Thursday, July 06, 2006
วอดก้าล้นแก้ว
วอดก้าล้นแก้ว
ศาสตราจารย์ผู้ยิ่งยง รอบรู้สรรพปัญญาทั้งปวง เนื่องจากสำเร็จการศึกษาระดับโคตะระดุษฎีบัณฑิต แปดปริญญา
แกพากเพียรอ่านเขียนงานวิชาการ วิจารณ์ วิจัย ทั้ง ธรรม อรรถ กาม ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ฮา ฮา จนล่วงรู้ฟ้าดิน สามารถพยากรณ์ เอลนิโน่ ราตินญ่า ทสุนามิ ได้อย่างแม่นยำ ชื่อเสียง ขจรขจายไปทั่วทั้งแปดทิศ เก่งชะมัด เลยแหละ ว่างั้น
อยู่มาวันนึงแกได้ยินว่า มีอาจารย์ชราผู้เก่งกาจสามารถล่วงรู้ปริศนา คือ ความจริงแท้ อันมีหนึ่งเดียว เมื่อได้ยินเช่นนั้น ในฐานะผู้ร้อนวิชา จึงเดินทางด้วยเท้าไปพบกับอาจารย์ชราเพื่อหวังลองวิชา ว่าจะแน่สักแค่ไหน
เมื่อฝ่าหิมะโปรยปรายมาถึงสำนักอาจารย์ชรา แกก็เดินเข้าไปนั่งใกล้ๆ พร้อมกล่าวคำทักทายในขณะที่อาจารย์ชรากำลังรินวอดก้าผสมน้ำส้ม (สครูไดรเวอร์)สูตรมอมสาว เพื่อต้อนรับศาสตราจารย์ผู้ยิ่งยง
ศาสตราจารย์ยิ่งยงกล่าวว่า ไหนท่านลองบอกมาซิว่า ความจริงแท้ คืออะไร
อาจารย์ชราไม่ตอบคำถามแต่อย่างใด กลับรินวอดก้าลงในแก้วจนสุราคอมมิวนิสต์เก่าล้นกระฉอกออกนอกถ้วยหกเลอะเทอะ ขากางเกง
เฮ้ย ทำไมท่านอย่างนี้ฟะ
อาจารย์ชรา ตอบ หากท่านต้องการล่วงรู้ความจริงแท้ กรุณาทำแก้วของท่านให้ว่าง มิเช่นนั้น ท่านก็จะเลอะเทอะ เช่น วอดก้าแก้วนี้ ฮา ฮา
(ดัดแปลงจาก ชาล้นถ้วย นิทานเซน เรื่องหนึ่ง)
........................................
นิทานเรื่อง นี้ สอนให้รู้ว่า คนที่เรียนมามากๆ จะอีโก้เยอะ จนไม่อาจรับฟังใครได้ ดุจวอดก้าล้นแก้ว ที่ไม่อาจเทสิ่งใดลงไปได้ เพราะจิตใจเต็มไปด้วยความรู้ และยึดมั่นในความรู้ของตน ก็ย่อมยากที่จะรับฟัง ธรรม อันประเสริฐ และบางครั้งความรู้ที่รู้อาจทำให้เลอะเทอะขากางเกงจนราดน่องก็เป็นได้ ฮา ฮา
จริง หรือ หลอก
เฉลย หลอก
การตีความนิทานดังกล่าวมาข้างต้น แท้จริงเป็นเพียงการตีความในระดับศีลธรรมเท่านั้นยังมิใช่ แก่นที่ เซน ต้องการสื่อสาร
แก้วที่ว่างเปล่า คือ จิตเดิมแท้
วอดก้า คือ บรรดาความรู้ ความยึดมั่น ที่ต้องเททิ้ง หรือก้าวพ้น
ไม่มีวอดก้าที่อาจารย์ชราจะเติมให้ศาสตราจารย์ยิ่งยงหรอก
เททิ้งวอดก้า คือ การเติม ที่ไม่มีการเติม
เมื่อนั้น อาจารย์ชรา ศาสตราจารย์ยิ่งยง วอดก้า และแก้ว ย่อมหายไป
หายไปได้ไงฟะ เอาคืนมา
ฮา ฮา ฮา
..........................
