Tuesday, November 21, 2006
“จับตาขบวนการปล้นชาติ ปล้นโครงข่ายโทรคมนาคมไทย"
กราบเรียนพี่น้องประชาชนชาวไทยที่เคารพ
สถานการณ์บ้านเมืองกำลังอยู่ในวาระแห่งการปฏิรูปการเมือง ซึ่งจุดเริ่มต้นสำคัญในการปฏิรูปการเมืองอยู่ที่การสร้างระบบกลไกที่มีประสิทธิภาพในการกวาดล้างการทุจริตคอรัปชั่น และ ขจัดการแทรกแซงองค์กรอิสระ โดยการนำเสนอวาระดังกล่าวให้ปรากฏสู่สาธารณะมาอย่างต่อเนื่อง เครือข่ายสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง มีความวิตกห่วงใยยิ่ง ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับความพยายามของกลุ่มทุนโทรคมนาคมที่จะเข้ามายึดโครงข่ายโทรคมนาคม สมบัติของชาติที่ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการลงทุนมาตั้งแต่ในอดีต ซึ่ง กทช. กลับมองไม่เห็นความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น กลับเร่งรัดผลักดันให้มีการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม IC (Interconnection) ที่จะเอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ เพื่อใช้อ้างเป็นเหตุผลที่จะไม่จ่ายค่าเชื่อมโครงข่ายตามสัญญาสัมปทาน โดยมีรายละเอียดคือ
ความย้อนถึง สมัยแห่งการปฏิรูปประเทศ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่พระองค์ได้ทรงดำเนินรัฐประศาสนโยบายในการนำพาประเทศชาติ ประชาชน ให้รอดพ้นจากภัยคุมคามของลัทธิจักรวรรดินิยม โดยการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการบริหารราชการแผ่นดินให้มีความทันสมัยทัดเทียมกับนานาอารยะประเทศ จนนำพาสยามรอดพ้นจากการตกเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติได้นั้น คุณูปการที่พระพุทธเจ้าหลวงได้ทรงพระราชทานไว้แก่ประชาชนชาวไทยทั้งหลาย มีความกว้างขวางครอบคลุมกิจการของประเทศสยามในหลายมิติ ทั้งมิติทางการเมือง การปกครอง การบริหารราชการแผ่นดิน การปฏิรูปกฎหมาย ตลอดจนการปฏิรูประบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ จนประชาชนชาวไทยได้มีความอยู่ดี กินดี ตลอดมา
กล่าวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ กิจการสื่อสาร กิจการโทรคมนาคม พระพุทธเจ้าหลวงได้ทรงมีบทบาทในการวางรากฐานการสื่อสารของประเทศนับเนื่องแต่รัชสมัยของพระองค์ กระทั่งในกาลต่อมา กิจการสื่อสารและโทรคมนามคมได้รับการพัฒนาจนเจริญรุดหน้าขึ้นเป็นกิจการที่มีความทันสมัย โดยอาศัยโครงข่ายโทรคมนาคมที่กว้างขวางครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ เป็นฐานทางเทคโนโลยีที่สำคัญ อันประชาชน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้าง และสงวนไว้ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ทั้งเพื่อการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคง และประโยชน์สาธารณะ โครงข่ายโทรคมนาคมจึงถือเป็นสมบัติชาติที่ถักทอระบบการสื่อสารของชาติให้มีความก้าวหน้ามาเนิ่นนานนับร้อยปี
แต่แล้ว เมื่อพิจารณาสถานการณ์ของประเทศไทยในยุคโลกาภิวัตน์ ที่แสนยานุภาพของการยึดครองแปรเปลี่ยนจาก “อำนาจของเรือปืน” ไปเป็น “อำนาจทุน” จะพบว่า สถานการณ์ของประเทศไทยตกอยู่ในภาวะที่อันตรายยิ่ง ทั้งนี้เนื่องจากได้ปรากฏพฤติกรรมของกลุ่มทุนโทรคมนาคม ที่ได้ใช้ “อำนาจทุน” เข้าลิดรอนผลประโยชน์ของชาติในกิจการโทรคมนาคม กระทั่งกำเริบเสิบสานจนมีการใช้อำนาจทุนเพื่อเข้าสู่อำนาจทางการเมืองในทุกรูปแบบ ไม่เลือกว่าจะเป็นยุคของ “ระบอบทักษิณ” หรือ “รัฐบาลชั่วคราว” เข้าคุมบังเหียนในการกำหนดกติกาโทรคมนามค อันเป็นการใช้อำนาจทางกฎหมายเอื้อประโยชน์ให้เกิดการแย่งยึดโครงข่ายโทรคมนาคมอันเป็นสมบัติชาติไปเป็นของตนเอง
สถานการณ์ที่อันตรายยิ่งดังกล่าว ได้ปรากฏเป็นที่ประจักษ์ชัดผ่านพฤติกรรมของกลุ่มบุคคล ดังนี้
๑.การผิดนัดไม่ชำระราคาการใช้โครงข่ายตามสัญญาโดยไม่มีเหตุผลสมควร
สัญญาที่เกี่ยวข้องกับกิจการโทรคมนาคมอันเอกชนได้ทำกับรัฐนั้น โดยเจตนารมณ์ของกฎหมายเป็นสัญญาที่มีขึ้นเพื่อจัดตั้งและดำเนินบริการสาธารณะ เพื่อการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของชาติ ผลประโยชน์สาธารณะ โดยเสรีและเป็นธรรม ซึ่งบรรดาสัญญาต่างๆได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายบ้านเมือง ทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.๒๕๔๔ และพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.๒๕๔๒ ซึ่งทำให้สัญญาต่างๆยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าอายุสัญญาจะสิ้นสุดลง ด้วยเหตุนี้ จึงไม่มีเหตุผลใดที่กลุ่มทุนจะสามารถกล่าวอ้างไม่ปฏิบัติการตามสัญญาดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การผิดนัดไม่ชำระราคาการใช้โครงข่ายกิจการโทรคมนาคมอันเป็นสัญญาที่กลุ่มทุนโทรคมนาคมมีข้อผูกพันในการชำระราคากับรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นองค์กรที่มีอำนาจในการจัดทำบริการสาธารณะ เพื่อผลประโยชน์ของประชาชน จนเป็นเหตุทำให้รัฐสูญเสียรายได้ที่จะนำไปพัฒนาประเทศเป็นจำนวนมากมายมหาศาล พฤติกรรมดังกล่าวถือเป็นการลิดรอนส่วนอันพึงมีพึงได้ของประเทศชาติ ที่สังคมทุกภาคส่วนควรเฝ้าจับตาเป็นประการแรก
๒.การออกประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มทุนโทรคมนาคม กฎหมายการประกอบกิจการโทรคมนาคม อนุญาตแต่เฉพาะผู้รับใบอนุญาตที่มีโครงข่ายโทรคมนาคมเป็นของตนเองเท่านั้นที่จะสามารถทำการเชื่อมโยงโครงข่ายโทรคมนาคมของตนเองเข้ากับผู้รับใบอนุญาตที่มีโครงข่ายโทรคมนาคมรายอื่น การที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติได้ออกประกาศกำหนดให้ กลุ่มทุนโทรคมนาคม ที่มีฐานะเป็นเพียงคู่สัญญาสัมปทานสามารถเชื่อมโยงโครงข่ายกิจการโทรคมนาคมได้นั้น จึงเป็นการออกกฎเกณฑ์ที่อยู่นอกเหนืออำนาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีลักษณะการออกกฎเกณฑ์เอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนโทรคมนาคมได้เชื่อมโยงโครงข่ายฯทั้งที่ตนไม่มีสิทธิ เป็นการออกกฎเกณฑ์ที่ไม่มีความเป็นธรรมเนื่องจาก กลุ่มทุนโทรคมนาคมไม่มีโครงข่ายโทรคมนาคมเป็นของตนเอง แต่โครงข่ายที่ครอบครองอยู่ล้วนเป็นสมบัติของชาติที่กลุ่มทุนจะต้องโอนให้กับรัฐวิสาหกิจตามสัญญาแบบ BTO (สร้าง โอน บริหาร) เป็นการออกกฎเกณฑ์ให้กลุ่มทุนโทรคมนาคมใช้เป็นข้ออ้างในการไม่ชำระราคาการใช้โครงข่ายตามสัญญาโดยไม่มีเหตุผลสมควร และประการสำคัญที่สุด เป็นการออกกฎเกณฑ์เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนโทรคมนาคมเข้าแย่งยึดโครงข่ายโทรคมนาคมอันเป็นสมบัติชาติไปเป็นของตนเอง
๓.การใช้ความพยายามในการเข้ายึดโครงข่ายกิจการโทรคมนาคมของชาติโดยฝีมือของกลุ่มทุนโทรคมนาคม
กลุ่มทุนโทรคมนาคมได้ทำการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมที่ตนครอบครองอยู่โดยไม่มีสิทธิ โดยอ้างเหตุผลตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง การใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม ที่บัญญัติมาเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มทุนโทรคมนาคม ทั้งนี้เนื่องจากตามกฎหมายการประกอบกิจการโทรคมนาคมนั้น อนุญาตให้เฉพาะ ในระหว่างผู้รับใบอนุญาตที่มีโครงข่ายเป็นของตนเองเท่านั้นที่สามารถทำการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมของตนเองเข้าด้วยกัน แต่กรณีดังกล่าวโครงข่ายโทรคมนาคมที่กลุ่มทุนโทรคมานคมทำการใช้และเชื่อมต่อนั้นไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของกลุ่มทุนโทรคมนาคมแต่ประการใด แต่แท้จริงแล้ว โครงข่ายโทรคมนาคมดังกล่าวเป็นสมบัติของรัฐวิสาหกิจตามผลของสัญญาแบบ BTO (สร้าง โอน บริหาร) จึงหาได้เป็นโครงข่ายโทรคมนาคมของกลุ่มทุนโทรคมนาคมแต่ประการใด พฤติกรรมดังกล่าวจึง เป็นการละเมิดต่อกฎหมายการประกอบกิจการโทรคมนาคม เป็นการละเมิดต่อสัญญา BTO และเป็นการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมในการเข้าแย่งยึดโครงข่ายโทรคมนาคมที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนานมาเป็นของตนเอง
พฤติกรรมทั้งสามประการดังกล่าวถือเป็นภัยคุกคามอย่างร้ายแรงต่อโครงข่ายโทรคมนาคมไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕และประชาชนชาวไทยทุกคน ทั้งที่เสียชีวิตไปแล้วหรือยังมีชีวิตอยู่ ได้ร่วมกันสร้างบ้านแปงเมือง พัฒนา ถักทอ โครงข่ายกิจการโทรคมนาคมจนเจริญรุดหน้าตราบจนถึงปัจจุบัน
เครือข่ายสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง จึงขอฝากความวิงวอนไปยัง ประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ รัฐบาล สภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ ได้โปรดพิจารณาตรวจสอบและดำเนินการตามกรอบอำนาจหน้าที่ของตน เพื่อขจัดภัยคุกคามต่อโครงข่ายกิจการโทรคมนาคม ซึ่งเป็นสมบัติของชาติต่อไป
ทั้งนี้ฝากคำวิงวอนถึง ประชาชนทุกหมู่เหล่าในการสร้างเสริมหลักการเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โดยการลดการใช้บริการในรูปแบบต่างๆของกลุ่มทุนโทรคมนาคม และแสดงออกซึ่งความเป็นเจ้าของสมบัติของชาติ และขอเรียกร้องให้ กทช.พิจารณาใคร่ครวญวิถีชีวิตของตนเองว่าจะทำหน้าที่ตามกฎหมายเพื่อปกป้องประโยชน์สาธารณะตามอาณัติที่กฎหมายให้ไว้ หรือ จะยอมรับกระบวนการพิจารณาคดีตามกฎหมายทุกรูปแบบ ที่ไม่ต่างจาก กกต.
เจริญ คัมภีรภาพ
บรรเจิด สิงคะเนติ
คมสันต์ โพธิ์คง
ศาสตรา โตอ่อน
เครือข่ายสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง
Friday, November 17, 2006
บทกวีที่ทรงอิทธิพลยิ่งต่อชีวิตข้าพเจ้า
บทกวีที่ทรงอิทธิพลยิ่งต่อชีวิตข้าพเจ้า
อัลมิตรา เอ่ยเอื้อนวจีกล่าวถาม “โด้โปรดเฉลยแก่เราถึง ความรัก”
เมื่อความรักร้องเรียกเธอ จงตามมันไป
แม้วางหนทางแห่งรัก จะขรุขระหรือสูงชันเพียงใด
และเมื่อปีกของมันโอบกอดรอบกายเธอ จนหนามแหลมอันซ่อนอยู่ใต้ปีกเสียดแทงหัวใจของเธอ จงยอมทน
และเมื่อมันพูดกับเธอ จงเชื่อตาม
แม้ว่าเสียงของมันจะทำลายความฝันของเธอ
ดังลมเหนือพัดกระหน่ำสวนดอกไม้ให้แหลกลาญฉะนั้น
ณ ขณะที่ความรักสวมมงกุฎหนามให้เธอ
มันก็จะตรึงกางเขนเธอ และเมื่อมันให้ความเติบโต การลิดรอนก็จะเกิดขึ้น
แม้ขณะเมื่อมันไต่ขึ้นสู่ยอดสูง และลูบไล้กิ่งก้านอันแกว่งไกวในแสงแห่งอรุณรุ่ง
ความรักก็มิหยุดที่จะหยั่งลงสู่รากลึก และเขย่าถอนส่วนทีติดตรึงมั่นกับผิวดิน
หากเธอเป็นดั่งพืชพันธ์
ความรักจะรวบรวมเธอดั่งฝักข้าวโพด
มันจะแกะเธอออกจนเปลือยเปล่า
และร่อนเธอให้ผละละร่วงจากฝัก
มันจะบดเธอเป็นผงขาว แล้วขยำเธอจนเปียก
มันจะนำเธอสู่ไฟศักดิ์สิทธิ เพื่อเธอจะได้กลายเป็นอาหารทิพย์ของพระเป็นเจ้า
….............................................
อัลมิตรา
หากเธอจะรัก และจำต้องมีความปรารถนา ก็ขอให้ความปรารถนาของเธอจงเป็นดังนี้
เพื่อจะละลายและไหลดังธารน้ำ ที่ส่งเสียงขับขานยามราตรี
เพื่อจะเรียนรู้ความเจ็บปวดรวดร้าว อันเกิดแต่ความอ่อนโยนเกินไป
เพื่อจะต้องบาดเจ็บ ด้วยความเข้าใจในความรักของตนเอง
เพื่อจะยอมให้เลือดหลั่งไหล ด้วยความเต็มใจและปราโมทย์
เพื่อจะตื่นขึ้น ณ อรุ่ณรุ่ง ด้วยดวงใจอันปิติและขอบคุณความรักอีกวันหนึ่ง
เพื่อจะหยุดพัก ณ ยามเที่ยง และเพ่งพินิจความสุขซาบซึ้ง ของความรัก
เพื่อจะกลับบ้าน ณ ยามพบค่ำ ด้วยความรู้สึกสำนึกคุณ
เพื่อจะหลับไปพร้อมกับคำสวดมนต์ภาวนาสำหรับคนรักในดวงใจ
และเพลงสรรเสริญบนริมฝีปากของเธอ
From The Prophet
KAHLIL GIBRAN
..........................................
เวลาที่ผมกลับมาอ่านลำนำของ กวีเอกชาว เลบานอน ผู้เกรียงไกรครั้งใด
ผมมักจะนึกถึง เด็กชายวัยรุ่นผู้หนึ่ง คือ ตัวผมเอง
ราวสิบห้าปีมาแล้ว ผมมักพบตัวเองเป็นหนอนบริโภคหนังสืออยู่ที่ร้านแพร่พิทยา วังบูรพา
กวีบทนี้ ผมเปิดอ่านแบบไม่เสียเงิน และมันได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งในสารบรรณบทกวียอดรักในห้องส่วนตัวของผม
มันอาจเป็นเรื่อง ความรัก ที่ดูเพ้อฝันสำหรับ เด็กชาย
แต่มัน คือ เรื่องจริง อย่างจริงแท้ เลยทีเดียว
สำหรับผู้ที่ผ่านความรักอันหลากรส จะเข้าใจได้ไม่ยากว่า
ความรัก เป็นลานบดแห่งจิตวิญญาณชั้นเยี่ยม มันจะบดคุณจนเป็นฝุ่นขาว และเป่าสลายด้วยสายลม
ความรัก คือ ที่ที่ความเจ็บปวดรวดร้าวจะสำแดงบทบาทแพทย์ผู้รักษา
เมื่อถึงที่สุดแล้ว ความรักจะทำให้เราหลุดพ้นจากมัน
และเราจะกลับมาเกิดใหม่อีกครั้ง ในนามของ ความรัก อันพิสุทธิ์ งดงาม
ดุจเดียวกับแสงรวีฉานฉายขอบฟ้า ขับไล่ทิวากาล
และเมื่อนั้น พลังแห่งรักจักสำแดง
............................................
Love bless you all !
