปราศจากความรุนแรงซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนไม่ปรารถนาให้เกิดขึ้นกับตนเอง ความวัฒนาสถาพรของประเทศชาติย่อมมิใช่แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์อีกต่อไป
................
บุญรักษา ชีวาสดชื่น
Wednesday, April 26, 2006
วิถีครู
วิถีครู
เมื่อวานมีโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะ อาจารย์ วรเจตน์ เนื่องจากท่านอาจารย์มีหมายเรียก
โดยส่วนตัว ผมมีมีความเคารพนับถืออาจารย์ด้วยจิตคารวะมาเนิ่นนาน
และผมคนนึงล่ะที่พูดอย่างชัดเจนมาโดยตลอดว่า อ.วรเจตน์ คือ อาจารย์กฎหมายที่เก่งที่สุดคนนึงใน พ.ศ.นี้ ดังนั้นไม่ว่าความเห็นของผมจะคิดต่างจากอาจารย์ไปบ้าง มันหาได้มาทำลายความเคารพที่ผมมีต่อครูบาอาจารย์ไปได้
นอกจากความเก่งแล้ว สิ่งนึงที่ผมชื่นชม คือ อาจารย์เป็นนักรบทางวิชาการที่ไม่เคยกลัวน่าอินทร์ หน้าพรหม จนอาจารย์เปรยให้ผมฟังว่า ท่านถูกปลดออกจากกรรมการหลายตำแหน่ง ด้วยความไม่ชอบขี้หน้า ของนักกฎหมายค่ายสีหวานคนนึง
นอกจากความคิดในทางกฎหมายที่อาจารย์ไม่เคยตำหนิในความต่าง ผมยังได้เข้าใจเจตนารมณ์อันลึกซึ้งในความต่างที่แอบบแฝงอยู่ ซึ่งท้ายที่สุดศิษย์กับครูต่างเห็นตรงกัน เพียงแต่ต่างวิถี
สำหรับผม ผมเป็นเพียงไพ่ใบเล็กๆ จึงขอลุยแบบไม่กลัวหน้าอินทร์หน้าพรหมแบบ อ.วรเจตน์ ที่ทำมาแล้วบ้าง ส่วนท่านอาจารย์เป็นไพ่ใบใหญ่ที่เป็นหลักชัยให้สังคมไปอีกยาวนาน เจตนารมณ์เดียว แต่ต่างวัย และวิถีขอรับ
ท้ายที่สุด นิสัยตรงไปตรงมาทางวิชาการ ไม่เล่นเกมส์แบบนักการเมือง ส่วนนึงในตัวผม ก็ได้รับอิทธิพลมาจากท่าน อาจารย์วรเจตน์นี่แหละครับ
ผมยังรำลึกพระคุณ อาจารย์เสมอ และยังจำภาพในห้องเรียนที่มีศิษย์โง่คนนึงนั่งเรียนกับอาจารย์ที่เก่งที่สุดได้ดีเสมอ ขอรับ
............
บุญรักษา ชีวาสดชื่น
เมื่อวานมีโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะ อาจารย์ วรเจตน์ เนื่องจากท่านอาจารย์มีหมายเรียก
โดยส่วนตัว ผมมีมีความเคารพนับถืออาจารย์ด้วยจิตคารวะมาเนิ่นนาน
และผมคนนึงล่ะที่พูดอย่างชัดเจนมาโดยตลอดว่า อ.วรเจตน์ คือ อาจารย์กฎหมายที่เก่งที่สุดคนนึงใน พ.ศ.นี้ ดังนั้นไม่ว่าความเห็นของผมจะคิดต่างจากอาจารย์ไปบ้าง มันหาได้มาทำลายความเคารพที่ผมมีต่อครูบาอาจารย์ไปได้
นอกจากความเก่งแล้ว สิ่งนึงที่ผมชื่นชม คือ อาจารย์เป็นนักรบทางวิชาการที่ไม่เคยกลัวน่าอินทร์ หน้าพรหม จนอาจารย์เปรยให้ผมฟังว่า ท่านถูกปลดออกจากกรรมการหลายตำแหน่ง ด้วยความไม่ชอบขี้หน้า ของนักกฎหมายค่ายสีหวานคนนึง
นอกจากความคิดในทางกฎหมายที่อาจารย์ไม่เคยตำหนิในความต่าง ผมยังได้เข้าใจเจตนารมณ์อันลึกซึ้งในความต่างที่แอบบแฝงอยู่ ซึ่งท้ายที่สุดศิษย์กับครูต่างเห็นตรงกัน เพียงแต่ต่างวิถี
สำหรับผม ผมเป็นเพียงไพ่ใบเล็กๆ จึงขอลุยแบบไม่กลัวหน้าอินทร์หน้าพรหมแบบ อ.วรเจตน์ ที่ทำมาแล้วบ้าง ส่วนท่านอาจารย์เป็นไพ่ใบใหญ่ที่เป็นหลักชัยให้สังคมไปอีกยาวนาน เจตนารมณ์เดียว แต่ต่างวัย และวิถีขอรับ
ท้ายที่สุด นิสัยตรงไปตรงมาทางวิชาการ ไม่เล่นเกมส์แบบนักการเมือง ส่วนนึงในตัวผม ก็ได้รับอิทธิพลมาจากท่าน อาจารย์วรเจตน์นี่แหละครับ
ผมยังรำลึกพระคุณ อาจารย์เสมอ และยังจำภาพในห้องเรียนที่มีศิษย์โง่คนนึงนั่งเรียนกับอาจารย์ที่เก่งที่สุดได้ดีเสมอ ขอรับ
............