From My Heart
CRAZYCLOUD
Wednesday, November 15, 2006
การปฏิรูปอำนาจทางการเมืองของภาคพลเรือนในยุคโลกาภิวัตน์ : การมีอำนาจเหนือภาครัฐบาลและภาคการตลาดของประชาสังคม
ตีพิมพ์ในไทยโพสต์ ฉบับวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
ในเบื้องต้น คงต้องยอมรับว่า ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นจนถึงปัจจุบันมีที่มาจากการขับเคลื่อนของภาคพลเรือนที่เข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างแท้จริง แม้ว่าจะมีนักวิชาการบางกลุ่มออกมาให้ความคิดความเห็นว่า ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการต่อสู้กันระหว่าง “รัฐบาลทักษิณ” กับ “กลุ่มอำนาจเก่า” และ “อำนาจทุนใหม่” กับ “อำนาจทุนเก่า” ก็ตาม ซึ่งข้อคิดเห็นดังกล่าว ก็มีความถูกต้องอยู่ในระดับนึง แต่การกล่าวอ้างเช่นนี้เป็นการมองข้ามความมีอยู่ หรือ ดูแคลน ภาคพลเรือนที่เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ที่เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนสถานการณ์ทางการเมืองให้ดำเนินมาถึงปัจจุบัน
ดังนั้น ในสถานการณ์การปฏิรูปการเมืองที่กำลังจะเกิดขึ้น จึงเป็นสิ่งที่อันตรายอย่างยิ่งในการใช้มุมมองทางวิชาการแบบเดิมๆที่ปฏิเสธพลังขับเคลื่อนทางสังคมของภาคพลเรือนในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งโดยนัยเป็นการแสดงออกถึงความยอมจำนนต่อทฤษฎีทางความคิดที่ไม่มีความสอดคล้องกับสถานการณ์บ้านเมือง เป็นการยอมจำนนต่อ ตัวบทกฎหมาย ที่ไร้แรงขับเคลื่อนและนำพาภาคพลเรือนไปสัมผัสความยุติธรรมทางสังคมได้อย่างแท้จริง
ด้วยเหตุข้างต้น การทำความเข้าใจความดำรงคงอยู่และพลังขับเคลื่อนของภาคพลเรือนในยุคโลกาภิวัตน์ จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการวางรากฐานทางความคิดเพื่อให้การปฏิรูปการเมืองครั้งใหม่ดำเนินไปบนหนทางในการสร้าง “สุขภาวะ” ของภาคพลเรือนได้อย่างแท้จริง ซึ่งในเบื้องต้นต้องมีการทำความเข้าใจถึงความดำรงคงอยู่ของภาคพลเรือนในทางกฎหมายรัฐธรรมนูญไปพร้อมกับการทำความเข้าใจการดำรงอยู่ของภาคพลเรือนบนบริบทโลกาภิวัตน์
การดำรงอยู่ของภาคพลเรือนในกฎหมายรัฐธรรมนูญและสังคมโลกาภิวัตน์
ในทางกฎหมายรัฐธรรมนูญ ภาคพลเรือนถือเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย และเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยเพื่อผลสำคัญในการปกป้องหัวใจของการปกครองระบอบประชาธิปไตย คือ สิทธิและเสรีภาพ ภาคพลเรือนหรือ ประชาชน สามารถใช้อำนาจดังกล่าวได้ในสองรูปแบบ ทั้งประชาธิปไตยแบบตัวแทน (Representative Democracy) และ ประชาธิปไตยแบบทางตรง (Direct Democracy) ซึ่งจากหลักการทั้งสองหลักการได้นำไปสู่ การมีสิทธิของภาคพลเรือนในการเลือกตั้งผู้แทนของตนเข้าไปดำรงตำแหน่งใน ภาครัฐบาล (Government Sector) ทั้งรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ซึ่งส่งผลไปถึงการคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระต่างๆอีกทอดหนึ่ง
นอกจากนี้ในทฤษฎีกฎหมายรัฐธรรมนูญยังยอมรับความมีอยู่ของ สิทธิและเสรีภาพของประชาชน อันถือเป็นปฐมฐานในการจัดให้มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยก็ว่าได้ และผลของประชาธิปไตยแบบทางตรง(Direct Democracy) ก็นำไปสู่การยอมรับความมีอยู่ของอำนาจทางการเมืองของภาคพลเรือน ทั้งอำนาจในการเสนอร่างกฎหมายเข้าสู่สภา การยื่นถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การทำประชาพิจารณ์ เป็นต้น
ในขณะเดียวกัน การพัฒนาของระบบการบริหารราชการแผ่นดิน ที่มุ่งเน้นหลักการกระจายอำนาจ (Decentralisation) ก็ทำให้กฎหมายรัฐธรรมนูญได้เข้าไปยอมรับความมีอยู่ของอำนาจในการปกครองตนเองของภาคพลเรือน ผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมุ่งสร้างระบบการบริหารราชการแผ่นดินที่ตอบสนองต่อปัญหาของภาคพลเรือนที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่ง
โดยสรุป ในกฎหมายรัฐธรรมนูญได้ยอมรับ ความมีอยู่ของภาคพลเรือนไว้ในหลายจุด ซึ่งการยอมรับดังกล่าวจะช่วยให้ภาคพลเรือนสามารถปกป้องตนเองจากการใช้อำนาจของภาครัฐบาล (Goverment Sector) สามารถเรียกร้องให้รัฐจัดให้มีซึ่งกฎหมายและการบริหารที่ส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพในด้านต่างๆ สามารถเข้าไปส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรง และสามารถปกครองตนเองได้โดยอิสระจากภาครัฐบาล
ที่กล่าวมาข้างต้น คือ การดำรงคงอยู่ของภาคพลเรือน ในตัวบทกฎหมายซึ่งแตกต่างจากความเป็นจริงในสังคมโลกาภิวัตน์ ทั้งนี้เนื่องจากในสังคมโลกาภิวัตน์ ไม่ได้มีความสัมพันธ์ระหว่าง ภาครัฐบาล(Goverment Sector) กับ ภาคพลเรือน (Civil Sector) เท่านั้น แต่จากวิกฤตการณ์ทางการเมืองในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คงต้องยอมรับว่า ภาคการตลาดเป็นภาคที่มีส่วนสำคัญต่อบริบทแวดล้อมทั้งหมดของสังคมการเมืองไทย อันเป็นผลจากความสำเร็จของภาคการตลาด (Market Sector) ในการควบรวม ภาครัฐบาล (Government Sector) ด้วยอำนาจทุน (Capital Power) และการควบรวม ภาคพลเรือน (Civil Sector) ด้วย อำนาจข้อมูลข่าวสาร (Information Power) ซึ่งจากสถานกรณ์ดังกล่าว ได้ทำให้เกิดสถานการณ์ “สิ้นสภาพบังคับ” ของบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ยอมรับความมีอยู่ของภาคพลเรือน โดยสิ้นเชิง
ภาคการตลาด (Market Sector) ที่ทรงอิทธิพลยิ่งได้ใช้อำนาจทุน(Capital Power) อำนาจรัฐบาล (GovermentPower) และ อำนาจข้อมูลข่าวสาร (Information Power) ทำลายล้างความมีอยู่ของภาคพลเรือน ดังนี้
๑.การใช้อำนาจทั้งสามในการลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เช่นในกรณีนโยบายทำสงครามกับยาเสพติด กรณีตากใบ กรณี มัสยิดกรือเซะ กรณีการหายตัวไปของทนายสมชาย นีละไพจิตร การสังหารนายเจริญ วัดอักษร
๒.การใช้อำนาจทั้งสามในการสร้างอุปสรรคในการเข้าถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ทั้งกลไกการเสนอร่างกฎหมาย กลไกการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (ตัวอย่างเช่น กรณีการรับฟังความคิดเห็นในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ) การสร้างอุปสรรคในกระบวนการยื่นถอดถอนนักการเมือง( ตัวอย่างเช่น กรณีการยื่นถอดถอนอดีตนายก ของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ผู้เขียนเห็นว่าไม่สามรถทำได้เนื่องจากการบล็อกโหวตในวุฒิสภา)
๓.การใช้อำนาจทั้งสามในการทำลายการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการผนึกโครงสร้างการปกครองส่วนท้องถิ่นให้ขึ้นตรงต่อนโยบาย ขึ้นตรงต่อความคิด ของระบบการบริหารแบบบูรณาการอำนาจ (CEO) ผ่าน กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (ตัวอย่างเช่น การเดินทางของสมาชิกและผู้บริหารท้องถิ่นมาที่วัดพระธรรมกาย)
๔.การใช้อำนาจทั้งสามในการมอมเมาภาคพลเรือน ด้วยนโยบายประชานิยม สร้างกองทัพประชาธิปไตยรับจ้าง การสร้างสถานการณ์ให้เกิดความแตกแยกของภาคพลเรือน การวางแผนให้ภาคพลเรือนสองฝ่ายเข้าปะทะกัน จนเป็นเหตุให้ต้องเกิดการรัฐประหาร
๕.การใช้อำนาจทั้งสามในการเอาชนะกันในทางการเมือง โดยการซื้อเสียงจากภาคพลเรือน ทำให้เจตนารมณ์ของประชาธิปไตยแบบตัวแทน (Representative Democracy) ถูกทำลายลงไปอย่างย่อยยับ
๖.การใช้อำนาจทั้งสามเข้าแย่งยึด ประโยชน์สาธารณะ (Public Interest)ที่สงวนไว้สำหรับภาคพลเรือนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ทั้งในกรณี การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การโอนสัมปทานให้กองทุน Temasek
ประจักษ์หลักฐานที่กล่าวมาล้วนเป็นความจริงที่แสดงให้เห็นถึง ความดำรงอยู่ของภาคพลเรือนในกฎหมายรัฐธรรมนูญและสังคมโลกาภิวัตน์ที่มีความขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งความจริงเหล่านี้เป็นสิ่งต้องมีการทบทวนกันให้ชัดเจนว่า การปฏิรูปการเมือง การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะมีมาตรการอย่างไรในการขจัดปัญหาต่างๆและทะลายข้อจำกัดของภาคพลเรือนในการปกป้องตนเองจากสังคมโลกาภิวัฒน์ไปพร้อมกับการมีส่วนร่วมในการกำหนดชะตากรรมของตนเองในการดำรงคงอยู่อย่างมี “สุขภาวะ”ในสังคมโลกาภิวัตน์ ที่ได้สร้างข้อจำกัดให้ภาคพลเรือนอย่างมากมาย
ข้อจำกัดของในการใช้อำนาจทางการเมืองของภาคพลเรือน
ในสังคมโลกาภิวัตน์ ภาคพลเรือนกลายเป็นเพียงผู้ถูกกระทำจากทั้งภาครัฐบาลและภาคการตลาด โดยที่ภาคพลเรือนไม่สามารถต่อสู้ ป้องกันตนเองจากอำนาจต่างๆได้อย่างเต็มที่ ภาคพลเรือนจึงต้องทำการต่อต้านอำนาจด้วยเครื่องมือทางสังคมเท่าที่ตนมี แม้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ จะบัญญัติรับรองความมีอยู่ของภาคพลเรือนในรูปแบบต่างๆไว้ แต่เมื่อพิจารณาจากสภาพของกระบวนการบังคับใช้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ จะพบว่าภาคพลเรือนยังมีข้อจำกัดในการใช้สิทธิและอำนาจของภาคพลเรือนอยู่มากมายหลายประการ อาทิ
๑.ข้อจำกัดในการปกป้องสิทธิและเสรีภาพ เมื่อพิจารณากลไกในการปกป้องสิทธิและเสรีภาพของประชาชนจะพบว่า ไม่มีกระบวนการในการบังคับการตามสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเป็นกิจจะลักษณะ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ก็เป็นเพียงองค์กรให้คำปรึกษาและเสนอแนะเท่านั้น ไม่มีอำนาจในการบังคับการทางกฎหมาเพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนแต่อย่างใด ดังนั้นภาคพลเรือนจึงต้องทำการดิ้นรนบังคับการตามสิทธิของตนที่ถูกละเมิด โดยการพึ่ง กระบวนการยุติธรรมในระบบต่างๆ ซึ่งก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่า กระบวนการยุติธรรม ของประเทศไทย เป็นกระบวนการที่ไม่เอื้อสำหรับภาคพลเรือนที่ไม่มีกำลังทรัพย์ กำลังอำนาจที่เพียงพอ
๒.ข้อจำกัดในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน เมื่อพิจารณามาตรการในการสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนทั้งการเสนอร่างกฎหมายต่อสภา การยื่นถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และการรับฟังความคิดเห็นโดยการทำประชาพิจารณ์ จะพบว่าภาคพลเรือนยังคงประสบปัญหาการเข้าถึงการมีส่วนร่วมทางการเมือง ทั้งนี้เนื่องจากขั้นตอนในการเข้าถึงการมีส่วนร่วมมีความสลับซับซ้อน มีขั้นตอนในการดำเนินการที่ภาคพลเรือนต้องเป็นแบกรับภาระทั้งในแง่ของจำนวนประชาชน งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการ ตลอดจนขั้นตอนในการพิจารณาเรื่องต่างๆที่ภาคประชาชนเสนอไปมักถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขในภายหลัง หรือกระทั่งกระบวนการรับฟังความคิดเห็นที่แทบไม่มีผลต่อการตัดสินใจในการดำเนินโครงการภาครัฐที่มีผลกระทบต่อประชาชน
๓.ข้อจำกัดในการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อพิจารณานโยบายของภาครัฐบาลในช่วงที่ผ่านมาจะพบว่า นโยบายต่างๆมีลักษณะสวนทางกับหลักความเป็นอิสระของท้องถิ่น นโยบายส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นให้ความสำคัญการบริหารราชการส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ซึ่งสังเกตได้จากความพยายามในการรวบอำนาจของท้องถิ่นกลับมาที่ผู้ว่าราชการจังหวัด การใช้กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าไปมีอิทธิพลเหนือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การกระจายงบประมาณลงสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ไม่มีความโปร่งใส หรือกระทั่งการใช้อิทธิพลของ ส.ส.ในพื้นที่เข้าไปมีบทบาทในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นข้อจำกัดในการพัฒนาการปกครองส่วนท้องถิ่นทำให้ท้องถิ่นไม่อาจดำเนินภารกิจให้สอดคล้องกับผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น แต่กลับกลายเป็นเพียงบานอำนาจทางการเมืองของส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเท่านั้น
๔.ข้อจำกัดในการตรวจสอบอำนาจรัฐบาลของภาคพลเรือน เมื่อพิจารณามาตรการในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ จะพบว่าองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ คือกลุ่มองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของภาคพลเรือนจากการใช้อำนาจของภาครัฐบาล อย่างไรก็ตามอิทธิพลของภาครัฐบาลได้เข้าไปแทรกแซงการทำงานขององค์กรอิสระฯจนองค์กรอิสระไม่สามารถทำหน้าที่ปกป้องคุมครองภาคพลเรือนได้เต็มที่นัก นอกจากนี้องค์กรอิสระบางองค์กรที่มีความใกล้ชิดกับประชาชน เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกลับไม่มีอำนาจในการเสนอเรื่องการละเมิดสิทธิและเสรีภาพขึ้นสู่การพิจารณาขององค์กรตุลาการแต่อย่างใด ในขณะองค์กรอิสระที่เหลือก็มีขั้นตอนการดำเนินการรับเรื่องร้องทุกข์ของประชาชนที่สลับซับซ้อนจนประชาชนไม่อาจเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ง่ายนัก สิ่งเหล่านี้เป็นข้อจำกัดของภาคพลเรือนในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเพื่อปกป้องสิทธิและเสรีภาพของตนเอง
๕.ข้อจำกัดในการปกป้องตนเองจากอำนาจทุน ในยุคโลกาภิวัฒน์สิ่งที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อภาคพลเรือน คือการที่ภาคการตลาดเข้าทำการควบรวมภาครัฐบาล ซึ่งหมายถึงการควบรวมกันระหว่าง อำนาจทุนกับอำนาจรัฐบาล โดยภาคการตลาดจะเข้าไปทำการเปลี่ยนแปลงอำนาจรัฐบาลที่ต้องสนองตอบต่อผลประโยชน์สาธารณะให้ไปสนองตอบต่อผลประโยชนส่วนตน กรณีนี้สังเกตได้จากปัญหา การเจรจาลงนามข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ที่เข้าไปทำลายวิถีชีวิตของเกษตรกร กรณีปัญหาการค้าปลีก ที่กลุ่มทุนต่างชาติได้เข้ามาทำลายการค้าของชุมชนและท้องถิ่น กรณีการวางท่อก๊าซในโครงการต่างๆ ซึ่งที่สุดแล้วภาคพลเรือนก็มีหนทางในการปกป้องตนเองเพียงการชุมนุมประท้วง การใช้สิทธิทางศาลซึ่งยังคงมีอุปสรรคจากการพิจารณาคดีที่ล่าช้า และการเรียกร้องให้ภาครัฐบาลเข้าไปจัดการปัญหาให้กับตนเอง ซึ่งยังไม่เพียงพอที่ภาคพลเรือนจะปกป้องตนเองจากอำนาจทุนโลกาภิวัฒน์ที่ชั่วช้าได้
๖.ข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ในยุคโลกาภิวัตน์อำนาจใหม่ที่มีอิทธิพลเหนือชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ก็คือ อำนาจข้อมูลข่าวสาร ซึ่งอำนาจดังกล่าวจะใช้ไปเพื่อการประชาสัมพันธ์สินค้าของภาคการตลาด และประชาสัมพันธ์นโยบายของภาครัฐบาลอย่างบิดเบือน อำนาจข้อมูลข่าวสารทรงอิทธิพลยิ่งในการเปลี่ยนวิถีชีวิตของประชาชนให้กลายเป็นเพียงผู้บริโภคสินค้า และสาวกทางการเมืองที่มืดบอด กรณีเหล่านี้สังเกตได้จากวิถีชีวิตของภาคพลเรือนได้เปลี่ยนแปลงไปสู่ลัทธิบริโภคนิยมในทางเศรษฐกิจและ ลัทธิประชานิยมในทางการเมือง ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการแย่งชิงทรัพยากรจนนำไปสู่ความขัดแย้งทางสังคม ความเครียด หนี้สินครัวเรือนที่สูงขึ้น กระทั่งวามขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งทั้งหมดล้วนมีสาเหตุมาจากการที่ภาคพลเรือนผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายและการบริหารงานของภาครัฐบาลไม่สามารถเข้าถึงและใช้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องตอบโต้กับข้อมูลข่าวสารที่ถูกบิดเบือนได้อย่างทั่วถึง
ข้อเสนอแนะในการปฏิรูปอำนาจทางการเมืองของภาคพลเรือน
จากปัญหาอุปสรรคและข้อจำกัดในการใช้อำนาจทางการเมืองของภาคพลเรือน ผู้เขียนได้จัดทำข้อเสนอแนะเบื้องต้นในการปฏิรูปอำนาจทางการเมืองของภาคพลเรือนในยุคโลกาภิวัตน์ไว้ทั้งสิ้นหกประการ คือ
๑.การจัดกลไกการปกป้องสิทธิและเสรีภาพที่เป็นรูปธรรม โดยให้ประชาชนสามารถยื่นฟ้องหน่วยงานราชการหรือเจ้าหน้าที่ที่กระทำการละเมิดสิทธิและเสรีภาพต่อองค์กรตุลาการได้โดยตรง และให้อำนาจคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนสามารถสอบสวนและยื่นเรื่องให้องค์กรตุลาการวินิจฉัยกรณีการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
๒.การลดอุปสรรคในการเข้าถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน โดยการลดจำนวนประชาชนที่มีสิทธิเสนอร่างกฎหมายลงเหลือห้าพันคน และให้สิทธิประชาชนในการเข้าร่วมการพิจารณาออกกฎหมายที่ตนเองเสนอร่วมกับรัฐสภา การลดจำนวนประชาชนที่มีสิทธิยื่นถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเหลือห้าพันคน และปรับปรุงระบบการทำประชาพิจารณ์ให้เป็นระบบประชามติของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการของรัฐบาล
๓.การส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ควบคู่ไปกับการมีระบบตรวจสอบการใช้อำนาจของท้องถิ่นที่เข้มแข็ง โดยการบังคับใช้กลไกทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระจายให้มีความเคร่งครัด ชัดเจนและเหมาะสมกับสภาพภารกิจของท้องถิ่น ควบคู่ไปกับการเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นสามารถร้องเรียนกรณีการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อองค์กรตุลาการทีมีอำนาจหน้าที่โดยตรง
๔.การเปิดโอกาสให้ภาคพลเรือนใช้สิทธิทางศาลเพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐได้มากขึ้น โดยการเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถฟ้องคดีต่อองค์กรตุลการได้อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่มีการดำเนินการใดๆของภาครัฐบาลและภาคเอกชนที่มีลักษณะขัดแย้งกบผลประโยชน์สาธารณะ
๕.การปฏิรูปกฎหมายมหาชนในทางเศรษฐกิจเพื่อการปกป้องประโยชน์สาธารณะ นอกจากการาตรการในการปฏิรูปการเมืองแล้ว ควรมีมาตรการในการปฏิรูปกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจและการบังคับใช้กฎหมามหาชนทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ภาครัฐบาลเข้าไปมีบทบาทในการควบคุมระบบเศรษฐกิจ อย่างโปร่งใสและเป็นธรรม ทั้งนี้เพื่อผลสำคัญในการลดความเชี่ยวกรากของกระแสทุนในยุคโลกาภิวัฒน์มิให้เข้ามาทำลายวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
๖.การจัดตั้งองค์กรสื่ออิสระที่ภาคพลเรือนเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง ควรมีการจัดตั้งองค์กรสื่ออิสระที่มีกำลังส่งสัญญาณกระจายทั่วพื้นที่ของประเทศ โดยให้ภาคพลเรือนมีอำนาจในการบริหารจัดการอย่างแท้จริง ทั้งนี้รายได้ขององค์รสื่ออิสระควรมีที่มาจากภาษีที่จัดเก็บจากการโฆษณา และการเก็บภาษีรายการโทรทัศน์บันเทิง
ในเบื้องต้น คงต้องยอมรับว่า ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นจนถึงปัจจุบันมีที่มาจากการขับเคลื่อนของภาคพลเรือนที่เข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างแท้จริง แม้ว่าจะมีนักวิชาการบางกลุ่มออกมาให้ความคิดความเห็นว่า ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการต่อสู้กันระหว่าง “รัฐบาลทักษิณ” กับ “กลุ่มอำนาจเก่า” และ “อำนาจทุนใหม่” กับ “อำนาจทุนเก่า” ก็ตาม ซึ่งข้อคิดเห็นดังกล่าว ก็มีความถูกต้องอยู่ในระดับนึง แต่การกล่าวอ้างเช่นนี้เป็นการมองข้ามความมีอยู่ หรือ ดูแคลน ภาคพลเรือนที่เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ที่เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนสถานการณ์ทางการเมืองให้ดำเนินมาถึงปัจจุบัน
ดังนั้น ในสถานการณ์การปฏิรูปการเมืองที่กำลังจะเกิดขึ้น จึงเป็นสิ่งที่อันตรายอย่างยิ่งในการใช้มุมมองทางวิชาการแบบเดิมๆที่ปฏิเสธพลังขับเคลื่อนทางสังคมของภาคพลเรือนในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งโดยนัยเป็นการแสดงออกถึงความยอมจำนนต่อทฤษฎีทางความคิดที่ไม่มีความสอดคล้องกับสถานการณ์บ้านเมือง เป็นการยอมจำนนต่อ ตัวบทกฎหมาย ที่ไร้แรงขับเคลื่อนและนำพาภาคพลเรือนไปสัมผัสความยุติธรรมทางสังคมได้อย่างแท้จริง
ด้วยเหตุข้างต้น การทำความเข้าใจความดำรงคงอยู่และพลังขับเคลื่อนของภาคพลเรือนในยุคโลกาภิวัตน์ จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการวางรากฐานทางความคิดเพื่อให้การปฏิรูปการเมืองครั้งใหม่ดำเนินไปบนหนทางในการสร้าง “สุขภาวะ” ของภาคพลเรือนได้อย่างแท้จริง ซึ่งในเบื้องต้นต้องมีการทำความเข้าใจถึงความดำรงคงอยู่ของภาคพลเรือนในทางกฎหมายรัฐธรรมนูญไปพร้อมกับการทำความเข้าใจการดำรงอยู่ของภาคพลเรือนบนบริบทโลกาภิวัตน์
การดำรงอยู่ของภาคพลเรือนในกฎหมายรัฐธรรมนูญและสังคมโลกาภิวัตน์
ในทางกฎหมายรัฐธรรมนูญ ภาคพลเรือนถือเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย และเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยเพื่อผลสำคัญในการปกป้องหัวใจของการปกครองระบอบประชาธิปไตย คือ สิทธิและเสรีภาพ ภาคพลเรือนหรือ ประชาชน สามารถใช้อำนาจดังกล่าวได้ในสองรูปแบบ ทั้งประชาธิปไตยแบบตัวแทน (Representative Democracy) และ ประชาธิปไตยแบบทางตรง (Direct Democracy) ซึ่งจากหลักการทั้งสองหลักการได้นำไปสู่ การมีสิทธิของภาคพลเรือนในการเลือกตั้งผู้แทนของตนเข้าไปดำรงตำแหน่งใน ภาครัฐบาล (Government Sector) ทั้งรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ซึ่งส่งผลไปถึงการคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระต่างๆอีกทอดหนึ่ง
นอกจากนี้ในทฤษฎีกฎหมายรัฐธรรมนูญยังยอมรับความมีอยู่ของ สิทธิและเสรีภาพของประชาชน อันถือเป็นปฐมฐานในการจัดให้มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยก็ว่าได้ และผลของประชาธิปไตยแบบทางตรง(Direct Democracy) ก็นำไปสู่การยอมรับความมีอยู่ของอำนาจทางการเมืองของภาคพลเรือน ทั้งอำนาจในการเสนอร่างกฎหมายเข้าสู่สภา การยื่นถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การทำประชาพิจารณ์ เป็นต้น
ในขณะเดียวกัน การพัฒนาของระบบการบริหารราชการแผ่นดิน ที่มุ่งเน้นหลักการกระจายอำนาจ (Decentralisation) ก็ทำให้กฎหมายรัฐธรรมนูญได้เข้าไปยอมรับความมีอยู่ของอำนาจในการปกครองตนเองของภาคพลเรือน ผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมุ่งสร้างระบบการบริหารราชการแผ่นดินที่ตอบสนองต่อปัญหาของภาคพลเรือนที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่ง
โดยสรุป ในกฎหมายรัฐธรรมนูญได้ยอมรับ ความมีอยู่ของภาคพลเรือนไว้ในหลายจุด ซึ่งการยอมรับดังกล่าวจะช่วยให้ภาคพลเรือนสามารถปกป้องตนเองจากการใช้อำนาจของภาครัฐบาล (Goverment Sector) สามารถเรียกร้องให้รัฐจัดให้มีซึ่งกฎหมายและการบริหารที่ส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพในด้านต่างๆ สามารถเข้าไปส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรง และสามารถปกครองตนเองได้โดยอิสระจากภาครัฐบาล
ที่กล่าวมาข้างต้น คือ การดำรงคงอยู่ของภาคพลเรือน ในตัวบทกฎหมายซึ่งแตกต่างจากความเป็นจริงในสังคมโลกาภิวัตน์ ทั้งนี้เนื่องจากในสังคมโลกาภิวัตน์ ไม่ได้มีความสัมพันธ์ระหว่าง ภาครัฐบาล(Goverment Sector) กับ ภาคพลเรือน (Civil Sector) เท่านั้น แต่จากวิกฤตการณ์ทางการเมืองในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คงต้องยอมรับว่า ภาคการตลาดเป็นภาคที่มีส่วนสำคัญต่อบริบทแวดล้อมทั้งหมดของสังคมการเมืองไทย อันเป็นผลจากความสำเร็จของภาคการตลาด (Market Sector) ในการควบรวม ภาครัฐบาล (Government Sector) ด้วยอำนาจทุน (Capital Power) และการควบรวม ภาคพลเรือน (Civil Sector) ด้วย อำนาจข้อมูลข่าวสาร (Information Power) ซึ่งจากสถานกรณ์ดังกล่าว ได้ทำให้เกิดสถานการณ์ “สิ้นสภาพบังคับ” ของบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ยอมรับความมีอยู่ของภาคพลเรือน โดยสิ้นเชิง
ภาคการตลาด (Market Sector) ที่ทรงอิทธิพลยิ่งได้ใช้อำนาจทุน(Capital Power) อำนาจรัฐบาล (GovermentPower) และ อำนาจข้อมูลข่าวสาร (Information Power) ทำลายล้างความมีอยู่ของภาคพลเรือน ดังนี้
๑.การใช้อำนาจทั้งสามในการลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เช่นในกรณีนโยบายทำสงครามกับยาเสพติด กรณีตากใบ กรณี มัสยิดกรือเซะ กรณีการหายตัวไปของทนายสมชาย นีละไพจิตร การสังหารนายเจริญ วัดอักษร
๒.การใช้อำนาจทั้งสามในการสร้างอุปสรรคในการเข้าถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ทั้งกลไกการเสนอร่างกฎหมาย กลไกการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (ตัวอย่างเช่น กรณีการรับฟังความคิดเห็นในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ) การสร้างอุปสรรคในกระบวนการยื่นถอดถอนนักการเมือง( ตัวอย่างเช่น กรณีการยื่นถอดถอนอดีตนายก ของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ผู้เขียนเห็นว่าไม่สามรถทำได้เนื่องจากการบล็อกโหวตในวุฒิสภา)
๓.การใช้อำนาจทั้งสามในการทำลายการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการผนึกโครงสร้างการปกครองส่วนท้องถิ่นให้ขึ้นตรงต่อนโยบาย ขึ้นตรงต่อความคิด ของระบบการบริหารแบบบูรณาการอำนาจ (CEO) ผ่าน กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (ตัวอย่างเช่น การเดินทางของสมาชิกและผู้บริหารท้องถิ่นมาที่วัดพระธรรมกาย)
๔.การใช้อำนาจทั้งสามในการมอมเมาภาคพลเรือน ด้วยนโยบายประชานิยม สร้างกองทัพประชาธิปไตยรับจ้าง การสร้างสถานการณ์ให้เกิดความแตกแยกของภาคพลเรือน การวางแผนให้ภาคพลเรือนสองฝ่ายเข้าปะทะกัน จนเป็นเหตุให้ต้องเกิดการรัฐประหาร
๕.การใช้อำนาจทั้งสามในการเอาชนะกันในทางการเมือง โดยการซื้อเสียงจากภาคพลเรือน ทำให้เจตนารมณ์ของประชาธิปไตยแบบตัวแทน (Representative Democracy) ถูกทำลายลงไปอย่างย่อยยับ
๖.การใช้อำนาจทั้งสามเข้าแย่งยึด ประโยชน์สาธารณะ (Public Interest)ที่สงวนไว้สำหรับภาคพลเรือนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ทั้งในกรณี การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การโอนสัมปทานให้กองทุน Temasek
ประจักษ์หลักฐานที่กล่าวมาล้วนเป็นความจริงที่แสดงให้เห็นถึง ความดำรงอยู่ของภาคพลเรือนในกฎหมายรัฐธรรมนูญและสังคมโลกาภิวัตน์ที่มีความขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งความจริงเหล่านี้เป็นสิ่งต้องมีการทบทวนกันให้ชัดเจนว่า การปฏิรูปการเมือง การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะมีมาตรการอย่างไรในการขจัดปัญหาต่างๆและทะลายข้อจำกัดของภาคพลเรือนในการปกป้องตนเองจากสังคมโลกาภิวัฒน์ไปพร้อมกับการมีส่วนร่วมในการกำหนดชะตากรรมของตนเองในการดำรงคงอยู่อย่างมี “สุขภาวะ”ในสังคมโลกาภิวัตน์ ที่ได้สร้างข้อจำกัดให้ภาคพลเรือนอย่างมากมาย
ข้อจำกัดของในการใช้อำนาจทางการเมืองของภาคพลเรือน
ในสังคมโลกาภิวัตน์ ภาคพลเรือนกลายเป็นเพียงผู้ถูกกระทำจากทั้งภาครัฐบาลและภาคการตลาด โดยที่ภาคพลเรือนไม่สามารถต่อสู้ ป้องกันตนเองจากอำนาจต่างๆได้อย่างเต็มที่ ภาคพลเรือนจึงต้องทำการต่อต้านอำนาจด้วยเครื่องมือทางสังคมเท่าที่ตนมี แม้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ จะบัญญัติรับรองความมีอยู่ของภาคพลเรือนในรูปแบบต่างๆไว้ แต่เมื่อพิจารณาจากสภาพของกระบวนการบังคับใช้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ จะพบว่าภาคพลเรือนยังมีข้อจำกัดในการใช้สิทธิและอำนาจของภาคพลเรือนอยู่มากมายหลายประการ อาทิ
๑.ข้อจำกัดในการปกป้องสิทธิและเสรีภาพ เมื่อพิจารณากลไกในการปกป้องสิทธิและเสรีภาพของประชาชนจะพบว่า ไม่มีกระบวนการในการบังคับการตามสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเป็นกิจจะลักษณะ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ก็เป็นเพียงองค์กรให้คำปรึกษาและเสนอแนะเท่านั้น ไม่มีอำนาจในการบังคับการทางกฎหมาเพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนแต่อย่างใด ดังนั้นภาคพลเรือนจึงต้องทำการดิ้นรนบังคับการตามสิทธิของตนที่ถูกละเมิด โดยการพึ่ง กระบวนการยุติธรรมในระบบต่างๆ ซึ่งก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่า กระบวนการยุติธรรม ของประเทศไทย เป็นกระบวนการที่ไม่เอื้อสำหรับภาคพลเรือนที่ไม่มีกำลังทรัพย์ กำลังอำนาจที่เพียงพอ
๒.ข้อจำกัดในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน เมื่อพิจารณามาตรการในการสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนทั้งการเสนอร่างกฎหมายต่อสภา การยื่นถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และการรับฟังความคิดเห็นโดยการทำประชาพิจารณ์ จะพบว่าภาคพลเรือนยังคงประสบปัญหาการเข้าถึงการมีส่วนร่วมทางการเมือง ทั้งนี้เนื่องจากขั้นตอนในการเข้าถึงการมีส่วนร่วมมีความสลับซับซ้อน มีขั้นตอนในการดำเนินการที่ภาคพลเรือนต้องเป็นแบกรับภาระทั้งในแง่ของจำนวนประชาชน งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการ ตลอดจนขั้นตอนในการพิจารณาเรื่องต่างๆที่ภาคประชาชนเสนอไปมักถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขในภายหลัง หรือกระทั่งกระบวนการรับฟังความคิดเห็นที่แทบไม่มีผลต่อการตัดสินใจในการดำเนินโครงการภาครัฐที่มีผลกระทบต่อประชาชน
๓.ข้อจำกัดในการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อพิจารณานโยบายของภาครัฐบาลในช่วงที่ผ่านมาจะพบว่า นโยบายต่างๆมีลักษณะสวนทางกับหลักความเป็นอิสระของท้องถิ่น นโยบายส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นให้ความสำคัญการบริหารราชการส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ซึ่งสังเกตได้จากความพยายามในการรวบอำนาจของท้องถิ่นกลับมาที่ผู้ว่าราชการจังหวัด การใช้กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าไปมีอิทธิพลเหนือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การกระจายงบประมาณลงสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ไม่มีความโปร่งใส หรือกระทั่งการใช้อิทธิพลของ ส.ส.ในพื้นที่เข้าไปมีบทบาทในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นข้อจำกัดในการพัฒนาการปกครองส่วนท้องถิ่นทำให้ท้องถิ่นไม่อาจดำเนินภารกิจให้สอดคล้องกับผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น แต่กลับกลายเป็นเพียงบานอำนาจทางการเมืองของส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเท่านั้น
๔.ข้อจำกัดในการตรวจสอบอำนาจรัฐบาลของภาคพลเรือน เมื่อพิจารณามาตรการในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ จะพบว่าองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ คือกลุ่มองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของภาคพลเรือนจากการใช้อำนาจของภาครัฐบาล อย่างไรก็ตามอิทธิพลของภาครัฐบาลได้เข้าไปแทรกแซงการทำงานขององค์กรอิสระฯจนองค์กรอิสระไม่สามารถทำหน้าที่ปกป้องคุมครองภาคพลเรือนได้เต็มที่นัก นอกจากนี้องค์กรอิสระบางองค์กรที่มีความใกล้ชิดกับประชาชน เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกลับไม่มีอำนาจในการเสนอเรื่องการละเมิดสิทธิและเสรีภาพขึ้นสู่การพิจารณาขององค์กรตุลาการแต่อย่างใด ในขณะองค์กรอิสระที่เหลือก็มีขั้นตอนการดำเนินการรับเรื่องร้องทุกข์ของประชาชนที่สลับซับซ้อนจนประชาชนไม่อาจเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ง่ายนัก สิ่งเหล่านี้เป็นข้อจำกัดของภาคพลเรือนในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเพื่อปกป้องสิทธิและเสรีภาพของตนเอง
๕.ข้อจำกัดในการปกป้องตนเองจากอำนาจทุน ในยุคโลกาภิวัฒน์สิ่งที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อภาคพลเรือน คือการที่ภาคการตลาดเข้าทำการควบรวมภาครัฐบาล ซึ่งหมายถึงการควบรวมกันระหว่าง อำนาจทุนกับอำนาจรัฐบาล โดยภาคการตลาดจะเข้าไปทำการเปลี่ยนแปลงอำนาจรัฐบาลที่ต้องสนองตอบต่อผลประโยชน์สาธารณะให้ไปสนองตอบต่อผลประโยชนส่วนตน กรณีนี้สังเกตได้จากปัญหา การเจรจาลงนามข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ที่เข้าไปทำลายวิถีชีวิตของเกษตรกร กรณีปัญหาการค้าปลีก ที่กลุ่มทุนต่างชาติได้เข้ามาทำลายการค้าของชุมชนและท้องถิ่น กรณีการวางท่อก๊าซในโครงการต่างๆ ซึ่งที่สุดแล้วภาคพลเรือนก็มีหนทางในการปกป้องตนเองเพียงการชุมนุมประท้วง การใช้สิทธิทางศาลซึ่งยังคงมีอุปสรรคจากการพิจารณาคดีที่ล่าช้า และการเรียกร้องให้ภาครัฐบาลเข้าไปจัดการปัญหาให้กับตนเอง ซึ่งยังไม่เพียงพอที่ภาคพลเรือนจะปกป้องตนเองจากอำนาจทุนโลกาภิวัฒน์ที่ชั่วช้าได้