บุญรักษา ชีวาสดชื่น
Sunday, April 23, 2006
CC Analysis
บทวิเคราะห์สถานการณ์การเลือกตั้ง 23 เมษา 49
รูปการณ์ปรากฏของกระบวนการต่อต้าน “ระบอบทักษิณ”
รูปการณ์ปรากฏของกระบวนการต่อต้าน “ระบอบทักษิณ”
ตีพิมพ์ โพสก์ทูเดย์ 24 เมษายน 2549
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า การเลือกตั้งในวันที่ 23 เมษายน 2549 เป็นผลสืบเนื่องจากความคิดและการกระทำรูปแบบหนึ่งที่แสดงออกถึงกระแสการประท้วงต่อต้าน “ระบอบทักษิณ” อันเกิดขึ้นอย่างชัดเจนในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 จนทำให้การเลือกตั้งครั้งที่แล้วไม่สามารถทำให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครบทุกเขตจนนำไปสู่การเปิดสภาผู้แทนราษฎรได้ ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงส่งผลให้ต้องมีการจัดการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า การเลือกตั้งในวันที่ 23 เมษายน 2549 เป็นผลสืบเนื่องจากความคิดและการกระทำรูปแบบหนึ่งที่แสดงออกถึงกระแสการประท้วงต่อต้าน “ระบอบทักษิณ” อันเกิดขึ้นอย่างชัดเจนในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 จนทำให้การเลือกตั้งครั้งที่แล้วไม่สามารถทำให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครบทุกเขตจนนำไปสู่การเปิดสภาผู้แทนราษฎรได้ ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงส่งผลให้ต้องมีการจัดการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง
คงปฏิเสธอีกไม่ได้ว่า การประท้วงระบอบทักษิณ ความสงสัยถึงความเที่ยงธรรมในการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งยังคงมีอยู่ในหมู่ประชาชนส่วนนึง และในวันที่ 23 เมษายน 2549 ความไม่พอใจดังกล่าวก็แสดงตัวออกมาในรูปแบบที่แหลมคมมากขึ้นจนถึงขั้นมีการประท้วงโดยการกระทำผิดกฎหมาย ทั้งการฉีกบัตรเลือกตั้งที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง กระทั่งการปฏิเสธการทำหน้าที่ของคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง โดยการไม่เดินทางมารับบัตรเลือกตั้ง ในเขต 2 นครศรีธรรมราช เป็นประจักษ์หลักฐานอย่างดีถึงการต่อต้านการเลือกตั้งอย่างุรนแรงที่สุดครั้งนึงในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
จากการทำงานของศูนย์จับตาการเลือกตั้ง 49 ที่เฝ้าจับตาการเลือกตั้งในมิติต่างๆทั้ง การรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน การจับตาการนำเสนอข่าวของสื่อทั้งวิทยุและโทรทัศน์ การจับตาการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง การประสานงานกับนักกฎหมายและทนายความ ทำให้สามารถวิเคราะห์ในเบื้องต้นได้ว่า เหตุการณ์ที่ประชาชนแสดงการประท้วงการเลือกตั้งด้วยวิธีการต่างๆมีสาเหตุสำคัญมาจากเหตุปัจจัย สามประการดังนี้
1.การแสดงออกถึงจุดยืนทางการเมืองของประชาชนบนวิถีทางเท่าที่มีอยู่
หากพิจารณากระบวนการต่อสู้ของภาคประชาชนที่ขยายวงกว้างเกิดเป็นกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยทั้งในส่วนกลาง และในจังหวัดต่างๆ แล้วจะพบว่า แก่นแท้ของสถานการณ์บ้านเมืองแก่นแท้ของกระบวนการต่อสู้ และแก่นแท้ของสถานการณ์การเลือกตั้งในปัจจุบัน ก็คือ กระบวนการต่อต้าน “ระบอบทักษิณ”