๖.ข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ในยุคโลกาภิวัตน์อำนาจใหม่ที่มีอิทธิพลเหนือชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ก็คือ อำนาจข้อมูลข่าวสาร ซึ่งอำนาจดังกล่าวจะใช้ไปเพื่อการประชาสัมพันธ์สินค้าของภาคการตลาด และประชาสัมพันธ์นโยบายของภาครัฐบาลอย่างบิดเบือน อำนาจข้อมูลข่าวสารทรงอิทธิพลยิ่งในการเปลี่ยนวิถีชีวิตของประชาชนให้กลายเป็นเพียงผู้บริโภคสินค้า และสาวกทางการเมืองที่มืดบอด กรณีเหล่านี้สังเกตได้จากวิถีชีวิตของภาคพลเรือนได้เปลี่ยนแปลงไปสู่ลัทธิบริโภคนิยมในทางเศรษฐกิจและ ลัทธิประชานิยมในทางการเมือง ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการแย่งชิงทรัพยากรจนนำไปสู่ความขัดแย้งทางสังคม ความเครียด หนี้สินครัวเรือนที่สูงขึ้น กระทั่งวามขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งทั้งหมดล้วนมีสาเหตุมาจากการที่ภาคพลเรือนผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายและการบริหารงานของภาครัฐบาลไม่สามารถเข้าถึงและใช้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องตอบโต้กับข้อมูลข่าวสารที่ถูกบิดเบือนได้อย่างทั่วถึง
ข้อเสนอแนะในการปฏิรูปอำนาจทางการเมืองของภาคพลเรือน
จากปัญหาอุปสรรคและข้อจำกัดในการใช้อำนาจทางการเมืองของภาคพลเรือน ผู้เขียนได้จัดทำข้อเสนอแนะเบื้องต้นในการปฏิรูปอำนาจทางการเมืองของภาคพลเรือนในยุคโลกาภิวัตน์ไว้ทั้งสิ้นหกประการ คือ
๑.การจัดกลไกการปกป้องสิทธิและเสรีภาพที่เป็นรูปธรรม โดยให้ประชาชนสามารถยื่นฟ้องหน่วยงานราชการหรือเจ้าหน้าที่ที่กระทำการละเมิดสิทธิและเสรีภาพต่อองค์กรตุลาการได้โดยตรง และให้อำนาจคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนสามารถสอบสวนและยื่นเรื่องให้องค์กรตุลาการวินิจฉัยกรณีการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
๒.การลดอุปสรรคในการเข้าถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน โดยการลดจำนวนประชาชนที่มีสิทธิเสนอร่างกฎหมายลงเหลือห้าพันคน และให้สิทธิประชาชนในการเข้าร่วมการพิจารณาออกกฎหมายที่ตนเองเสนอร่วมกับรัฐสภา การลดจำนวนประชาชนที่มีสิทธิยื่นถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเหลือห้าพันคน และปรับปรุงระบบการทำประชาพิจารณ์ให้เป็นระบบประชามติของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการของรัฐบาล
๓.การส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ควบคู่ไปกับการมีระบบตรวจสอบการใช้อำนาจของท้องถิ่นที่เข้มแข็ง โดยการบังคับใช้กลไกทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระจายให้มีความเคร่งครัด ชัดเจนและเหมาะสมกับสภาพภารกิจของท้องถิ่น ควบคู่ไปกับการเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นสามารถร้องเรียนกรณีการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อองค์กรตุลาการทีมีอำนาจหน้าที่โดยตรง
๔.การเปิดโอกาสให้ภาคพลเรือนใช้สิทธิทางศาลเพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐได้มากขึ้น โดยการเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถฟ้องคดีต่อองค์กรตุลการได้อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่มีการดำเนินการใดๆของภาครัฐบาลและภาคเอกชนที่มีลักษณะขัดแย้งกบผลประโยชน์สาธารณะ
๕.การปฏิรูปกฎหมายมหาชนในทางเศรษฐกิจเพื่อการปกป้องประโยชน์สาธารณะ นอกจากการาตรการในการปฏิรูปการเมืองแล้ว ควรมีมาตรการในการปฏิรูปกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจและการบังคับใช้กฎหมามหาชนทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ภาครัฐบาลเข้าไปมีบทบาทในการควบคุมระบบเศรษฐกิจ อย่างโปร่งใสและเป็นธรรม ทั้งนี้เพื่อผลสำคัญในการลดความเชี่ยวกรากของกระแสทุนในยุคโลกาภิวัฒน์มิให้เข้ามาทำลายวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
๖.การจัดตั้งองค์กรสื่ออิสระที่ภาคพลเรือนเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง ควรมีการจัดตั้งองค์กรสื่ออิสระที่มีกำลังส่งสัญญาณกระจายทั่วพื้นที่ของประเทศ โดยให้ภาคพลเรือนมีอำนาจในการบริหารจัดการอย่างแท้จริง ทั้งนี้รายได้ขององค์รสื่ออิสระควรมีที่มาจากภาษีที่จัดเก็บจากการโฆษณา และการเก็บภาษีรายการโทรทัศน์บันเทิง
การปฏิรูปอำนาจทางการเมืองในยุคโลกาภิวัฒน์ มุมมองใหม่ในการปฏิรูปการเมือง
ตีพิมพ์ใน ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
สังคมการเมืองในยุคโลกาภิวัตน์ เป็นสังคมที่มีความสัมพันธ์ของภาคส่วนทางสังคมอย่างน้อยที่สุด ๓ ภาคส่วน คือ ภาครัฐบาล (Government Sector) ภาคพลเรือน (Civil Sector) และ ภาคการตลาด (Market Sector) ในบทความ เรื่องการปฏิรูปการเมืองในยุคโลกิวัฒน์ : บริบทที่แตกต่างจากการปฏิรูปการเมืองครั้งที่ ๑ ผู้เขียนได้แสดงให้เห็นแล้วถึงปัญหาการเมืองไทยว่ามีที่มาจาก การที่ภาคการตลาดได้ใช้บรรดาเครื่องมือทั้ง ทุน เงินตรา และ ข้อมูลข่าวสาร เข้าควบรวม ภาครัฐบาล และภาคพลเรือน ให้อยู่ภายใต้อาณัติของตน ระบอบทักษิณ จึงเป็นระบอบที่รวบรวมคุณลักษณะของ ภาคการตลาด ภาครัฐบาล และภาคพลเรือนไว้เป็นหนึ่งเดียว
เมื่อสังเกตความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เพิ่งเกิดขึ้นทั้งก่อนและหลังการรัฐประหาร จนสามารถขับไล่ “ระบอบทักษิณ” ไปได้ในระดับหนึ่ง แท้จริงแล้วความสำเร็จเล็กๆที่เกิดขึ้นมีที่มาจากการใช้ เครื่องมือทางสังคมดั้งเดิม คือ การรัฐประหาร และ การใช้ข้อมูลข่าวสารทีวีผ่านดาวเทียม เผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอรัปชั่นของระบอบทักษิณ อย่างต่อเนื่องซึ่งประสบความสำเร็จเฉพาะในเมืองหลวงและเขตเมืองในต่างจังหวัด
จากลักษณะของสังคมโลกาภิวัฒน์ และบทเรียนทางการเมืองที่ผ่านมา ผู้เขียนได้ถอดบทเรียนสำคัญ ของเหตุการณ์ทั้งที่เกิดขึ้นก่อนและหลังเหตุการณ์ ๑๙ กันยายน ว่าเป็นการต่อสู้กันของอำนาจจำนวนสามคู่ สำคัญ
คู่แรก คือการต่อสู้กันของ อำนาจภาครัฐบาล(Government Power) กันเอง ระหว่าง อำนาจของรัฐบาลรักษาการณ์ใน “ระบอบทักษิณ” กับอำนาจทางการทหารของคณะปฏิรูปฯ ซึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย การต่อสู้ของอำนาจคู่นี้เกิดขึ้นเป็นประจำอยู่แล้ว
คู่ที่สอง คือ การต่อสู้กันระหว่าง อำนาจภาครัฐบาล(Government Power) ของคณะปฏิรูปฯ กับอำนาจ “ทุน” (Capital Power) ของ “ระบอบทักษิณ”
และคู่ที่สาม คือ การต่อสู้กัน ระหว่าง อำนาจข้อมูลข่าวสาร (Information Power) ของระบอบทักษิณ กับ อำนาจของพลเรือนแห่งการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร คือ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่มี นายสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นผู้กุม อำนาจข้อมูลข่าวสาร (Information Power)
จากการต่อสู้กันของอำนาจทั้งสามคู่ เราจะพบว่า ในบรรดาอำนาจและเครื่องมือที่ฝากฝ่ายต่างๆใช้ นั้น สามารถแบ่งอำนาจออกได้เป็นสามประเภท คือ อำนาจของภาครัฐบาล(Government Power) อำนาจ “ทุน” (Capital Power) ของภาคการตลาด และ อำนาจข้อมูลข่าวสาร(Information Power) ของภาคการตลาดและภาคพลเรือน อำนาจทั้งสามคือเหตุปัจจัยในสร้างจุดพลิกผัน จนสังคมไทยเดินมาถึงวาระของการปฏิรูปการเมืองตามกลไกและกระบวนการที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๙ (ฉบับชั่วคราว) ในที่สุด
ดังนั้น การเพ่งพินิจถึงความดำรงอยู่ของอำนาจทั้งสาม จึงเป็นบริบทพื้นฐานที่สังคมพึงตั้งสติก่อนที่จะมีการปฏิรูปการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปฏิรูปอำนาจทางการเมืองที่ได้สร้างความเสียหายอย่างมหาศาลให้เกิดขึ้นกับสังคมไทย
๑.อำนาจและสถาบันการเมืองในระบอบการปกครองแบบรัฐสภา
เมื่อกล่าวถึงการปฏิรูปการเมือง สิ่งที่นักวิชาการโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักวิชาการด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์จะต้องหยิบยกขึ้นมาพิจารณาเป็นลำดับแรก คือ ข้อความคิดว่าด้วยอำนาจและสถาบันทางการเมือง เหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราะ รัฐธรรมนูญ คือ บทบัญญัติของกฎหมาย ที่มีภารกิจสำคัญ ในการวางระบอบการปกครอง จัดวางตำแหน่งแห่งที่ของอำนาจ และสร้างระบบตรวจสอบถ่วงดุลกันระหว่างอำนาจต่างๆ ทั้งหมด คือ กรอบแนวความคิดแบบ Classic ที่นักวิชาการส่วนใหญ่ใช้เป็นจุดตั้งต้นในการพิจารณาถึงการปฏิรูปการเมืองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอำนาจและสถาบันทางการเมือง
สำหรับประเทศไทย นั้น เป็นประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แบบรัฐสภา ซึ่งแบ่งแยกอำนาจและสถาบันทางการเมือง ออกเป็นสามส่วน คือ อำนาจนิติบัญญัติ ที่ใช้โดยรัฐสภา อำนาจบริหารที่ใช้โดยคณะรัฐมนตรีและระบบราชการ อำนาจตุลาการที่ใช้โดยศาล โดยทั้งสามอำนาจมีระบบตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันละกัน อำนาจนิติบัญญัติสามารถตรวจสอบอำนาจบริหารโดยการตั้งกระทู้ถาม และอภิปรายไม่ไว้วางใจ อำนาจบริหารตรวจสอบอำนาจนิติบัญญัติโดยการยุบสภา ในขณะที่อำนาจตุลาการมีหน้าที่ตรวจสอบการกระทำของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารให้เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายตามที่ตนมีเขตอำนาจ นอกจากนี้ผลจากการปฏิรูปการเมืองครั้งที่ ๑ ได้ทำเกิดระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยองค์กรอิสระขึ้นมากมายหลายองค์กร โดยอำนาจทางการเมืองและสถาบันทางการเมืองมีจุดเกาะเกี่ยวกับ พรรคการเมือง ระบบการเลือกตั้ง และการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ทั้งหมดคือลักษณะโดยทั่วไป ของ อำนาจและสถาบันการเมืองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ของประเทศไทย
ด้วยเหตุนี้เมื่อเกิดปัญหาวิกฤตประเทศจนนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองครั้งที่ ๒ ผู้เขียนมีความเชื่อว่า ประเด็นในการพิจารณาเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะต้องวางฐานคิดโดยคำนึงถึง อำนาจและสถาบันการเมือง ตามตำรากฎหมายรัฐธรรมนูญแบบ Classic อย่างแน่นอน ซึ่งผู้เขียนมีความเห็นว่า การตั้งฐานคิด จาก มุมมองดังกล่าว ยังไม่เพียงพอที่จะช่วยแก้ปัญหาและปฏิรูปอำนาจและสถาบันการเมืองในระบอบรัฐสภาได้ และสมมุติฐานดังกล่าวจะเป็นจริงหรือไม่ สามารถตรวจสอบได้จากแนวความคิดเกี่ยวกับการปฏิรูปอำนาจเพื่อการแก้ไข รัฐธรรมนูญ ฯ 2540 ซึ่งเคยมีผู้ให้ความเห็นไว้มากมายหลายประเด็น
๒.แนวความคิดของภาคส่วนต่างๆเกี่ยวกับการปฏิรูปอำนาจเพื่อการแก้ไข รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
เมื่อพิเคราะห์บริบททางการเมืองภายในภาคอำนาจของรัฐบาล จะพบว่า ผลของการควบรวมภาคการตลาดเข้ากับภาครัฐบาล ประกอบกับมาตรการของรัฐธรรมนูญฯ ๒๕๔๐ ในการสร้าง Strong Prime Minister และการแทรกแซงองค์กรอิสระด้วยอำนาจ “ทุน” ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อภาคส่วนย่อยๆภายในภาครัฐบาล(Government Sector) ทั้งผลกระทบต่อ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายค้านที่ไม่สามารถทำการตรวจสอบรัฐบาลได้ ผลกระทบต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในฝ่ายรัฐบาลที่ไม่มีความเป็นอิสระ ผลกระทบต่อการทำงานตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐขององค์กรอิสระที่ทำให้เกิดคำถามจากสังคมในมากมายหลายกรณี แรงกดดันเหล่านี้ได้ผันแปรความคิดของบุคคลที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในภาคส่วนต่างๆจนกลายเป็นข้อเสนอแนะที่ส่วนใหญ่มุ่งผลทำให้อำนาจของฝ่ายบริหารอ่อนตัวลง และเสริมความแข็งแกร่งของภาคการตรวจสอบ
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาผู้เขียนได้ทำการรวบรวมข้อเสนอแนะในการปฏิรูปทางการเมืองในส่วนที่เกี่ยวข้องอำนาจทางการเมืองไว้มากมายหลายถึง ๕๐ ประเด็น ซึ่งโดยสรุป สามารถแบ่งแยกประเด็นที่มีนักวิชาการเสนอไว้สามประเด็นหลัก คือ
๒.๑ประเด็นเกี่ยวกับการเข้าสู่อำนาจทางการเมืองในภาครัฐบาล ซึ่งครอบคลุมถึงระบบการเข้าสู่อำนาจที่มีความเกี่ยวพันขององค์ประกอบสามประการ คือ ทั้งในส่วนของ พรรคการเมือง ระบบการเลือกตั้ง และการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองได้มีข้อเสนอสำคัญ เช่น การขจัดคุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ส.ที่ต้องสังกัดพรรคภายใน ๙๐ วันก่อนวันเลือกตั้ง เพื่อทำให้ ส.ส.มีอิสระมากขึ้น และอำนาจของพรรคการเมืองอ่อนตัวลง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งมีข้อเสนอสำคัญ คือ การเสนอให้มีศาลเลือกตั้ง เพื่อทำให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรม ปลดแอกผลการเลือกตั้งออกจากอำนาจทุนและอำนาจรัฐบาลที่มีความเข้มแข็งเกินไป และในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระก็มีข้อเสนอสำคัญ คือ ให้ตัดองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระที่มีที่มาจากพรรคการเมืองออก เพื่อป้องกันมิให้พรรคการเมืองเข้าไปแทรกแซงองค์กรอิสระและกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
๒.๒ประเด็นเกี่ยวกับกระบวนการใช้อำนาจอธิปไตย โดยฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ ตลอดจนระบบการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจระหว่าง คณะรัฐมนตรีและรัฐสภา
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการใช้อำนาจอธิปไตย ได้มีข้อเสนอสำคัญ เช่น การลดบทบาทของพรรคการเมืองในวุฒิสภา การห้ามถือสัมปทานของรัฐและการถือหุ้นของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองควรขยายไปถึงภรรยาและบุตรทั่งไม่บรรลุนิติภาวะด้วย การจัดให้มีองค์กรพิจารณาชี้ขาดในกรณีที่ฝ่ายรัฐบาลกระทำการละเมิดบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ การจัดโครงสร้างและวิธีพิจารณาความของศาลรัฐธรรมนูญให้มีความเหมาะสม
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบถ่วงดุล ได้มีข้อเสนอสำคัญ เช่น การขจัดคุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ส.ที่ต้องสังกัดพรรคภายใน ๙๐ วันก่อนวันเลือกตั้ง เพื่อทำให้ ส.ส.มีอิสระมากขึ้นในการตรวจสอบคณะรัฐมนตรี การลดจำนวนเสียงการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีจากสองในห้าเหลือหนึ่งในห้า เพื่อให้การตรวจสอบนายกรัฐมนตรีทำได้ง่ายขึ้น
๒.๓ ประเด็นเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ได้มีข้อเสนอสำคัญ ในการลดการแทรกแซงทางการเมืองในการสรรหากรรมการองค์กรอิสระ การกำหนดตำแหน่งที่ต้องยื่นบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อ ป.ป.ช.เพิ่มเติม การกำหนดให้การยื่นถอดถอนนักการเมืองทำได้ง่ายขึ้น การกำหนดให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติสามารถยื่นเรื่องให้ศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญพิจารณากรณีการละเมิดสิทธิและเสรีภาพได้
เมื่อพิจารณา ข้อเสนอแนะในประเด็นหลักทั้งสามประเด็น จะพบว่าข้อเสนอต่างๆเป็นความพยายามในการแก้ไขปัญหาไปที่ตัว “องค์กรผู้อำนาจ” “ระบบการตรวจสอบถ่วงดุลภายระหว่างองค์กรผู้ใช้อำนาจ” และ “ระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ” เพื่อลดความเข้มแข็งของ นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี สร้างเสริมระบบการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างองค์กรผู้ใช้อำนาจ และ ลดอิทธิพลของพรรคการเมืองในองค์กรอิสระเพื่อเสริมสร้างการตรวจสอบ ซึ่งข้อเสนอโดยส่วนใหญ่ ถือเป็นข้อเสนอที่ยืนอยู่บนฐานการจัดการอำนาจ ตามกรอบแนวความคิดแบบ Classic ผสมผสานกับความพยายามในการกำจัดอำนาจของ “ทุนใหญ่” หรือ “ทุนโลกาภิวัตน์” ออกจากอำนาจของภาครัฐบาล
โดยสรุป ข้อเสนอของนักวิชาการ นักการเมือง ภาคส่วนต่างๆ และประชาชน คือ ความพยายามในการปฏิรูปการเมือง บนพื้นฐานของแนวความคิดในทฤษฎีทางรัฐธรรมนูญ พร้อมๆไปกับความพยายามในการขจัด ลดทอน ควบคุม ภาคการตลาด (Marget Sector) จากการใช้อำนาจของภาครัฐบาล (Government Sector) หรืออาจเรียกว่า ทฤษฎีแก้ ของปัญหา การทับซ้อนของผลประโยชน์ (Conflict of Interest) นั่นเอง
๓.อำนาจอ่อน (Soft Power) นวัตกรรมอำนาจของภาคการตลาดในยุคโลกาภิวัฒน์
จากข้อเสนอแนะของภาคส่วนต่างๆทำให้เกิดนิมิตหมายที่ดีที่สังคมไทยได้เริ่มตระหนักรู้ถึง อำนาจทุนของภาคการตลาด(Marget Sector) ที่เข้ามาแย่งยึด อำนาจรัฐบาลของภาครัฐบาล(Government Sector) จนก่อความเสียหายอย่างมหาศาลให้กับประเทศชาติ สิ่งเหล่านี้ผู้เขียนอยากที่จะขยายภาพของภาคการตลาดให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ให้รู้ไส้สนกลในของภาคการตลาดอย่างสั้นๆในเวลาการอ่านอันรวดเร็ว เพื่อสังคมไทยจะได้เข้าใจพัฒนาการ โครงรสร้าง เครื่องมือของภาคการตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการำรงอยู่ของ อำนาจชนิดใหม่ ที่มีนอกเหนือไปจากอำนาจของภาครัฐบาล(Government Power) และ อำนาจ “ทุน” (Capital Power) อันได้แก่ อำนาจอ่อน หรือ Soft Power นั่นเอง
ในยุคโลกาภิวัตน์ ถือเป็นยุคสังคมแห่งข้อมูลข่าวสาร หรือ สังคมทั่วไปรับรู้ในนามของ ยุคทองของเศรษฐกิจแห่งคลื่นลูกที่ ๓ ที่มี นายทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวขบวน คลื่นลูก ๓ เป็นคลื่นที่เกิดตามมาหลังจาก คลื่นลูก ๒ คือ เศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรมและการส่งออก และคลื่นลูกที่ ๑ คือ เศรษฐกิจแบบเกษตรกรรม การเกิดขึ้นของคลื่นทางเศรษฐกิจได้ทำให้กระบวนการผลิตสินค้า พัฒนาจาก สินค้าเกษตร ไปสู่สินค้าอุตสาหกรรม ซึ่ง Benjamin R. Barber เรียกผลิตผลทางเศรษฐกิจเหล่านี้ว่าเป็น สินค้าแข็ง (Hard Good) ที่เป็นฐานในการสะสมอำนาจทุน(Capital Power) และ อำนาจของภาครัฐบาล(Government Power) ซึ่งถือเป็น อำนาจแข็ง (Hard Power)
“สินค้าแข็ง” หรือ “อำนาจแข็ง” หมายความว่า สินค้า หรือ อำนาจเหล่านั้นเป็นสิ่งที่สังเกต แลเห็น รับรู้สัมผัสด้วยความรู้สึกได้ง่าย ในส่วนของอำนาจนั้น รวมถึงอำนาจทางการทหาร อำนาจของระบบราชการ อำนาจเงินตราด้วย ซึ่ง “สินค้าแข็ง” หรือ “อำนาจแข็ง” เหล่านี้หากนำไปใช้ในทางที่ไม่ดีต่อสังคม ภาคการตลาด (Marget Secor) และภาครัฐบาล (Government Sector) ก็จะถูกกระบวนการจาก ภาคพลเรือน (Civil Sector) ต่อต้านในรูปแบบต่างๆทั้งการชุมนุมประท้วง การบอยคอตสินค้า การต่อต้านอำนาจด้วยวิธารรุนแรงจนถึงขั้นนองเลือด ทั้งนี้เนื่องจาก ภาคพลเรือน เป็นภาคผู้รับผลจาก “กระบวนการผลิต” และ “กระบวนการใช้อำนาจ” นั่นเอง
สำหรับในระบบเศรษฐกิจแบบโลกาภิวัตน์นั้น บทบาทของเศรษฐกิจแบบเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม ได้ถูกลดทอนลงไป พร้อมๆกับการมีอิทธิพลของ เศรษฐกิจในภาคบริการ ซึ่งถือเป็น สาระสำคัญ และวิธีการของ ภาคการตลาดในยุคโลกาภิวัตน์ โดยในส่วนของภาคบริการนั้น เราอาจแบ่งภาคบริการได้สามประเภท ดังนี้
(๑) ภาคบริการแบบดั้งเดิม ประกอบไปด้วยผู้ให้บริการประชาชนโดยตรงแบบดั้งเดิม เช่น การขนส่ง การรักษาโรค คนรับใช้ เจ้าของโรงแรมและผู้ช่วย นักบิน เป็นต้น
(๒) ภาคบริการแบบให้ความสะดวกกับระบบ ประกอบไปด้วยผู้ให้บริการในระบบต่างๆทั้งระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคม อาทิ นักกฎหมาย นักบัญชี นักเศรษฐศาสตร์ นายธนาคาร ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายละการวางแผน เป็นต้น
(๓) ภาคบริการโทรสาระบันเทิง (Infotainment Telesector) ผู้ที่สร้าง สื่อ สัญลักษณ์ การสร้างคำ การสร้างภาพลักษณ์ การสร้างความรู้สึก ลงในข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร การบันเทิง เช่น นักโฆษณา นักประชาสัมพันธ์ นักเขียน ปัญญาชน ครู นักเทศน์ นักการเมือง ซึ่งมีภาคนี้มีหน้าที่สำคัญในการ ถอดรื้อ จิตวิญญาณของสังคมและประชาชน และ ประกอบ จิตวิญญาณนั้นใหม่เพื่อบังคับบัญชาสังคมไปในทิศทางที่ตนเองต้องการ
จากพัฒนาการของ ภาคการตลาดและบริบทการเมืองไทยในช่วงที่ผ่านมา จะพบว่า พรรคไทยรักไทย นอกจากจะใช้อำนาจทุน(Capital Power) และ อำนาจของภาครัฐบาล(Government Power)ในการล้างผลาญประเทศชาติแล้ว พรรคไทยรักไทยที่มีหัวหน้าพรรคและที่ปรึกษาหลายคนที่มีความช่ำชองในเศรษฐกิจสมัยใหม่ ได้ใช้อำนาจชนิดใหม่ที่มีที่มาจากภาคบริการโทรสาระบันเทิง (Infotainment Telesector) มาใช้ในการคอบครอง ภาครัฐบาล และภาคพลเรือน ผ่านกระบวนการการสร้างภาพลักษณ์ สร้างความรู้สึก ถอดรื้อ ทำลาย จิตวิญญาณทางสังคมเดิม และประกอบใหม่ในทิศทางที่พรรคไทยรักไทยต้องการ ซึ่งอำนาจเหล่านี้ เป็นอำนาจที่สังเกตและตรวจสอบได้ยาก เพราะอำนาจเหล่านี้มาในรูปแบบที่อ่อนน้อมและสวยงาม แต่เป็นอำนาจที่กินลึกลงไปถึงจิตใจคน ซึ่งอาจเรียกว่าเป็น อำนาจอ่อน หรือ Soft Power ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการใช้อำนาจเหนือ “จิตวิญญาณของภาคพลเรือนรากแก้ว”
อำนาจอ่อน หรือ Soft Power คือ อำนาจใหม่ที่สังคมไทยต้องเรียนรู้นอกเหนือไปจาก อำนาจแข็ง ที่เราคุ้นเคยกันดี ซึ่งหากมองในแง่ของ ศาสตร์ อำนาจอ่อนคือ ศาสตร์แห่งสื่อ (Mediology) ที่สะกดประเทศ สะกดจิตสำนึกของประชาชน โดยใช้เครื่องมือทั้งการสร้างนิยาย สร้างภาพฝัน สร้างภาพลักษณ์ การโจมตีทางจิตใจ เพื่อเปลี่ยนภาคพลเรือน ที่ชอบออกต่อต้าน กับ อำนาจแข็ง ไปเป็น ผู้สยบยอม กระทั่งกลายเป็นเพียง “ผู้บริโภคความจริงเสมือน” ที่ถูกร่ายมนต์โดยโทรสาระบันเทิง (Infotainment Telesector)
หากจะกล่าวให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น จะเห็นได้ว่าในช่วงหลายปีที่ผ่าน ได้เกิดกระบวนการโทรสาระบันเทิง (Infotainment Telesector) หรือ กระบวนการใช้ อำนาจอ่อน หรือ Soft Power แทบจะทุกวัน ผ่านรายการโทรทัศน์ การโฆษณาโครงการของรัฐบาลโดยใช้งบของหน่วยงานราชการ การจัดงานบันเทิงการเมืองในพื้นที่ต่างๆ การจัดรายการวิทยุซึ่งส่งผ่านหอกระจายข่าวหมู่บ้าน กระทั่งการสร้างภาพยนตร์ เรื่อง ตาดูดาว เท้าติดดิน ที่ลาโรงไปแล้ว สิ่งเหล่านี้ คือ สิ่งที่ พรรคไทยรักไทย ได้ใช้เครื่องมือทั้งหมดของ ภาคบริการโทรสาระบันเทิง เพื่อเสริมสร้างฐานอำนาจของตนเอง นอกเหนือไปจาก อำนาจทุน(Capital Power) และ อำนาจของภาครัฐบาล(Government Power)
การดำรงอยู่ของ อำนาจอ่อน (Soft Power) ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกับอำนาจข้อมูลข่าวสาร(Information Power) อันสามานย์ คือ สิ่งที่สังคมไทยต้องรู้เท่าทัน เพื่อการปฏิรูปการเมือง จะได้เดินไปในทิศทางที่ถูกต้อง และถือเป็น ส่วนต่อขยายเพิ่มเติม จากมาตรการแยกสลายอำนาจ “ทุน” (Capital Power) ออกจาก อำนาจของภาครัฐบาล(Goverment Power) ซึ่งเป็นโจทย์สำคัญที่ผู้เขียนคิดว่า นักวิชาการ นักการเมือง และภาคส่วนต่างๆ หลายท่านกำลังขบคิดกันอยู่
๔.การควบคุมตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจข้อมูลข่าวสาร (Information Power)
ในบรรดาข้อเสนอเกี่ยวกับการปฏิรูปการเมือง ข้อเสนอที่ผู้เขียนเห็นว่าเป็นข้อเสนอที่ตรงเป้าตรงประเด็นที่สุด คือ ข้อเสนอของคุณสุภิญญา กลางณรงค์ ที่เสนอให้มีการปฏิรูปสื่อ ซึ่งเธอได้ให้มุมมองของการปฏิรูปทั้งในแง่ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ไว้อย่างน่าสนใจ ซึ่งการปฏิรูปสื่อ แท้จริง ก็คือ การปฏิรูปอำนาจข้อมูลข่าวสาร หรือ อำนาจอ่อน นั่นเองดังนั้น ข้อเสนอในการปฏิรูปสื่อ จึงควรเข้ามาผูกโยงสัมพันธ์กับ การปฏิรูปการใช้สื่อของ ภาคการตลาด และภาคการเมือง ที่ต้องมีการควบคุม ตรวจสอบ ถ่วงดุล (Check and Balance) ซึ่งในที่นี้ผู้เขียนเห็นว่า นักวิชาการสาขากฎหมายรัฐธรรมนูญและรัฐศาสตร์ ควรจะมีการยกระดับมุมมองหลักการแบ่งแยกอำนาจ ของ มองเตสกิเยอร์ ที่มีหัวใจ คือ ตรวจสอบถ่วงดุล ว่าหมายถึง การแบ่งแยกอำนาจในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การตรวจสอบถ่วงดุลในทางข้อมูลข่าวสาร และการมีระบบตรวจสอบการใช้ข้อมูลข่าวสารทางการเมือง
ด้วยเหตุนี้ ข้อเสนอประการสำคัญ ของผู้เขียน ที่เป็นมาตรการที่เป็นรูปธรรมในการปฏิรูปอำนาจทางการเมือง จึงมีดังนี้
๑.การจัดให้มีมาตรการควบคุมการเสนอข่าวสารของพรรคการเมือง
๒.การจัดให้มีมาตรการควบคุมการเสนอข่าวสารโครงการของส่วนราชการที่มีลักษณะส่อไปในทางเอื้อประโยชน์แก่พรรคการเมืองอย่างไม่เป็นธรรม
๓. การจัดให้มีการตรวจสอบถ่วงดุลโดยการให้พรรคฝ่ายค้าน และภาคพลเรือนสามารถใช้สื่อเพื่อตรวจสอบภาครัฐบาล
๔.การควบคุมการใช้งบโฆษณาประชาสัมพันธ์ของพรรคการเมือง รัฐบาล และหน่วยงานราชการ
๕.การจัดให้มี องค์กรสื่ออิสระ ของภาคพลเรือน ที่ปราศจากการแทรกแซง ของอำนาจรัฐบาล และ อำนาจทุนของภาคการตลาด
๖.การจัดให้ องค์กรตุลาการ มีเขตอำนาจในการพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อของภาคการเมืองและภาคการตลาดโดยไม่เป็นธรรม
ข้อเสนอดังกล่าว ดูเป็นข้อเสนอที่คิดนอกกรอบ แต่หากพิจารณากรอบทางประวัติศาสตร์ของมวลมนุษย์ในความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้มีอำนาจกับพลเรือนจะพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างนายทาส กับทาส เป็นเพียงอำนาจเหนือทางร่างกาย ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าศักดินากับพลเรือน เป็นเพียงอำนาจเหนือที่ดิน ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับพลเรือนเป็นเพียงอำนาจทางการเมืองเหนือสิทธิและเสรีภาพภายใต้กรอบของประโยชน์สาธารณะ ความสัมพันธ์ระหว่างทุนนิยมกับพลเรือน เป็นเพียง อำนาจทุน เงินตรา ทีมีเหนือทรัพยากรของพลเรือน
แต่ความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้กุมอำนาจข้อมูลข่าวสาร กับภาคพลเรือน คือ อำนาจเหนือจิตใจ ที่พร้อมร่ายมนต์ ให้พลเรือน ยอมละทิ้ง ซึ่ง ทรัพยากร สิทธิและเสรีภาพที่ชอบธรรม ที่ดิน กระทั่ง การยอมตนลงเป็น ทาส ของภาคการตลาดสามานย์ ที่ใช้อำนาจทุนแย่งยึดอำนาจจากภาคการเมือง และใช้อำนาจของข้อมูลข่าวสาร หรือ อำนาจอ่อน (Soft Power) อันชั่วร้าย แย่งยึดหัวใจคนไทยเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง
ศาสตรา โตอ่อน
นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
เครือข่ายสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง
สังคมการเมืองในยุคโลกาภิวัตน์ เป็นสังคมที่มีความสัมพันธ์ของภาคส่วนทางสังคมอย่างน้อยที่สุด ๓ ภาคส่วน คือ ภาครัฐบาล (Government Sector) ภาคพลเรือน (Civil Sector) และ ภาคการตลาด (Market Sector) ในบทความ เรื่องการปฏิรูปการเมืองในยุคโลกิวัฒน์ : บริบทที่แตกต่างจากการปฏิรูปการเมืองครั้งที่ ๑ ผู้เขียนได้แสดงให้เห็นแล้วถึงปัญหาการเมืองไทยว่ามีที่มาจาก การที่ภาคการตลาดได้ใช้บรรดาเครื่องมือทั้ง ทุน เงินตรา และ ข้อมูลข่าวสาร เข้าควบรวม ภาครัฐบาล และภาคพลเรือน ให้อยู่ภายใต้อาณัติของตน ระบอบทักษิณ จึงเป็นระบอบที่รวบรวมคุณลักษณะของ ภาคการตลาด ภาครัฐบาล และภาคพลเรือนไว้เป็นหนึ่งเดียว
เมื่อสังเกตความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เพิ่งเกิดขึ้นทั้งก่อนและหลังการรัฐประหาร จนสามารถขับไล่ “ระบอบทักษิณ” ไปได้ในระดับหนึ่ง แท้จริงแล้วความสำเร็จเล็กๆที่เกิดขึ้นมีที่มาจากการใช้ เครื่องมือทางสังคมดั้งเดิม คือ การรัฐประหาร และ การใช้ข้อมูลข่าวสารทีวีผ่านดาวเทียม เผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอรัปชั่นของระบอบทักษิณ อย่างต่อเนื่องซึ่งประสบความสำเร็จเฉพาะในเมืองหลวงและเขตเมืองในต่างจังหวัด
จากลักษณะของสังคมโลกาภิวัฒน์ และบทเรียนทางการเมืองที่ผ่านมา ผู้เขียนได้ถอดบทเรียนสำคัญ ของเหตุการณ์ทั้งที่เกิดขึ้นก่อนและหลังเหตุการณ์ ๑๙ กันยายน ว่าเป็นการต่อสู้กันของอำนาจจำนวนสามคู่ สำคัญ
คู่แรก คือการต่อสู้กันของ อำนาจภาครัฐบาล(Government Power) กันเอง ระหว่าง อำนาจของรัฐบาลรักษาการณ์ใน “ระบอบทักษิณ” กับอำนาจทางการทหารของคณะปฏิรูปฯ ซึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย การต่อสู้ของอำนาจคู่นี้เกิดขึ้นเป็นประจำอยู่แล้ว
คู่ที่สอง คือ การต่อสู้กันระหว่าง อำนาจภาครัฐบาล(Government Power) ของคณะปฏิรูปฯ กับอำนาจ “ทุน” (Capital Power) ของ “ระบอบทักษิณ”
และคู่ที่สาม คือ การต่อสู้กัน ระหว่าง อำนาจข้อมูลข่าวสาร (Information Power) ของระบอบทักษิณ กับ อำนาจของพลเรือนแห่งการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร คือ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่มี นายสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นผู้กุม อำนาจข้อมูลข่าวสาร (Information Power)
จากการต่อสู้กันของอำนาจทั้งสามคู่ เราจะพบว่า ในบรรดาอำนาจและเครื่องมือที่ฝากฝ่ายต่างๆใช้ นั้น สามารถแบ่งอำนาจออกได้เป็นสามประเภท คือ อำนาจของภาครัฐบาล(Government Power) อำนาจ “ทุน” (Capital Power) ของภาคการตลาด และ อำนาจข้อมูลข่าวสาร(Information Power) ของภาคการตลาดและภาคพลเรือน อำนาจทั้งสามคือเหตุปัจจัยในสร้างจุดพลิกผัน จนสังคมไทยเดินมาถึงวาระของการปฏิรูปการเมืองตามกลไกและกระบวนการที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๙ (ฉบับชั่วคราว) ในที่สุด
ดังนั้น การเพ่งพินิจถึงความดำรงอยู่ของอำนาจทั้งสาม จึงเป็นบริบทพื้นฐานที่สังคมพึงตั้งสติก่อนที่จะมีการปฏิรูปการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปฏิรูปอำนาจทางการเมืองที่ได้สร้างความเสียหายอย่างมหาศาลให้เกิดขึ้นกับสังคมไทย
๑.อำนาจและสถาบันการเมืองในระบอบการปกครองแบบรัฐสภา
เมื่อกล่าวถึงการปฏิรูปการเมือง สิ่งที่นักวิชาการโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักวิชาการด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์จะต้องหยิบยกขึ้นมาพิจารณาเป็นลำดับแรก คือ ข้อความคิดว่าด้วยอำนาจและสถาบันทางการเมือง เหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราะ รัฐธรรมนูญ คือ บทบัญญัติของกฎหมาย ที่มีภารกิจสำคัญ ในการวางระบอบการปกครอง จัดวางตำแหน่งแห่งที่ของอำนาจ และสร้างระบบตรวจสอบถ่วงดุลกันระหว่างอำนาจต่างๆ ทั้งหมด คือ กรอบแนวความคิดแบบ Classic ที่นักวิชาการส่วนใหญ่ใช้เป็นจุดตั้งต้นในการพิจารณาถึงการปฏิรูปการเมืองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอำนาจและสถาบันทางการเมือง
สำหรับประเทศไทย นั้น เป็นประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แบบรัฐสภา ซึ่งแบ่งแยกอำนาจและสถาบันทางการเมือง ออกเป็นสามส่วน คือ อำนาจนิติบัญญัติ ที่ใช้โดยรัฐสภา อำนาจบริหารที่ใช้โดยคณะรัฐมนตรีและระบบราชการ อำนาจตุลาการที่ใช้โดยศาล โดยทั้งสามอำนาจมีระบบตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันละกัน อำนาจนิติบัญญัติสามารถตรวจสอบอำนาจบริหารโดยการตั้งกระทู้ถาม และอภิปรายไม่ไว้วางใจ อำนาจบริหารตรวจสอบอำนาจนิติบัญญัติโดยการยุบสภา ในขณะที่อำนาจตุลาการมีหน้าที่ตรวจสอบการกระทำของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารให้เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายตามที่ตนมีเขตอำนาจ นอกจากนี้ผลจากการปฏิรูปการเมืองครั้งที่ ๑ ได้ทำเกิดระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยองค์กรอิสระขึ้นมากมายหลายองค์กร โดยอำนาจทางการเมืองและสถาบันทางการเมืองมีจุดเกาะเกี่ยวกับ พรรคการเมือง ระบบการเลือกตั้ง และการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ทั้งหมดคือลักษณะโดยทั่วไป ของ อำนาจและสถาบันการเมืองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ของประเทศไทย
ด้วยเหตุนี้เมื่อเกิดปัญหาวิกฤตประเทศจนนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองครั้งที่ ๒ ผู้เขียนมีความเชื่อว่า ประเด็นในการพิจารณาเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะต้องวางฐานคิดโดยคำนึงถึง อำนาจและสถาบันการเมือง ตามตำรากฎหมายรัฐธรรมนูญแบบ Classic อย่างแน่นอน ซึ่งผู้เขียนมีความเห็นว่า การตั้งฐานคิด จาก มุมมองดังกล่าว ยังไม่เพียงพอที่จะช่วยแก้ปัญหาและปฏิรูปอำนาจและสถาบันการเมืองในระบอบรัฐสภาได้ และสมมุติฐานดังกล่าวจะเป็นจริงหรือไม่ สามารถตรวจสอบได้จากแนวความคิดเกี่ยวกับการปฏิรูปอำนาจเพื่อการแก้ไข รัฐธรรมนูญ ฯ 2540 ซึ่งเคยมีผู้ให้ความเห็นไว้มากมายหลายประเด็น
๒.แนวความคิดของภาคส่วนต่างๆเกี่ยวกับการปฏิรูปอำนาจเพื่อการแก้ไข รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