หากเราพิจารณาแก่นแท้ดังกล่าวจะพบว่า รูปแบบในการต่อต้านทั้งการชุมนุมประท้วง การฉีกบัตรเลือกตั้ง การใช้เลือดกาบัตรเลือกตั้ง การเคลื่อนไหวปิดล้อม การเดินขบวน การขอร้องไม่ให้มีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งมากกว่าหนึ่งคนในบางเขตเลือกตั้ง ทั้งหลายทั้งปวงเป็นเพียงรูปการณ์แสดงออกถึงความไม่พอใจใน “ระบอบทักษิณ” ในรูปลักษณะที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ที่มีเหตุปัจจัยขับเคลื่อนทั้งจากภาครัฐและการริเริ่มของภาคประชาชนเอง บนพื้นฐานของเหตุปัจจัยที่ซับซ้อนและอ่อนไหว
ด้วยเหตุดังกล่าว เหตุการณ์ในการกระทำความผิดตามกฎหมายเลือกตั้งที่เกิดขึ้น ณ วันที่ 23 เมษายน 2549 จึงเป็นรูปการณ์แสดงออกจากแก่นแท้ของปัญหา คือ การต่อต้าน “ระบอบทักษิณ”ที่ในสายตาของภาคประชาชนอันมีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเป็นแกนนำนั้น ถือว่า พันธกิจดังกล่าวยังไม่สำเร็จผลแต่ประการใด ดังนั้น เมื่อประชาชนบางส่วนมีความเห็นตรงกันและแปรเปลี่ยนความคิดความเห็นเป็นการกระทำแล้ว การแสดงออกอย่างกว้างขวางในการฉีกบัตรเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งต่างๆ กระทั่งการไม่เดินทางไปทำหน้าที่คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งที่เกิดขึ้น จึงเป็น “การแสดงถึงจุดยืนทางการเมืองของประชาชนบนวิถีทางเท่าที่มีอยู่” ที่มีนัยอันเป็นข้อสังเกตว่า การแสดงออกถึงการต่อต้าน “ระบอบทักษิณ” ในครั้งนี้มีความแหลมคมมากขึ้นกว่าที่เคยเป็น และน่าจะทวีความแหลมคมมากขึ้นเรื่อยๆในอนาคต
2.การแสดงออกถึงความไม่พอใจการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
การยุบสภาของนายกรัฐมนตรีได้นำไปสู่การจัดการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 ซึ่งภายหลังการยุบสภา บทบาทของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งจึงเป็นที่จับตามองจากสังคม แต่เมื่อพิจารณาเหตุการณ์ต่างๆทั้งก่อนและหลังวันเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2459 จะพบกรณีที่ประชาชนเกิดความสงสัยในความสุจริตเที่ยงธรรมจนก่อเป็นความไม่เห็นด้วยกับบทบาทของคณะกรรมการการเลือกตั้งจนมีการชุมนุมประท้วงที่บริเวณสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ในช่วงก่อนการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 ได้ปรากฏกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่ดำเนินการแก้ไขปัญหากรณีการทุจริต อาทิ การแจกเงินของนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีหลักฐานเป็นภาพถ่ายอย่างชัดเจน จนทำให้เกิดกระแสความไม่พอใจและการไม่ยอมรับการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 ขึ้นอย่างกว้างขวาง
จุดสูงสุดของเหตุการณ์ที่มีพัฒนาการมาจากกระแสการรณรงค์กาช่องไม่ลงคะแนน (Vote No Vote) คือ การประท้วงการเลือกตั้งโดยการฉีกบัตรเลือกตั้ง ของร ศ.ดร.ไชยยัน ไชยพร และการกาบัตรเลือกตั้งด้วยเลือดของ อ.ยศศักดิ์ โกศัยกานนท์ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งสองได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการ “ไม่รับ” กระบวนการเลือกตั้ง และการต่อต้าน “ระบอบทักษิณ” ที่สำคัญที่สุดเหตุการณ์หนึ่ง
นอกจากนี้การทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งในวันเลือกตั้ง ก็ปรากฏกรณีการดำเนินการจัดการเลือกตั้งที่ผิดกฎหมายมากมายหลายกรณี ทั้ง การจัดคูหาเลือกตั้งที่ไม่เป็นไปโดยลับ การเอื้อประโยชน์ต่อผู้สมัครโดยการติดรูปไว้ในคูหาเลือกตั้ง การที่เจ้าหน้าที่เข้าไปแทรกแซงดุลพินิจในการใช้สิทธิเลือกตั้ง สิ่งเหล่านี้ได้สร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนที่มีต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