เมื่อพิเคราะห์บริบททางการเมืองภายในภาคอำนาจของรัฐบาล จะพบว่า ผลของการควบรวมภาคการตลาดเข้ากับภาครัฐบาล ประกอบกับมาตรการของรัฐธรรมนูญฯ ๒๕๔๐ ในการสร้าง Strong Prime Minister และการแทรกแซงองค์กรอิสระด้วยอำนาจ “ทุน” ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อภาคส่วนย่อยๆภายในภาครัฐบาล(Government Sector) ทั้งผลกระทบต่อ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายค้านที่ไม่สามารถทำการตรวจสอบรัฐบาลได้ ผลกระทบต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในฝ่ายรัฐบาลที่ไม่มีความเป็นอิสระ ผลกระทบต่อการทำงานตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐขององค์กรอิสระที่ทำให้เกิดคำถามจากสังคมในมากมายหลายกรณี แรงกดดันเหล่านี้ได้ผันแปรความคิดของบุคคลที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในภาคส่วนต่างๆจนกลายเป็นข้อเสนอแนะที่ส่วนใหญ่มุ่งผลทำให้อำนาจของฝ่ายบริหารอ่อนตัวลง และเสริมความแข็งแกร่งของภาคการตรวจสอบ
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาผู้เขียนได้ทำการรวบรวมข้อเสนอแนะในการปฏิรูปทางการเมืองในส่วนที่เกี่ยวข้องอำนาจทางการเมืองไว้มากมายหลายถึง ๕๐ ประเด็น ซึ่งโดยสรุป สามารถแบ่งแยกประเด็นที่มีนักวิชาการเสนอไว้สามประเด็นหลัก คือ
๒.๑ประเด็นเกี่ยวกับการเข้าสู่อำนาจทางการเมืองในภาครัฐบาล ซึ่งครอบคลุมถึงระบบการเข้าสู่อำนาจที่มีความเกี่ยวพันขององค์ประกอบสามประการ คือ ทั้งในส่วนของ พรรคการเมือง ระบบการเลือกตั้ง และการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองได้มีข้อเสนอสำคัญ เช่น การขจัดคุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ส.ที่ต้องสังกัดพรรคภายใน ๙๐ วันก่อนวันเลือกตั้ง เพื่อทำให้ ส.ส.มีอิสระมากขึ้น และอำนาจของพรรคการเมืองอ่อนตัวลง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งมีข้อเสนอสำคัญ คือ การเสนอให้มีศาลเลือกตั้ง เพื่อทำให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรม ปลดแอกผลการเลือกตั้งออกจากอำนาจทุนและอำนาจรัฐบาลที่มีความเข้มแข็งเกินไป และในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระก็มีข้อเสนอสำคัญ คือ ให้ตัดองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระที่มีที่มาจากพรรคการเมืองออก เพื่อป้องกันมิให้พรรคการเมืองเข้าไปแทรกแซงองค์กรอิสระและกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
๒.๒ประเด็นเกี่ยวกับกระบวนการใช้อำนาจอธิปไตย โดยฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ ตลอดจนระบบการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจระหว่าง คณะรัฐมนตรีและรัฐสภา
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการใช้อำนาจอธิปไตย ได้มีข้อเสนอสำคัญ เช่น การลดบทบาทของพรรคการเมืองในวุฒิสภา การห้ามถือสัมปทานของรัฐและการถือหุ้นของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองควรขยายไปถึงภรรยาและบุตรทั่งไม่บรรลุนิติภาวะด้วย การจัดให้มีองค์กรพิจารณาชี้ขาดในกรณีที่ฝ่ายรัฐบาลกระทำการละเมิดบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ การจัดโครงสร้างและวิธีพิจารณาความของศาลรัฐธรรมนูญให้มีความเหมาะสม
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบถ่วงดุล ได้มีข้อเสนอสำคัญ เช่น การขจัดคุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ส.ที่ต้องสังกัดพรรคภายใน ๙๐ วันก่อนวันเลือกตั้ง เพื่อทำให้ ส.ส.มีอิสระมากขึ้นในการตรวจสอบคณะรัฐมนตรี การลดจำนวนเสียงการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีจากสองในห้าเหลือหนึ่งในห้า เพื่อให้การตรวจสอบนายกรัฐมนตรีทำได้ง่ายขึ้น
๒.๓ ประเด็นเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ได้มีข้อเสนอสำคัญ ในการลดการแทรกแซงทางการเมืองในการสรรหากรรมการองค์กรอิสระ การกำหนดตำแหน่งที่ต้องยื่นบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อ ป.ป.ช.เพิ่มเติม การกำหนดให้การยื่นถอดถอนนักการเมืองทำได้ง่ายขึ้น การกำหนดให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติสามารถยื่นเรื่องให้ศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญพิจารณากรณีการละเมิดสิทธิและเสรีภาพได้
เมื่อพิจารณา ข้อเสนอแนะในประเด็นหลักทั้งสามประเด็น จะพบว่าข้อเสนอต่างๆเป็นความพยายามในการแก้ไขปัญหาไปที่ตัว “องค์กรผู้อำนาจ” “ระบบการตรวจสอบถ่วงดุลภายระหว่างองค์กรผู้ใช้อำนาจ” และ “ระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ” เพื่อลดความเข้มแข็งของ นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี สร้างเสริมระบบการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างองค์กรผู้ใช้อำนาจ และ ลดอิทธิพลของพรรคการเมืองในองค์กรอิสระเพื่อเสริมสร้างการตรวจสอบ ซึ่งข้อเสนอโดยส่วนใหญ่ ถือเป็นข้อเสนอที่ยืนอยู่บนฐานการจัดการอำนาจ ตามกรอบแนวความคิดแบบ Classic ผสมผสานกับความพยายามในการกำจัดอำนาจของ “ทุนใหญ่” หรือ “ทุนโลกาภิวัตน์” ออกจากอำนาจของภาครัฐบาล
โดยสรุป ข้อเสนอของนักวิชาการ นักการเมือง ภาคส่วนต่างๆ และประชาชน คือ ความพยายามในการปฏิรูปการเมือง บนพื้นฐานของแนวความคิดในทฤษฎีทางรัฐธรรมนูญ พร้อมๆไปกับความพยายามในการขจัด ลดทอน ควบคุม ภาคการตลาด (Marget Sector) จากการใช้อำนาจของภาครัฐบาล (Government Sector) หรืออาจเรียกว่า ทฤษฎีแก้ ของปัญหา การทับซ้อนของผลประโยชน์ (Conflict of Interest) นั่นเอง
๓.อำนาจอ่อน (Soft Power) นวัตกรรมอำนาจของภาคการตลาดในยุคโลกาภิวัฒน์
จากข้อเสนอแนะของภาคส่วนต่างๆทำให้เกิดนิมิตหมายที่ดีที่สังคมไทยได้เริ่มตระหนักรู้ถึง อำนาจทุนของภาคการตลาด(Marget Sector) ที่เข้ามาแย่งยึด อำนาจรัฐบาลของภาครัฐบาล(Government Sector) จนก่อความเสียหายอย่างมหาศาลให้กับประเทศชาติ สิ่งเหล่านี้ผู้เขียนอยากที่จะขยายภาพของภาคการตลาดให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ให้รู้ไส้สนกลในของภาคการตลาดอย่างสั้นๆในเวลาการอ่านอันรวดเร็ว เพื่อสังคมไทยจะได้เข้าใจพัฒนาการ โครงรสร้าง เครื่องมือของภาคการตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการำรงอยู่ของ อำนาจชนิดใหม่ ที่มีนอกเหนือไปจากอำนาจของภาครัฐบาล(Government Power) และ อำนาจ “ทุน” (Capital Power) อันได้แก่ อำนาจอ่อน หรือ Soft Power นั่นเอง
ในยุคโลกาภิวัตน์ ถือเป็นยุคสังคมแห่งข้อมูลข่าวสาร หรือ สังคมทั่วไปรับรู้ในนามของ ยุคทองของเศรษฐกิจแห่งคลื่นลูกที่ ๓ ที่มี นายทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวขบวน คลื่นลูก ๓ เป็นคลื่นที่เกิดตามมาหลังจาก คลื่นลูก ๒ คือ เศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรมและการส่งออก และคลื่นลูกที่ ๑ คือ เศรษฐกิจแบบเกษตรกรรม การเกิดขึ้นของคลื่นทางเศรษฐกิจได้ทำให้กระบวนการผลิตสินค้า พัฒนาจาก สินค้าเกษตร ไปสู่สินค้าอุตสาหกรรม ซึ่ง Benjamin R. Barber เรียกผลิตผลทางเศรษฐกิจเหล่านี้ว่าเป็น สินค้าแข็ง (Hard Good) ที่เป็นฐานในการสะสมอำนาจทุน(Capital Power) และ อำนาจของภาครัฐบาล(Government Power) ซึ่งถือเป็น อำนาจแข็ง (Hard Power)
“สินค้าแข็ง” หรือ “อำนาจแข็ง” หมายความว่า สินค้า หรือ อำนาจเหล่านั้นเป็นสิ่งที่สังเกต แลเห็น รับรู้สัมผัสด้วยความรู้สึกได้ง่าย ในส่วนของอำนาจนั้น รวมถึงอำนาจทางการทหาร อำนาจของระบบราชการ อำนาจเงินตราด้วย ซึ่ง “สินค้าแข็ง” หรือ “อำนาจแข็ง” เหล่านี้หากนำไปใช้ในทางที่ไม่ดีต่อสังคม ภาคการตลาด (Marget Secor) และภาครัฐบาล (Government Sector) ก็จะถูกกระบวนการจาก ภาคพลเรือน (Civil Sector) ต่อต้านในรูปแบบต่างๆทั้งการชุมนุมประท้วง การบอยคอตสินค้า การต่อต้านอำนาจด้วยวิธารรุนแรงจนถึงขั้นนองเลือด ทั้งนี้เนื่องจาก ภาคพลเรือน เป็นภาคผู้รับผลจาก “กระบวนการผลิต” และ “กระบวนการใช้อำนาจ” นั่นเอง
สำหรับในระบบเศรษฐกิจแบบโลกาภิวัตน์นั้น บทบาทของเศรษฐกิจแบบเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม ได้ถูกลดทอนลงไป พร้อมๆกับการมีอิทธิพลของ เศรษฐกิจในภาคบริการ ซึ่งถือเป็น สาระสำคัญ และวิธีการของ ภาคการตลาดในยุคโลกาภิวัตน์ โดยในส่วนของภาคบริการนั้น เราอาจแบ่งภาคบริการได้สามประเภท ดังนี้
(๑) ภาคบริการแบบดั้งเดิม ประกอบไปด้วยผู้ให้บริการประชาชนโดยตรงแบบดั้งเดิม เช่น การขนส่ง การรักษาโรค คนรับใช้ เจ้าของโรงแรมและผู้ช่วย นักบิน เป็นต้น
(๒) ภาคบริการแบบให้ความสะดวกกับระบบ ประกอบไปด้วยผู้ให้บริการในระบบต่างๆทั้งระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคม อาทิ นักกฎหมาย นักบัญชี นักเศรษฐศาสตร์ นายธนาคาร ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายละการวางแผน เป็นต้น
(๓) ภาคบริการโทรสาระบันเทิง (Infotainment Telesector) ผู้ที่สร้าง สื่อ สัญลักษณ์ การสร้างคำ การสร้างภาพลักษณ์ การสร้างความรู้สึก ลงในข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร การบันเทิง เช่น นักโฆษณา นักประชาสัมพันธ์ นักเขียน ปัญญาชน ครู นักเทศน์ นักการเมือง ซึ่งมีภาคนี้มีหน้าที่สำคัญในการ ถอดรื้อ จิตวิญญาณของสังคมและประชาชน และ ประกอบ จิตวิญญาณนั้นใหม่เพื่อบังคับบัญชาสังคมไปในทิศทางที่ตนเองต้องการ
จากพัฒนาการของ ภาคการตลาดและบริบทการเมืองไทยในช่วงที่ผ่านมา จะพบว่า พรรคไทยรักไทย นอกจากจะใช้อำนาจทุน(Capital Power) และ อำนาจของภาครัฐบาล(Government Power)ในการล้างผลาญประเทศชาติแล้ว พรรคไทยรักไทยที่มีหัวหน้าพรรคและที่ปรึกษาหลายคนที่มีความช่ำชองในเศรษฐกิจสมัยใหม่ ได้ใช้อำนาจชนิดใหม่ที่มีที่มาจากภาคบริการโทรสาระบันเทิง (Infotainment Telesector) มาใช้ในการคอบครอง ภาครัฐบาล และภาคพลเรือน ผ่านกระบวนการการสร้างภาพลักษณ์ สร้างความรู้สึก ถอดรื้อ ทำลาย จิตวิญญาณทางสังคมเดิม และประกอบใหม่ในทิศทางที่พรรคไทยรักไทยต้องการ ซึ่งอำนาจเหล่านี้ เป็นอำนาจที่สังเกตและตรวจสอบได้ยาก เพราะอำนาจเหล่านี้มาในรูปแบบที่อ่อนน้อมและสวยงาม แต่เป็นอำนาจที่กินลึกลงไปถึงจิตใจคน ซึ่งอาจเรียกว่าเป็น อำนาจอ่อน หรือ Soft Power ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการใช้อำนาจเหนือ “จิตวิญญาณของภาคพลเรือนรากแก้ว”
อำนาจอ่อน หรือ Soft Power คือ อำนาจใหม่ที่สังคมไทยต้องเรียนรู้นอกเหนือไปจาก อำนาจแข็ง ที่เราคุ้นเคยกันดี ซึ่งหากมองในแง่ของ ศาสตร์ อำนาจอ่อนคือ ศาสตร์แห่งสื่อ (Mediology) ที่สะกดประเทศ สะกดจิตสำนึกของประชาชน โดยใช้เครื่องมือทั้งการสร้างนิยาย สร้างภาพฝัน สร้างภาพลักษณ์ การโจมตีทางจิตใจ เพื่อเปลี่ยนภาคพลเรือน ที่ชอบออกต่อต้าน กับ อำนาจแข็ง ไปเป็น ผู้สยบยอม กระทั่งกลายเป็นเพียง “ผู้บริโภคความจริงเสมือน” ที่ถูกร่ายมนต์โดยโทรสาระบันเทิง (Infotainment Telesector)
หากจะกล่าวให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น จะเห็นได้ว่าในช่วงหลายปีที่ผ่าน ได้เกิดกระบวนการโทรสาระบันเทิง (Infotainment Telesector) หรือ กระบวนการใช้ อำนาจอ่อน หรือ Soft Power แทบจะทุกวัน ผ่านรายการโทรทัศน์ การโฆษณาโครงการของรัฐบาลโดยใช้งบของหน่วยงานราชการ การจัดงานบันเทิงการเมืองในพื้นที่ต่างๆ การจัดรายการวิทยุซึ่งส่งผ่านหอกระจายข่าวหมู่บ้าน กระทั่งการสร้างภาพยนตร์ เรื่อง ตาดูดาว เท้าติดดิน ที่ลาโรงไปแล้ว สิ่งเหล่านี้ คือ สิ่งที่ พรรคไทยรักไทย ได้ใช้เครื่องมือทั้งหมดของ ภาคบริการโทรสาระบันเทิง เพื่อเสริมสร้างฐานอำนาจของตนเอง นอกเหนือไปจาก อำนาจทุน(Capital Power) และ อำนาจของภาครัฐบาล(Government Power)
การดำรงอยู่ของ อำนาจอ่อน (Soft Power) ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกับอำนาจข้อมูลข่าวสาร(Information Power) อันสามานย์ คือ สิ่งที่สังคมไทยต้องรู้เท่าทัน เพื่อการปฏิรูปการเมือง จะได้เดินไปในทิศทางที่ถูกต้อง และถือเป็น ส่วนต่อขยายเพิ่มเติม จากมาตรการแยกสลายอำนาจ “ทุน” (Capital Power) ออกจาก อำนาจของภาครัฐบาล(Goverment Power) ซึ่งเป็นโจทย์สำคัญที่ผู้เขียนคิดว่า นักวิชาการ นักการเมือง และภาคส่วนต่างๆ หลายท่านกำลังขบคิดกันอยู่
๔.การควบคุมตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจข้อมูลข่าวสาร (Information Power)
ในบรรดาข้อเสนอเกี่ยวกับการปฏิรูปการเมือง ข้อเสนอที่ผู้เขียนเห็นว่าเป็นข้อเสนอที่ตรงเป้าตรงประเด็นที่สุด คือ ข้อเสนอของคุณสุภิญญา กลางณรงค์ ที่เสนอให้มีการปฏิรูปสื่อ ซึ่งเธอได้ให้มุมมองของการปฏิรูปทั้งในแง่ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ไว้อย่างน่าสนใจ ซึ่งการปฏิรูปสื่อ แท้จริง ก็คือ การปฏิรูปอำนาจข้อมูลข่าวสาร หรือ อำนาจอ่อน นั่นเองดังนั้น ข้อเสนอในการปฏิรูปสื่อ จึงควรเข้ามาผูกโยงสัมพันธ์กับ การปฏิรูปการใช้สื่อของ ภาคการตลาด และภาคการเมือง ที่ต้องมีการควบคุม ตรวจสอบ ถ่วงดุล (Check and Balance) ซึ่งในที่นี้ผู้เขียนเห็นว่า นักวิชาการสาขากฎหมายรัฐธรรมนูญและรัฐศาสตร์ ควรจะมีการยกระดับมุมมองหลักการแบ่งแยกอำนาจ ของ มองเตสกิเยอร์ ที่มีหัวใจ คือ ตรวจสอบถ่วงดุล ว่าหมายถึง การแบ่งแยกอำนาจในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การตรวจสอบถ่วงดุลในทางข้อมูลข่าวสาร และการมีระบบตรวจสอบการใช้ข้อมูลข่าวสารทางการเมือง
ด้วยเหตุนี้ ข้อเสนอประการสำคัญ ของผู้เขียน ที่เป็นมาตรการที่เป็นรูปธรรมในการปฏิรูปอำนาจทางการเมือง จึงมีดังนี้
๑.การจัดให้มีมาตรการควบคุมการเสนอข่าวสารของพรรคการเมือง
๒.การจัดให้มีมาตรการควบคุมการเสนอข่าวสารโครงการของส่วนราชการที่มีลักษณะส่อไปในทางเอื้อประโยชน์แก่พรรคการเมืองอย่างไม่เป็นธรรม
๓. การจัดให้มีการตรวจสอบถ่วงดุลโดยการให้พรรคฝ่ายค้าน และภาคพลเรือนสามารถใช้สื่อเพื่อตรวจสอบภาครัฐบาล
๔.การควบคุมการใช้งบโฆษณาประชาสัมพันธ์ของพรรคการเมือง รัฐบาล และหน่วยงานราชการ
๕.การจัดให้มี องค์กรสื่ออิสระ ของภาคพลเรือน ที่ปราศจากการแทรกแซง ของอำนาจรัฐบาล และ อำนาจทุนของภาคการตลาด
๖.การจัดให้ องค์กรตุลาการ มีเขตอำนาจในการพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อของภาคการเมืองและภาคการตลาดโดยไม่เป็นธรรม
ข้อเสนอดังกล่าว ดูเป็นข้อเสนอที่คิดนอกกรอบ แต่หากพิจารณากรอบทางประวัติศาสตร์ของมวลมนุษย์ในความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้มีอำนาจกับพลเรือนจะพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างนายทาส กับทาส เป็นเพียงอำนาจเหนือทางร่างกาย ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าศักดินากับพลเรือน เป็นเพียงอำนาจเหนือที่ดิน ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับพลเรือนเป็นเพียงอำนาจทางการเมืองเหนือสิทธิและเสรีภาพภายใต้กรอบของประโยชน์สาธารณะ ความสัมพันธ์ระหว่างทุนนิยมกับพลเรือน เป็นเพียง อำนาจทุน เงินตรา ทีมีเหนือทรัพยากรของพลเรือน
แต่ความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้กุมอำนาจข้อมูลข่าวสาร กับภาคพลเรือน คือ อำนาจเหนือจิตใจ ที่พร้อมร่ายมนต์ ให้พลเรือน ยอมละทิ้ง ซึ่ง ทรัพยากร สิทธิและเสรีภาพที่ชอบธรรม ที่ดิน กระทั่ง การยอมตนลงเป็น ทาส ของภาคการตลาดสามานย์ ที่ใช้อำนาจทุนแย่งยึดอำนาจจากภาคการเมือง และใช้อำนาจของข้อมูลข่าวสาร หรือ อำนาจอ่อน (Soft Power) อันชั่วร้าย แย่งยึดหัวใจคนไทยเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง
ศาสตรา โตอ่อน
นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
เครือข่ายสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง
การใช้และการตีความกฎหมายในวิกฤตการณ์บ้านเมือง
ตีพิมพ์ในมติชนรายวัน วันศุกร์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน ศกนี้
สืบเนื่องจากบทความเรื่อง ตัดสิทธิเลือกตั้งย้อนหลังได้ ของท่าน ดร.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ ที่ได้กล่าวถึงปัญหาการใช้และการตีความกฎหมายของนักกฎหมายลายลักษณ์อักษร ทำให้ผู้เขียนนึกถึงกรณีการตีความกฎหมายในสองกรณีสำคัญ ที่มีปัญหาแบบนี้เช่นเดียวกัน จึงเขียนบทความนี้ขึ้นเพื่อขยายภาพปัญหาดังกล่าวให้แจ่มชัดยิ่งขึ้น
.....................................