ด้วยเหตุดังกล่าว เมื่อผลการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 ออกมาโดยการได้ ส.ส.ไม่ครบทุกเขตจนส่งผลให้ต้องมีการจัดการการเลือกตั้งอีกครั้งในวันที่ 23 เมษายน 2549 ผลของแนวคิดและรูปแบบการกระทำในอดีตจากความไม่พอใจการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่กลายเป็น “สัญลักษณ์” ก็ได้ส่งทอดลงเป็นพฤติกรรมของประชาชนในการฉีกบัตรเลือกตั้งที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง นั่นเอง
3.การดำเนินการของสื่อโทรทัศน์ที่ขาดความเป็นธรรมในการนำเสนอข่าว
ต้องยอมรับว่าสื่อโทรทัศน์เป็นสื่อที่มีอิทธิพลที่สุดในการนำเสนอข่าวสารเหตุการณ์ต่างๆ เนื่องจากเป็นสื่อที่สามรถเข้าถึงครัวเรือนจนนำไปสู่การเสพข้อมูลข่าวสารได้ง่ายที่สุด แต่จากการติดตามการนำเสนอข่าวทางสื่อโทรทัศน์จะพบว่า สื่อโทรทัศน์จะมีการรายงานและติดตามเหตุการณ์การทุจริตการเลือกตั้งและการทำงานของคณะกรรรมการเลือกตั้งไม่มากเท่าที่ควร ทั้งในเชิงปริมาณและความลึกในการนำเสนอข่าว ในขณะที่ข้อสงสัยของประชาชนบางกลุ่มต่อกระบวนการการเลือกตั้งมีมากกว่าเหตุการณ์ที่ปรากฏบนหน้าจอโทรทัศน์
จากเหตุผลดังกล่าว ทำให้ประชาชนรู้สึกว่าข้อเรียกร้องถึงความถูกต้องและเป็นธรรมของตนคงจะไม่ได้รับการตอบรับจากสังคมในวงกว้าง สิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นแรงกดดันและสร้างความอึดอัดให้กับประชาชนบางส่วน จนเกิดปรากฏการณ์แปรเปลี่ยนข้อเรียกร้องต่างๆที่ไม่ได้รับการตอบสนอง ออกมาเป็นการกระทำที่เป็นรูปธรรมในการประท้วง “การเลือกตั้ง”โดยการฉีกบัตรเลือกตั้ง
บทสรุป
การเลือกตั้งในวันที่ 23 เมษายน 2549 แท้จริงแล้วเป็นเพียงรูปแบบของเหตุการณ์ทางการเมืองที่ขับเคลื่อนอย่างมีพลวัต (Dynamic) จากการต่อต้านระบอบทักษิณ ที่มีลำดับตั้งแต่ การยุบสภา การชุมนุมประท้วงการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน จนมาถึงการเลือกตั้งในวันที่ 23 เมษายน ซึ่งเหตุการณ์ต่างๆอาจพลิกผันไปในรูปแบบต่างๆอย่างไม่อาจคาดเดา แต่ทั้งหลายทั้งปวงมีแก่นแท้คือ กระบวนการต่อสู้ระหว่าง อำนาจรัฐ กับ ภาคประชาชน ที่รูปแบบของเหตุการณ์ได้พัฒนาไปสู่ลักษณะของเหตุการณ์ที่แหลมคมมากขึ้นเรื่อยๆ จนยากแก่การคาดเดาว่าเหตุการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันจะพบกับจุดหักเห (The Turning Point) ณ ที่ใด ซึ่งถึงเวลานั้นเพียงผีเสื้อกระพือปีกครั้งเดียว (Butterfly Effect) อาจกลายเป็นการชี้ชะตาและจารึกประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญขอ
ประเทศชาติเลยก็ว่าได้
อาจารย์ศาสตรา โตอ่อน
ที่ปรึกษากฎหมายศูนย์จับตาเลือกตั้ง 49
Saturday, April 22, 2006
bfor 28
bfor 28
(picture by me,ลุมพินี ไนท์ บาซา)
ในวันวัยขัยอายุ ไขกระดูก กระด้างในช่วงก่อน 28
เวลาและเหตุการณ์ช่างเคลื่อนคลี่เร็วจรวดเหลือเกิน
ลองย้อนกลับไปตกใจชะมัดว่าขวบที่กำลังจะไปผ่านไป พาผมเดินทางมาไกลเหลือเกิน
ปีที่ผ่านมาผมได้บรรลุหลายๆอย่างที่ค้นหามานาน ซึ่งเมื่อล่วงเลยเวลานั้นมาชีวิตหาได้มีความหมายหอกหักใดไม่
ในเรื่องความรัก ก็รู้สึกว่าตน ง่อยๆพิกล
ในเรื่องจิตใจ ก็รู้สึกมั่นคงแข็งขันเพราะเสรีภาพสถิตย์ทั่วทุกอณู
ในเรื่องการงาน ก็ดูเจริญดี
ในเรื่องการต่อสู้ ก็รู้สึกสนุกดี
ในเรื่องเศรษฐกิจ ดูเหมือนจะแย่สุด เพราะเงินผมละลายไปกับเหล้า ยา และค่าแท็กซี่ จนเป็นหนี้พอใช้คืนได้
.....................................