กฎหมาย คือ บรรทัดฐานทางสังคมชนิดหนึ่ง ที่เข้าไปเกี่ยวพันกับบริบททางสังคมแทบจะทุกส่วน เพราะบรรทัดฐานที่ชื่อว่ากฎหมาย คือสิ่งที่สังคมผู้เจริญแล้วย่อมต้องให้ความเคารพ ในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการระงับข้อพิพาทขัดแย้ง และจัดสรรส่วนที่พึงมีพึงได้ให้กับผู้สมควรมีสมควรได้นั่นเอง
เมื่อพิจารณาวิกฤตการณ์บ้านเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จะพบว่าประเด็นปัญหาทางการเมืองที่นำไปสู่การวิวาทะสำคัญในเกือบทุกกรณีจะมีการให้ความเห็นในทางกฎหมาย จากนักวิชาการ ทนายความ เจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทั่งตุลาการ และในกือบทุกกรณีการให้ความเห็นก็มีความแตกต่างหลากหลาย จนบางครั้งผู้ที่มิใช่นักกฎหมายพลอยเกิดความสับสนว่า ความเห็นของนักกฎหมายคนใดเป็นความเห็นที่ถูกต้อง
ด้วยเหตุนี้ภาวะการณ์ดังกล่าวจึงไม่ใช่ภาวะการณ์ที่ดีสำหรับ “กฎหมายบ้านเมือง” เป็นแน่แท้ เพราะ กฎหมายมีลักษณะสำคัญประการหนึ่ง คือ ต้องมีความชัดเจนแน่นอน ซึ่งความชัดเจนแน่นอน จะนำไปสู่ ความเชื่อถือของประชาชนในประเทศที่อยู่ในบังคับของกฎหมายนั้นๆ และหากประชาชนให้ความเชื่อถือก็ย่อมส่งผลสะท้อนกลับ ถึง การลงหลักปักฐานของ “กฎหมาย” ในฐานะบรรทัดฐานทางสังคมที่มีความมั่นคงและหนักแน่นยิ่งขึ้น
ในบทเรียนของการศึกษากฎหมาย หรือ วิชานิติศาสตร์นั้น มีหัวใจที่สำคัญยิ่งไปกว่า ตัวบทกฎหมายที่แสดงออกเป็นบทบัญญัติในมาตราต่างๆ คือ “นิติวิธี” ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของวิชานิติศาสตร์ที่ไม่มีในศาสตร์อื่น “นิติวิธี” หมายถึง แนวความคิดที่ฝังตัวอยู่ในบ่อเกิดทางกฎหมายชนิดต่างๆ รวมทั้ง วิธีการใช้ วิธีการตีความกฎหมาย ซึ่ง ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์ ปรมาจารย์กฎหมายแห่งสำนักธรรมศาสตร์ เคยกล่าวไว้ว่า “ตัวบทกฎหมายเป็นร่างกาย ในขณะที่นิติวิธี คือวิญญาณกฎหมาย”
ด้วยเหตุนี้ นักกฎหมายคนใดที่ใช้และตีความกฎหมายโดยไม่คำนึงถึงนิติวิธี ผู้นั้นย่อมมีแต่ ร่างกายของนักกฎหมาย แต่หามีวิญญาณของนักกฎหมายไม่ ดังนั้นการเป็นนักกฎหมายที่มีร่างกายและวิญญาณของนักกฎหมาย คือ ต้องสามารถนำตัวบทกฎหมาย และนิติวิธี หลอมรวมเข้าเพื่อใช้ และตีความกฎหมายให้เกิด “ความยุติธรรม” อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของ วิชานิติศาสตร์
เมื่อพิจาณาถึง วิชานิติศาสตร์ อาจกล่าวอีกนัยนึงว่า ตัวบทกฎหมาย เป็น “ศาสตร์ที่อุดมไปด้วยตรรกะ” ในขณะที่นิติวิธี คือ “ศิลปะในการนำตรรกะต่างๆมาใช้และตีความ” ให้มีความสอดคล้องกับสภาพสังคม ณ ขณะนั้น ดังนั้น นักกฎหมายคนใดที่ใช้และตีความกฎหมายอยู่บนพื้นฐานของตัวบทกฎหมายแต่เพียงอย่างเดียว จึงอาจกล่าวได้ว่า นักกฎหมายผู้นั้น คือ นักกฎหมายที่มีแต่ “ศาสตร์” แต่ไม่มี “ศิลป์” นักกฎหมายผู้นั้นจึงเป็นเพียงเหยื่อ ของ “ตาข่ายแห่งเหตุผลอันแห้งแล้ง และไม่มีความเป็นธรรม”
ตัวอย่างของการใช้และการตีความกฎหมายในวิกฤตการณ์บ้านเมือง ที่พอจะยกขึ้นมาแสดงให้เห็นถึง ความบกพร่องในทาง นิติวิธี ซึ่งบทความนี้จะขอยกขึ้นแสดงในสองกรณี คือ 1.กรณีการใช้และการตีความบทบั ญญัติมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และ 2. กรณีการใช้และการตีความคุณสมบัติผู้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง
1.กรณีการใช้และการตีความบทบัญญัติมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
วิวาทะเกี่ยวกับ บทบัญญัติมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีทั้งผู้ให้การสนับสนุนการใช้มาตรา 7 เพื่อขอนายกฯพระราชทาน และผู้คัดค้านการใช้มาตรา 7 โดยฝ่ายที่คัดค้านประกอบด้วยฝ่ายรัฐบาลพรรคไทยรักไทย และนักวิชาการฝ่ายก้าวหน้าที่ตีความการขอนายกฯพระราชทานตามมาตรา 7 ว่าเป็นการถอยหลังประเทศไทยกลับสู่ระบอบสมบูรณญาสิทธิราช นั้น จะเห็นได้ว่า ในกรณีวิวาทะเกี่ยวกับมาตรา 7 นั้น หากนักกฎหมาย มาทบทวนการใช้นิติวิธีในทางกฎหมาย โดยคำนึงถึงประเภทของบทบัญญัติของกฎหมาย ที่แบ่งเป็น “บทกฎหมายทั่วไป” ( Jus generale) กับ “บทกฎหมายเฉพาะ” ( Jus speciale) จะพบว่า วิกฤตการณ์บ้านเมืองที่เกิดขึ้น ล้วนมีสาเหตุมาจาก “ระบบรัฐธรรมนูญล่ม” เนื่องจาก กลไกการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐถูกแทรกแซง ทั้งกลไกการตรวจสอบการเข้าสู่อำนาจโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง กลไกลการตรวจในระบบรัฐสภา และกลไกการตรวจสอบขององค์กรอิสระ ซึ่งกรณีนี้ นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า “ปัญหาระบบกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ไม่ทำงานเป็นเพียงความเชื่อเท่านั้น” ดูจะเป็นคำกล่าวที่เลื่อนลอยและขาดการพิจารณาบริบททางสังคมควบคู่ไปกับการใช้กฎหมายโดยสิ้นเชิง
เมื่อระบบรัฐธรรมล่ม เนื่องจาก กลไกตามรัฐธรรมนูญไม่อาจทำงานได้ นั่นหมายความว่า บทบัญญัติต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในมิติต่างๆ เริ่มมีปัญหาการสูญเสียคุณค่าทั้งในเชิงตัวบทกฎหมายและเจตนารมณ์ กระทั่งการเดินหน้าฝืนใช้บทบัญญัติต่างๆต่อไปยิ่งทำให้เกิดวิกฤติของประเทศรุนแรงขึ้น เช่น วิกฤติการรักษาการณ์ของรัฐบาลชุดปัจจุบันที่ยาวนาน วิกฤตการณ์เลือกตั้งที่ดูจะไม่มีวันจบสิ้น วิกฤตการณ์ความแตกแยกทางสังคมที่อาจกลายเป็นวิกฤติการณ์การนองเลือดที่อาจเกิดขึ้นในไม่ช้าไม่นาน
บทบัญญัติต่างๆที่ตีความกันจนเกิดปัญหามากมายนั้น แท้จริงคือ “บทกฎหมายเฉพาะ” ที่เมื่อพิจารณาในเชิงนิติวิธีแล้ว เมื่อบทกฎหมายเฉพาะใช้บังคับไม่ได้ หรือ บังคับใช้แล้วเกิดผลประหลาด การใช้และการตีความกฎหมายก็ต้องกลับไปสู่ “บทกฎหมายทั่วไป” แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในการใช้และตีความกฎหมาย ก็คือ การอ้างเหตุผลว่า “รัฐธรรมนูญมาตราต่างๆยังคงใช้บังคับได้ก็ต้องใช้บังคับต่อไป” ทั้งที่ในความเป็นจริง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยโดยส่วนใหญ่ ได้สูญเสียคุณค่า ทั้งในเชิงตัวบทบัญญัติและในเชิงเจตนารมณ์มาเนิ่นนานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ สิทธิและเสรีภาพ (คดีทนายสมชาย คดีตากใบ คดีการฆ่านายเจริญ วัดอักษร ) หน้าที่ของชนชาวไทย (กรณีการเลี่ยงภาษีของอดีตนายกฯทักษิณ ) การเข้าสู่อำนาจโดยการเลือกตั้ง ( กรณี สาม กกต.ที่ต้องคำพิพากษาจำคุก) การตรวจสอบถ่วงดุลโดยระบบรัฐสภา การแทรกแซงองค์กรอิสระ กระทั่ง การทำลายหลักการปกครองส่วนท้องถิ่นโดยการเข้าแทรกแซงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีการใช้และตีความโดยอ้าง “บทกฎหมายเฉพาะ”ในเรื่องต่างๆดูจะเป็นการใช้ และตีความกฎหมาย เพื่อ กฎหมาย มากกว่า ที่จะเป็นการใช้และตีความกฎหมายเพื่อ “ประโยชน์สุข”ของสังคม
นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการบางท่าน ได้ออกมาอธิบาย พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ทั้งที่มีอยู่ในหมวดสองของรัฐธรรมนูญ (พระมหากษัตริย์) และพระราชอำนาจที่แทรกตัวอยู่ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหมวดอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดเป็นเพียงคำอธิบายถึง พระราชอำนาจใน “บทกฎหมายเฉพาะ” ที่มีอยู่ในรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่เมื่อปรากฏว่าบทกฎหมายเฉพาะต่างๆ ไม่อาจใช้แก้ไขเยียวยาปัญหาประเทศได้ ในเชิง นิติวิธี ก็ต้องมีการกลับไปใช้ “บทกกฎหมายทั่วไป” ซึ่งก็คือ เนื้อหาของรัฐธรรมนูญในหมวดที่ 1 บททั่วไป ซึ่งมาตรา 7 ก็เป็นบทบัญญัติที่มีอยู่ใน หมวดที่ 1 บททั่วไปของรัฐธรรมนูญ
ดังนั้นสถานะของมาตรา 7 จึงมีลักษณะเป็น “บทกฎหมายทั่วไป” ของรัฐธรรมนูญ ด้วยเหตุดังกล่าวการหยิบยกมาตรา 7 ขึ้นกล่าวอ้างจึงไม่ได้มีความผิดพลาดแต่ประการใด แต่ทั้งนี้การหยิบยกมาตราดังกล่าวขึ้นใช้ จะต้องมีการพิสูจน์ให้แน่ชัดว่าเรื่องที่หยิบยกมาตรา 7 ขึ้นใช้นั้น เป็นเรื่องที่ไม่มี “บทกฎหมายเฉพาะ”ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวมาบังคับใช้ได้
สำหรับความเห็นส่วนตัว การใช้ และตีความรัฐธรรมนูญมาตรา 7 สามารถกระทำได้ ในฐานะ “บทกฎหมายทั่วไป” ซึ่งกรณีดังกล่าวก็จะต้องทำการพิเคาระห์ประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขว่ามีความหมายอย่างไร และการพิเคราะห์ประเพณีที่ว่า ก็คือ การพิเคราะห์ถึงแก่นแท้ และรากเหง้าของ “จิตวิญญาณประชาชาติ” (Volkgeist) ของประเทศไทยให้มีความชัดเจน ซึ่งในกรณีนี้มิใช่การพิเคราะห์พระราชอำนาจที่มีลักษณะเป็น “บทกฎหมายเฉพาะ” ตั้งแต่หมวดที่ 2 ของรัฐธรรมนูญฯเป็นต้นไป แบบที่นักวิชาการหลายคนทำกัน จนมีข้อทักท้วงว่า การใช้รัฐธรรมนูญฯมาตรา 7 เป็นการถอยหลังเข้าคลอง
และกรณีการพิเคราะห์ถึง “จิตวิญญาณประชาชาติ” ดังกล่าว ต้องมีการศึกษาถึงบทบาทของพระมหากษัตริย์ไทย ในประวัติศาสตร์อย่างต่อเนื่องยาวนาน มิใช่ พิเคราะห์โดยคำนึงถึง ทฤษฎีแบบฝรั่ง ซึ่งมิใช่บรรพบุรุษของประเทศไทยแต่เพียงอย่างเดียว ดังนั้น ในความเห็นของผม การใช้และการตีความมาตรา 7 ของนักกฎหมายบางท่าน ที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้มาตรา 7 หากพิเคราะห์ในแง่นิติวิธี การใช้ การตีความ“บทกฎหมายทั่วไป” ( Jus generale) แล้ว “บทกฎหมายเฉพาะ” ( Jus speciale) แล้ว ดูเหมือนว่า ความคิดเห็นของนักกฎหมายบางท่าน ดูจะเป็นใช้และตีความกฎหมายที่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ทั้งในแง่ เทคนิกการใช้และตีความกฎหมาย และการแก้ปัญหาสังคมไปพร้อมๆกัน
กรณีความเป็นไปได้ในการใช้มาตรา 7 ก็คือการใช้มาตรา 7 ในฐานะ “บทกฏหมายทั่วไปเพื่อการปฏิรูปการเมือง” ซึ่งสามารถทำได้ทั้งในแง่ นิติวิธี และในแง่รัฐธรรมนูญที่เปิดโอกาสให้มีการใช้อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ (Pouvoir Constituant) โดยเหตุผลที่สภาพของระบบรัฐสภาไม่อาจนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองตาม ช่องทางเดิมในมาตรา 313 ของรัฐธรรมนูญได้นั่น ซึ่งหากย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ จะพบว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่เจ็ด ก็ทรงเคยใช้อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญดังกล่าวร่วมกับคณะราษฎร จนนำไปสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
2. กรณีการใช้และการตีความคุณสมบัติผู้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง
หลังจากที่ศาลยุติธรรมมีคำพิพากษาให้จำคุก สาม กกต. ประเด็นปัญหาทางกฎหมายที่ตามมา คือ ปัญหาที่ว่า กกต.ทั้งสามพ้นจากตำแหน่ง กกต.แล้วหรือยัง กรณีดังกล่าวนักกฎหมายส่วนใหญ่มีความเห็นว่า กกต.ทั้งสามหลุดพ้นจากตำแหน่ง กกต.โดยนักกฎหมายบางส่วนได้ให้เหตุผลตามมาตรา 137 (4) ของรัฐธรรมนูญฯที่ให้นำมาตรา 106 ของรัฐธรรมนูญฯมาใช้บังคับ
ซึ่งในกรณีมาตรา 106 ที่อนุโลมมาใช้บังคับกับคุณสมบัติของคณะกรรมการเลือกตั้งนั้น บัญญัติไว้ว่า “บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง .....(3) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
กรณีดังกล่าว หากพิจาณาแล้วจะพบว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งย่อมพ้นสภาพทันทีเนื่องจาก คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล อันเกิดจากคำพิพากษา กรณีดังกล่าวหากพิเคราะห์เจตนารมณ์ของมาตรา 137 ที่อนุโลมมาตรา 106 มาใช้จะพบว่า รัฐธรรมนูญเรียกร้องให้ ผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการการเลือกตั้งจะต้องเป็นผู้มีความบริสุทธิ์ เป็นที่น่าเชื่อถือของประชาชน จึงจะสามารถทำหน้าที่กรรมการการเลือกตั้งได้ กรณีดังกล่าว กกต.แม้จะถูกคุมขังและต่อมาได้รับการปล่อยตัวก็ต้องถือว่า กรรมการการเลือกตั้งพ้นจากตำแหน่ง ไม่ว่า กกต.จะตัดสินใจลาออกหรือไม่ก็ตาม
อย่างไรก็ตาม ก็มีความเห็นทางกฎหมาย ที่ใช้และตีความมาตรา 137 และ 106 ของรัฐธรรมนูญฯ โดยอธิบายว่า “รัฐธรรมนูญฯมาตรา 106 นั้น ใชบังคับในกรณีที่ กกต.ต้องคุมขังโดยหมายของศาล เฉพาะในวันเลือกตั้งเท่านั้น ดังนั้น กรณีนี้ กกต.ไม่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากไม่ได้ถูกคุมขังในวันเลือกตั้ง” กรณีการตีความดังกล่าวเห็นได้ชัดว่า มีปัญหาในเชิงการตีความที่ติดยึดกับถ้อยคำในมาตรา 106 ที่ว่า “บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง” ซึ่งหากตีความในลักษณะดังกล่าว จะก่อให้เกิดผลประหลาด สามประการ
ประการที่หนึ่ง หาก กรรมการการเลือกตั้งคนใดถูกคุมขังโดยหมายของศาล ในวันที่มิได้มีการเลือกตั้ง กกต.ผู้นั้นก็มีคุณสมบัติที่จะเป็นกรรมการการเลือกตั้งได้
ประการที่สอง หากกรรมการการเลือกตั้งคนใดถูกคุมขังโดยหมายของศาล และศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว คำถามที่ตามมาคือ กกต.ก็ยังสามารถทำหน้าที่ในคุกต่อไปได้ และเมื่อถึงวันเลือกตั้ง กกต.ทั้งสามก็จะพ้นจากตำแหน่ง แล้วใครจะเป็นผู้จัดการการเลือกตั้ง
ประการที่สาม หากกรรมการการเลือกตั้งคนใดถูกคุมขังโดยหมายของศาล และต่อมาศาลให้ประกันตัว กรณีดังกล่าวประเทศไทยเราก็จะมี กกต.ที่ต้องคำพิพากษาให้จำคุก ซึ่งคาดว่า กกต.คงไม่สามารถดำเนินการจัดการเลือกตั้ง ให้เป็นที่เชื่อถือของประชาชนได้
จะเห็นได้ว่าตัวอย่างของการใช้และตีความประเด็นปัญหาการพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง คือตัวอย่างของการตีความกฎหมายที่ไม่มีความสอดคล้องทั้งในแง่เจตนารมณ์และในแง่ของสถานการณ์บ้านเมือง เป็นการตีความที่ติดอยู่ “ตรรกะทางภาษากฎหมาย” ที่คับแน่นและตีบตันจนก่อให้เกิดผลประหลาด
ตัวอย่างการใช้ตีความกฎหมายทั้งสองกรณีเป็นตัวอย่างที่ดีของ นักกฎหมายที่ต้องประสาน “ศาสตร์” และ “ศิลป์” ในการใช้กฎหมายให้เป็นหนึ่งเดียว ยิ่งในภาวะวิกฤตการณ์ทางเมืองแล้ว การใช้และตีความกฎหมายจะต้องคำนึงถึง บริบททางสังคม ณ ขณะนั้นควบคู่ไปด้วย เพราะกฎหมาย มิใช่มีขึ้น เพื่อรักษาตัวของมันเองไว้เท่านั้น แต่กฎหมายมีภารกิจที่สำคัญกว่า คือ การเยียวยาสังคมทั้งในยามสงบและยามวิกฤติเท่าที่กฎหมายจะทำได้
..............
หมายเหตุ
นิติวิธี เป็นบทเรียนในวิชา กฎหมายแพ่งหลักทั่วไป ศึกษาตอนปี ๑ ถือเป็นหัวใจของนักกฎหมายเลยก็ว่าได้ ผมได้เรียนกับ อ.สมยศ เชื้อไทย ทุกวันนี้ยังชอบนั่งุคยกับ อาจารย์อยู่บ่อยๆ คนนี้ครับของจริง ไม่ย้อมแมวขาย
สืบเนื่องจากบทความเรื่อง ตัดสิทธิเลือกตั้งย้อนหลังได้ ของท่าน ดร.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ ที่ได้กล่าวถึงปัญหาการใช้และการตีความกฎหมายของนักกฎหมายลายลักษณ์อักษร ทำให้ผู้เขียนนึกถึงกรณีการตีความกฎหมายในสองกรณีสำคัญ ที่มีปัญหาแบบนี้เช่นเดียวกัน จึงเขียนบทความนี้ขึ้นเพื่อขยายภาพปัญหาดังกล่าวให้แจ่มชัดยิ่งขึ้น
.....................................
กฎหมาย คือ บรรทัดฐานทางสังคมชนิดหนึ่ง ที่เข้าไปเกี่ยวพันกับบริบททางสังคมแทบจะทุกส่วน เพราะบรรทัดฐานที่ชื่อว่ากฎหมาย คือสิ่งที่สังคมผู้เจริญแล้วย่อมต้องให้ความเคารพ ในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการระงับข้อพิพาทขัดแย้ง และจัดสรรส่วนที่พึงมีพึงได้ให้กับผู้สมควรมีสมควรได้นั่นเอง
เมื่อพิจารณาวิกฤตการณ์บ้านเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จะพบว่าประเด็นปัญหาทางการเมืองที่นำไปสู่การวิวาทะสำคัญในเกือบทุกกรณีจะมีการให้ความเห็นในทางกฎหมาย จากนักวิชาการ ทนายความ เจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทั่งตุลาการ และในกือบทุกกรณีการให้ความเห็นก็มีความแตกต่างหลากหลาย จนบางครั้งผู้ที่มิใช่นักกฎหมายพลอยเกิดความสับสนว่า ความเห็นของนักกฎหมายคนใดเป็นความเห็นที่ถูกต้อง
ด้วยเหตุนี้ภาวะการณ์ดังกล่าวจึงไม่ใช่ภาวะการณ์ที่ดีสำหรับ “กฎหมายบ้านเมือง” เป็นแน่แท้ เพราะ กฎหมายมีลักษณะสำคัญประการหนึ่ง คือ ต้องมีความชัดเจนแน่นอน ซึ่งความชัดเจนแน่นอน จะนำไปสู่ ความเชื่อถือของประชาชนในประเทศที่อยู่ในบังคับของกฎหมายนั้นๆ และหากประชาชนให้ความเชื่อถือก็ย่อมส่งผลสะท้อนกลับ ถึง การลงหลักปักฐานของ “กฎหมาย” ในฐานะบรรทัดฐานทางสังคมที่มีความมั่นคงและหนักแน่นยิ่งขึ้น
ในบทเรียนของการศึกษากฎหมาย หรือ วิชานิติศาสตร์นั้น มีหัวใจที่สำคัญยิ่งไปกว่า ตัวบทกฎหมายที่แสดงออกเป็นบทบัญญัติในมาตราต่างๆ คือ “นิติวิธี” ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของวิชานิติศาสตร์ที่ไม่มีในศาสตร์อื่น “นิติวิธี” หมายถึง แนวความคิดที่ฝังตัวอยู่ในบ่อเกิดทางกฎหมายชนิดต่างๆ รวมทั้ง วิธีการใช้ วิธีการตีความกฎหมาย ซึ่ง ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์ ปรมาจารย์กฎหมายแห่งสำนักธรรมศาสตร์ เคยกล่าวไว้ว่า “ตัวบทกฎหมายเป็นร่างกาย ในขณะที่นิติวิธี คือวิญญาณกฎหมาย”
ด้วยเหตุนี้ นักกฎหมายคนใดที่ใช้และตีความกฎหมายโดยไม่คำนึงถึงนิติวิธี ผู้นั้นย่อมมีแต่ ร่างกายของนักกฎหมาย แต่หามีวิญญาณของนักกฎหมายไม่ ดังนั้นการเป็นนักกฎหมายที่มีร่างกายและวิญญาณของนักกฎหมาย คือ ต้องสามารถนำตัวบทกฎหมาย และนิติวิธี หลอมรวมเข้าเพื่อใช้ และตีความกฎหมายให้เกิด “ความยุติธรรม” อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของ วิชานิติศาสตร์
เมื่อพิจาณาถึง วิชานิติศาสตร์ อาจกล่าวอีกนัยนึงว่า ตัวบทกฎหมาย เป็น “ศาสตร์ที่อุดมไปด้วยตรรกะ” ในขณะที่นิติวิธี คือ “ศิลปะในการนำตรรกะต่างๆมาใช้และตีความ” ให้มีความสอดคล้องกับสภาพสังคม ณ ขณะนั้น ดังนั้น นักกฎหมายคนใดที่ใช้และตีความกฎหมายอยู่บนพื้นฐานของตัวบทกฎหมายแต่เพียงอย่างเดียว จึงอาจกล่าวได้ว่า นักกฎหมายผู้นั้น คือ นักกฎหมายที่มีแต่ “ศาสตร์” แต่ไม่มี “ศิลป์” นักกฎหมายผู้นั้นจึงเป็นเพียงเหยื่อ ของ “ตาข่ายแห่งเหตุผลอันแห้งแล้ง และไม่มีความเป็นธรรม”
ตัวอย่างของการใช้และการตีความกฎหมายในวิกฤตการณ์บ้านเมือง ที่พอจะยกขึ้นมาแสดงให้เห็นถึง ความบกพร่องในทาง นิติวิธี ซึ่งบทความนี้จะขอยกขึ้นแสดงในสองกรณี คือ 1.กรณีการใช้และการตีความบทบั ญญัติมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และ 2. กรณีการใช้และการตีความคุณสมบัติผู้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง
1.กรณีการใช้และการตีความบทบัญญัติมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
วิวาทะเกี่ยวกับ บทบัญญัติมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีทั้งผู้ให้การสนับสนุนการใช้มาตรา 7 เพื่อขอนายกฯพระราชทาน และผู้คัดค้านการใช้มาตรา 7 โดยฝ่ายที่คัดค้านประกอบด้วยฝ่ายรัฐบาลพรรคไทยรักไทย และนักวิชาการฝ่ายก้าวหน้าที่ตีความการขอนายกฯพระราชทานตามมาตรา 7 ว่าเป็นการถอยหลังประเทศไทยกลับสู่ระบอบสมบูรณญาสิทธิราช นั้น จะเห็นได้ว่า ในกรณีวิวาทะเกี่ยวกับมาตรา 7 นั้น หากนักกฎหมาย มาทบทวนการใช้นิติวิธีในทางกฎหมาย โดยคำนึงถึงประเภทของบทบัญญัติของกฎหมาย ที่แบ่งเป็น “บทกฎหมายทั่วไป” ( Jus generale) กับ “บทกฎหมายเฉพาะ” ( Jus speciale) จะพบว่า วิกฤตการณ์บ้านเมืองที่เกิดขึ้น ล้วนมีสาเหตุมาจาก “ระบบรัฐธรรมนูญล่ม” เนื่องจาก กลไกการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐถูกแทรกแซง ทั้งกลไกการตรวจสอบการเข้าสู่อำนาจโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง กลไกลการตรวจในระบบรัฐสภา และกลไกการตรวจสอบขององค์กรอิสระ ซึ่งกรณีนี้ นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า “ปัญหาระบบกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ไม่ทำงานเป็นเพียงความเชื่อเท่านั้น” ดูจะเป็นคำกล่าวที่เลื่อนลอยและขาดการพิจารณาบริบททางสังคมควบคู่ไปกับการใช้กฎหมายโดยสิ้นเชิง
เมื่อระบบรัฐธรรมล่ม เนื่องจาก กลไกตามรัฐธรรมนูญไม่อาจทำงานได้ นั่นหมายความว่า บทบัญญัติต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในมิติต่างๆ เริ่มมีปัญหาการสูญเสียคุณค่าทั้งในเชิงตัวบทกฎหมายและเจตนารมณ์ กระทั่งการเดินหน้าฝืนใช้บทบัญญัติต่างๆต่อไปยิ่งทำให้เกิดวิกฤติของประเทศรุนแรงขึ้น เช่น วิกฤติการรักษาการณ์ของรัฐบาลชุดปัจจุบันที่ยาวนาน วิกฤตการณ์เลือกตั้งที่ดูจะไม่มีวันจบสิ้น วิกฤตการณ์ความแตกแยกทางสังคมที่อาจกลายเป็นวิกฤติการณ์การนองเลือดที่อาจเกิดขึ้นในไม่ช้าไม่นาน
บทบัญญัติต่างๆที่ตีความกันจนเกิดปัญหามากมายนั้น แท้จริงคือ “บทกฎหมายเฉพาะ” ที่เมื่อพิจารณาในเชิงนิติวิธีแล้ว เมื่อบทกฎหมายเฉพาะใช้บังคับไม่ได้ หรือ บังคับใช้แล้วเกิดผลประหลาด การใช้และการตีความกฎหมายก็ต้องกลับไปสู่ “บทกฎหมายทั่วไป” แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในการใช้และตีความกฎหมาย ก็คือ การอ้างเหตุผลว่า “รัฐธรรมนูญมาตราต่างๆยังคงใช้บังคับได้ก็ต้องใช้บังคับต่อไป” ทั้งที่ในความเป็นจริง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยโดยส่วนใหญ่ ได้สูญเสียคุณค่า ทั้งในเชิงตัวบทบัญญัติและในเชิงเจตนารมณ์มาเนิ่นนานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ สิทธิและเสรีภาพ (คดีทนายสมชาย คดีตากใบ คดีการฆ่านายเจริญ วัดอักษร ) หน้าที่ของชนชาวไทย (กรณีการเลี่ยงภาษีของอดีตนายกฯทักษิณ ) การเข้าสู่อำนาจโดยการเลือกตั้ง ( กรณี สาม กกต.ที่ต้องคำพิพากษาจำคุก) การตรวจสอบถ่วงดุลโดยระบบรัฐสภา การแทรกแซงองค์กรอิสระ กระทั่ง การทำลายหลักการปกครองส่วนท้องถิ่นโดยการเข้าแทรกแซงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีการใช้และตีความโดยอ้าง “บทกฎหมายเฉพาะ”ในเรื่องต่างๆดูจะเป็นการใช้ และตีความกฎหมาย เพื่อ กฎหมาย มากกว่า ที่จะเป็นการใช้และตีความกฎหมายเพื่อ “ประโยชน์สุข”ของสังคม
นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการบางท่าน ได้ออกมาอธิบาย พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ทั้งที่มีอยู่ในหมวดสองของรัฐธรรมนูญ (พระมหากษัตริย์) และพระราชอำนาจที่แทรกตัวอยู่ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหมวดอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดเป็นเพียงคำอธิบายถึง พระราชอำนาจใน “บทกฎหมายเฉพาะ” ที่มีอยู่ในรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่เมื่อปรากฏว่าบทกฎหมายเฉพาะต่างๆ ไม่อาจใช้แก้ไขเยียวยาปัญหาประเทศได้ ในเชิง นิติวิธี ก็ต้องมีการกลับไปใช้ “บทกกฎหมายทั่วไป” ซึ่งก็คือ เนื้อหาของรัฐธรรมนูญในหมวดที่ 1 บททั่วไป ซึ่งมาตรา 7 ก็เป็นบทบัญญัติที่มีอยู่ใน หมวดที่ 1 บททั่วไปของรัฐธรรมนูญ
ดังนั้นสถานะของมาตรา 7 จึงมีลักษณะเป็น “บทกฎหมายทั่วไป” ของรัฐธรรมนูญ ด้วยเหตุดังกล่าวการหยิบยกมาตรา 7 ขึ้นกล่าวอ้างจึงไม่ได้มีความผิดพลาดแต่ประการใด แต่ทั้งนี้การหยิบยกมาตราดังกล่าวขึ้นใช้ จะต้องมีการพิสูจน์ให้แน่ชัดว่าเรื่องที่หยิบยกมาตรา 7 ขึ้นใช้นั้น เป็นเรื่องที่ไม่มี “บทกฎหมายเฉพาะ”ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวมาบังคับใช้ได้
สำหรับความเห็นส่วนตัว การใช้ และตีความรัฐธรรมนูญมาตรา 7 สามารถกระทำได้ ในฐานะ “บทกฎหมายทั่วไป” ซึ่งกรณีดังกล่าวก็จะต้องทำการพิเคาระห์ประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขว่ามีความหมายอย่างไร และการพิเคราะห์ประเพณีที่ว่า ก็คือ การพิเคราะห์ถึงแก่นแท้ และรากเหง้าของ “จิตวิญญาณประชาชาติ” (Volkgeist) ของประเทศไทยให้มีความชัดเจน ซึ่งในกรณีนี้มิใช่การพิเคราะห์พระราชอำนาจที่มีลักษณะเป็น “บทกฎหมายเฉพาะ” ตั้งแต่หมวดที่ 2 ของรัฐธรรมนูญฯเป็นต้นไป แบบที่นักวิชาการหลายคนทำกัน จนมีข้อทักท้วงว่า การใช้รัฐธรรมนูญฯมาตรา 7 เป็นการถอยหลังเข้าคลอง
และกรณีการพิเคราะห์ถึง “จิตวิญญาณประชาชาติ” ดังกล่าว ต้องมีการศึกษาถึงบทบาทของพระมหากษัตริย์ไทย ในประวัติศาสตร์อย่างต่อเนื่องยาวนาน มิใช่ พิเคราะห์โดยคำนึงถึง ทฤษฎีแบบฝรั่ง ซึ่งมิใช่บรรพบุรุษของประเทศไทยแต่เพียงอย่างเดียว ดังนั้น ในความเห็นของผม การใช้และการตีความมาตรา 7 ของนักกฎหมายบางท่าน ที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้มาตรา 7 หากพิเคราะห์ในแง่นิติวิธี การใช้ การตีความ“บทกฎหมายทั่วไป” ( Jus generale) แล้ว “บทกฎหมายเฉพาะ” ( Jus speciale) แล้ว ดูเหมือนว่า ความคิดเห็นของนักกฎหมายบางท่าน ดูจะเป็นใช้และตีความกฎหมายที่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ทั้งในแง่ เทคนิกการใช้และตีความกฎหมาย และการแก้ปัญหาสังคมไปพร้อมๆกัน
กรณีความเป็นไปได้ในการใช้มาตรา 7 ก็คือการใช้มาตรา 7 ในฐานะ “บทกฏหมายทั่วไปเพื่อการปฏิรูปการเมือง” ซึ่งสามารถทำได้ทั้งในแง่ นิติวิธี และในแง่รัฐธรรมนูญที่เปิดโอกาสให้มีการใช้อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ (Pouvoir Constituant) โดยเหตุผลที่สภาพของระบบรัฐสภาไม่อาจนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองตาม ช่องทางเดิมในมาตรา 313 ของรัฐธรรมนูญได้นั่น ซึ่งหากย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ จะพบว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่เจ็ด ก็ทรงเคยใช้อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญดังกล่าวร่วมกับคณะราษฎร จนนำไปสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
2. กรณีการใช้และการตีความคุณสมบัติผู้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง
หลังจากที่ศาลยุติธรรมมีคำพิพากษาให้จำคุก สาม กกต. ประเด็นปัญหาทางกฎหมายที่ตามมา คือ ปัญหาที่ว่า กกต.ทั้งสามพ้นจากตำแหน่ง กกต.แล้วหรือยัง กรณีดังกล่าวนักกฎหมายส่วนใหญ่มีความเห็นว่า กกต.ทั้งสามหลุดพ้นจากตำแหน่ง กกต.โดยนักกฎหมายบางส่วนได้ให้เหตุผลตามมาตรา 137 (4) ของรัฐธรรมนูญฯที่ให้นำมาตรา 106 ของรัฐธรรมนูญฯมาใช้บังคับ
ซึ่งในกรณีมาตรา 106 ที่อนุโลมมาใช้บังคับกับคุณสมบัติของคณะกรรมการเลือกตั้งนั้น บัญญัติไว้ว่า “บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง .....(3) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
กรณีดังกล่าว หากพิจาณาแล้วจะพบว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งย่อมพ้นสภาพทันทีเนื่องจาก คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล อันเกิดจากคำพิพากษา กรณีดังกล่าวหากพิเคราะห์เจตนารมณ์ของมาตรา 137 ที่อนุโลมมาตรา 106 มาใช้จะพบว่า รัฐธรรมนูญเรียกร้องให้ ผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการการเลือกตั้งจะต้องเป็นผู้มีความบริสุทธิ์ เป็นที่น่าเชื่อถือของประชาชน จึงจะสามารถทำหน้าที่กรรมการการเลือกตั้งได้ กรณีดังกล่าว กกต.แม้จะถูกคุมขังและต่อมาได้รับการปล่อยตัวก็ต้องถือว่า กรรมการการเลือกตั้งพ้นจากตำแหน่ง ไม่ว่า กกต.จะตัดสินใจลาออกหรือไม่ก็ตาม
อย่างไรก็ตาม ก็มีความเห็นทางกฎหมาย ที่ใช้และตีความมาตรา 137 และ 106 ของรัฐธรรมนูญฯ โดยอธิบายว่า “รัฐธรรมนูญฯมาตรา 106 นั้น ใชบังคับในกรณีที่ กกต.ต้องคุมขังโดยหมายของศาล เฉพาะในวันเลือกตั้งเท่านั้น ดังนั้น กรณีนี้ กกต.ไม่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากไม่ได้ถูกคุมขังในวันเลือกตั้ง” กรณีการตีความดังกล่าวเห็นได้ชัดว่า มีปัญหาในเชิงการตีความที่ติดยึดกับถ้อยคำในมาตรา 106 ที่ว่า “บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง” ซึ่งหากตีความในลักษณะดังกล่าว จะก่อให้เกิดผลประหลาด สามประการ
ประการที่หนึ่ง หาก กรรมการการเลือกตั้งคนใดถูกคุมขังโดยหมายของศาล ในวันที่มิได้มีการเลือกตั้ง กกต.ผู้นั้นก็มีคุณสมบัติที่จะเป็นกรรมการการเลือกตั้งได้
ประการที่สอง หากกรรมการการเลือกตั้งคนใดถูกคุมขังโดยหมายของศาล และศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว คำถามที่ตามมาคือ กกต.ก็ยังสามารถทำหน้าที่ในคุกต่อไปได้ และเมื่อถึงวันเลือกตั้ง กกต.ทั้งสามก็จะพ้นจากตำแหน่ง แล้วใครจะเป็นผู้จัดการการเลือกตั้ง
ประการที่สาม หากกรรมการการเลือกตั้งคนใดถูกคุมขังโดยหมายของศาล และต่อมาศาลให้ประกันตัว กรณีดังกล่าวประเทศไทยเราก็จะมี กกต.ที่ต้องคำพิพากษาให้จำคุก ซึ่งคาดว่า กกต.คงไม่สามารถดำเนินการจัดการเลือกตั้ง ให้เป็นที่เชื่อถือของประชาชนได้
จะเห็นได้ว่าตัวอย่างของการใช้และตีความประเด็นปัญหาการพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง คือตัวอย่างของการตีความกฎหมายที่ไม่มีความสอดคล้องทั้งในแง่เจตนารมณ์และในแง่ของสถานการณ์บ้านเมือง เป็นการตีความที่ติดอยู่ “ตรรกะทางภาษากฎหมาย” ที่คับแน่นและตีบตันจนก่อให้เกิดผลประหลาด
ตัวอย่างการใช้ตีความกฎหมายทั้งสองกรณีเป็นตัวอย่างที่ดีของ นักกฎหมายที่ต้องประสาน “ศาสตร์” และ “ศิลป์” ในการใช้กฎหมายให้เป็นหนึ่งเดียว ยิ่งในภาวะวิกฤตการณ์ทางเมืองแล้ว การใช้และตีความกฎหมายจะต้องคำนึงถึง บริบททางสังคม ณ ขณะนั้นควบคู่ไปด้วย เพราะกฎหมาย มิใช่มีขึ้น เพื่อรักษาตัวของมันเองไว้เท่านั้น แต่กฎหมายมีภารกิจที่สำคัญกว่า คือ การเยียวยาสังคมทั้งในยามสงบและยามวิกฤติเท่าที่กฎหมายจะทำได้
..............
หมายเหตุ
นิติวิธี เป็นบทเรียนในวิชา กฎหมายแพ่งหลักทั่วไป ศึกษาตอนปี ๑ ถือเป็นหัวใจของนักกฎหมายเลยก็ว่าได้ ผมได้เรียนกับ อ.สมยศ เชื้อไทย ทุกวันนี้ยังชอบนั่งุคยกับ อาจารย์อยู่บ่อยๆ คนนี้ครับของจริง ไม่ย้อมแมวขาย
Tuesday, November 14, 2006
ทฤษฎีแห่งความว่าง
เวลาคนเราทำอะไร มักมีแรงขับจากภายในสั่งการ
คนเราจึงเป็นมนุษย์จิตไม่ว่าง
ผมไปแอบดูพระเจ้าสร้างมนุษย์
หลังจากพระองค์สร้างเหนือหนังเสร็จปุ๊บ พระองค์ก็เอาพู่กันจุ่มหมึกเหนียวป้ายลงที่จิตใจของเรา
แล้วเราก็ดำเนินการต่างๆไปตามแผน ที่พระเจ้าผนึกเราไว้ในหมึกเหนียวนั้น
มีเพียงพระพุทธเจ้าและเหล่าสาวกกระมังที่เข้าใจแผนการดังกล่าว จึงสามารถใช้ตาแห่งปัญญาเผาทำลายหมึกเหนียวของพระเจ้าได้ ด้วยลมหายใจ ที่นำพาสติมากอดก่ายกับปัญญา แล้วตัดฟันทำลายมายาทั้งปวงลง
เมื่อลุถึงที่สุด ความว่าง หรือสุญญตาธาตุย่อมปรากฏ
ณ ที่นั้น คำสอนของผู้ทรงปัญญาทั้งหลายก็เพียง คำลวงของนักมายากล หรืออาจกล่าวว่าเป็นพวกเดียรถีย์อย่างหนึ่ง
เพชร นิล จินดา เป็นเพียงก้อนกรวด
ตำแหน่งรัฐมนตรี ดุจเก้าอี้ผุๆ
ชีวิตก็ไร้รูป ชีวาก็ไร้ตน ยังจะมีเรื่องอันใดให้เราอนาทรร้อนใจอีกเล่า
และเมื่อถ้อยคำที่แท้ได้จารึกแล้วในสุดยอดคัมภีร์ ที่ไร้อักษร ผมก็เพียงเปิดอ่านด้วยลมหายใจ ก็เท่านั้น
นี่คือ ความสัจ ที่เหล่าผู้เกรอะกรัง ในกรงขังของจิตมิอาจเข้าใจ
เหลือดำรงเพียง เมตตา และอานุภาพ สำหรับช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ด้วยคุณธรรมง่ายๆ
และทำมันให้ปรากฏเรี่ยรายในทุกข์ฝีก้าว ก็เท่านั้น ไม่มีอะไรซับซ้อน
นี่คือวิถีส่วนบุคคล ของกระผมเอง
ไร้รูป ไร้ตน พเนจร เจ้าสำราญ วิถีเบิกบาน ของเสรีชน
คนเราจึงเป็นมนุษย์จิตไม่ว่าง
ผมไปแอบดูพระเจ้าสร้างมนุษย์
หลังจากพระองค์สร้างเหนือหนังเสร็จปุ๊บ พระองค์ก็เอาพู่กันจุ่มหมึกเหนียวป้ายลงที่จิตใจของเรา
แล้วเราก็ดำเนินการต่างๆไปตามแผน ที่พระเจ้าผนึกเราไว้ในหมึกเหนียวนั้น
มีเพียงพระพุทธเจ้าและเหล่าสาวกกระมังที่เข้าใจแผนการดังกล่าว จึงสามารถใช้ตาแห่งปัญญาเผาทำลายหมึกเหนียวของพระเจ้าได้ ด้วยลมหายใจ ที่นำพาสติมากอดก่ายกับปัญญา แล้วตัดฟันทำลายมายาทั้งปวงลง
เมื่อลุถึงที่สุด ความว่าง หรือสุญญตาธาตุย่อมปรากฏ
ณ ที่นั้น คำสอนของผู้ทรงปัญญาทั้งหลายก็เพียง คำลวงของนักมายากล หรืออาจกล่าวว่าเป็นพวกเดียรถีย์อย่างหนึ่ง
เพชร นิล จินดา เป็นเพียงก้อนกรวด
ตำแหน่งรัฐมนตรี ดุจเก้าอี้ผุๆ
ชีวิตก็ไร้รูป ชีวาก็ไร้ตน ยังจะมีเรื่องอันใดให้เราอนาทรร้อนใจอีกเล่า
และเมื่อถ้อยคำที่แท้ได้จารึกแล้วในสุดยอดคัมภีร์ ที่ไร้อักษร ผมก็เพียงเปิดอ่านด้วยลมหายใจ ก็เท่านั้น
นี่คือ ความสัจ ที่เหล่าผู้เกรอะกรัง ในกรงขังของจิตมิอาจเข้าใจ
เหลือดำรงเพียง เมตตา และอานุภาพ สำหรับช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ด้วยคุณธรรมง่ายๆ
และทำมันให้ปรากฏเรี่ยรายในทุกข์ฝีก้าว ก็เท่านั้น ไม่มีอะไรซับซ้อน
นี่คือวิถีส่วนบุคคล ของกระผมเอง
ไร้รูป ไร้ตน พเนจร เจ้าสำราญ วิถีเบิกบาน ของเสรีชน
Subscribe to:
Posts (Atom)