เพื่อนๆยังน่ารักเหมือนเดิม รักมึง มึง มึง ว่ะ ทุกคนโตแล้ว น่ารักขึ้นเรื่อยๆ
ขอบคุณสำหรับ Party บักหลายหำที่ Brick bra ฮา ฮา
เธอ ยังคงอยู่ในใจฉันเสมอ ไม่ว่าจะห่างแค่ไหน ขอให้เธอมีความสุข
น้องๆ ขอให้เราท่านจงมีความสุข
ประชาชน ขอให้ท่านมีความสุข ผมจะต่อสู้ต่อไป
..............................
แม่จ๋า 24 เมษายน ของทุกปี ไม่มีความหมายอันใด นอกจากเป็นวันแห่งความทรมานซึ่งลูกรำลึกคุณเสมอ
...............................
ผมนั่งเขียนบล็อกตอนนี้ ดูนาฬิกา เริ่มหิว กินข้าวอีกไม่กี่ครั้ง ขวบของผมเพิ่มขึ้นตามจำนวนนับซึ่งไร้จำนวน
.............................
บุญรักษา ชีวาสดชื่น
เมฆบ้า
Tuesday, April 18, 2006
The Return of Crazycloud
The Return of Crazycloud
สวัสดีศรีกบาล มิตรรักนักบล็อกทุกท่าน
หลังจากผมสลายบล็อกตอนที่แล้ว ผมก็ได้ตกนรกไปเฝ้าท้าวเวสสุวรรณที่เมืองนรกมา
ท่านฝากบอกทุกท่านว่า ท่านท้าวสบายดีมีฟาร์มสุข
ฝากท่านทั้งหลายเจริญมรณานุสติด้วยขอรับ
แต่เนื่องจากความปากหมา หน้าไม่อายของผม ท่านท้าวเลยอดรนทนไม่ได้ เพราะผมชอบไปวิจารณ์หนามต้นงิ้ว และกระทะทองแดงแบบสาดเสียเทเสีย
นอกจากนี้ผมยังชอบตะโกน ทักษิณ ออกไป วันละหลายพันครั้ง จนสะเทือนไปทั้งอเวจี
ด้วยเหตุนี้ ท้าวเวสสุวรรณ จึงมีบัญชาให้ยมบาล ช่วยใช้เท้าชั่งทอง หวดผมกลับสู่โลกของชาวบล็อกอีกครั้ง หวังว่าจะไม่โห่กันนะ
มิตรรักทุกท่าน ด้วยความรัก อยากกราบแทบกลางหว่างดวงใจว่ากระผมคิดถึงทุกท่านเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเหล่าบล็อกเกอน้อยใหญ่ ทั้งที่สุภาพและหยาบคาย ผมยังระลึกถึงท่านเสมอ
และด้วยความรักอีกสักครั้ง ที่รักจ้าฉันกลับมาแล้ว กลับมาในแบบเดิมๆที่เธอคุ้นเคย
จำตอนที่เราทะเลาะกันได้ไหม ฉันมีความสุขเหลือเกิน
ขอได้โปรดรับรู้ที่รักทั้งหลาย ฉันยังบ้าเดือดดีเหมือนเดิมจ๊ะ
และขอขอบคุณล่วงหน้าสำหรับก้อนอิฐแห่งความรักที่เธออาจเขวี่ยงมาที่ฉัน
ฉันจะเอาไว้สร้างบ้านรังรักของเรา เพื่อที่เธอจะได้มีรังอุ่นไว้นอนเล่นไงจ๊ะ
จุ๊บ จุ๊บ ตะครุบกบ ฮา ฮา
........................
บุญรักษา ชีวาสดชื่น
เมฆบ้า มาแว้ว..........................
Subscribe to:
Posts (Atom)