บุญรักษา ชีวาสดชื่น
เมฆบ้า ปัญญาอ่อน
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
8 comments:
เรื่องนี้คุ้นๆเหมือนเคยอ่านในหนังสือนิทานเซน
เป็นนิทานที่อ่านยากมาก อ่านแล้วบางทีแม่งก็จบดื้อๆซะงั้น อะไรของมันวะ
ว่าแต่
เสียดายวอดก้านะ เททิ้งทำไมอะ 5555
เซนไม่อาจเข้าใจด้วยความคิด
แต่เข้าถึงได้ ด้วย ซาเซน คือ การวิปัสสนา เท่านั้นขอรับ
ต้องเริ่มฝึกสมาธิอย่างถูกต้อง จึงจะเข้าใจ
จริงๆแล้วสมาธิเนี่ย ผมสามารถแนะได้นะ
นั่งไป กินเหล้าไป เคยเจอไหม ฮา ฮา
ซาเซนคงไม่ไหว
เซนชะดีกว่า สุดยอด
555
(เฮ้อ มือถือหายเลยเหวอๆ) เข้ามาทักทายครับพี่
จาก capitalism man
555 (อีกรอบ)
อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ให้สัมภาษณ์ ครับ ผมเห็นด้วยมากๆตลอดทั้งบทสัมภาษณ์เลยนะครับ การนั่งอ่านบทสัมภาษณ์ของอาจารย์เหมือนผมได้นั่งวิปัสสนาเลยฮะ
ในภาวะที่บ้านเมืองเกิดวิกฤต อาจารย์คิดว่าปัญญาชนควรจะมีบทบาทอย่างไร
ปัญญาชนก็ต้องหัดฟังคนอื่นให้มาก ปัญญาชนต้องอย่านึกว่ามีคำตอบอย่างเดียว ถ้ารู้สึกว่าเป็นปัญญาชนจริงจังต้องกล้าพูด เมื่อกล้าพูดก็ต้องกล้าฟังคนอื่น กล้าฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ด้วย อย่านึกว่าเราถูกอยู่คนเดียว ต้องฟัง และที่สำคัญ ผมคิดว่าฟังคนเล็กคนน้อยให้มาก และปัญญาชนจะช่วยได้มาก เพราะบางทีคนเล็กคนน้อยเขาไม่สามารถพูดได้ชัด ฟังจากเขา เรียนจากเขา และเอามาพูดแทนเขาให้ชัด ผมว่าเรามีบทบาทเท่านี้เอง เราเป็นผู้ประกาศเท่านั้นเอง เพราะเราสามารถพูดได้ชัด แต่ส่วนมากที่เราพูดชัด เราเอาตำราฝรั่งมาพูด ผมว่าหมดสมัยใช้ตำราฝรั่งแล้ว
จิตสำนึกของปัญญาชนบางกลุ่มมันก่อน 24 มิถุนายนทั้งนั้น ผมไม่ได้ว่าเขานะ เพราะคุณเรียนมา คำตอบอยู่ที่วีรบุรุษ
ผมว่านี่เป็นความผิดพลาดของปัญญาชน ยิ่งปัญญาชนที่เป็นดอกเตอร์มาจากเมืองฝรั่ง กฎหมายก็ต้องเป็นแบบฝรั่งเศส กฎหมายต้องเป็นแบบเยอรมัน ปัญญาชนเหล่านี้ทำไมไม่เรียนจากชาวบ้านบ้าง ทำไมไม่เรียนจากศาสนาพุทธบ้าง ที่เนื้อหาสาระ ศาสนาพุทธจะไม่ต้องการคำตอบจากเบื้องบนตลอดเวลา พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้ตั้งศาสนาพุทธเอง ท่านบอกว่าสงฆ์เป็นใหญ่กว่าท่าน ต้องหัดมองกว้าง ไกล และลึก ไม่ใช่มองขึ้นสูงตลอดเวลา ฟ้าดินก็มีประโยชน์ ไม่ใช่ไม่มีประโยชน์ แต่ส่วนมากฟ้าดินมีประโยชน์กับคนข้างบนนะ ไม่มีประโยชน์กับคนข้างล่างเท่าไหร่
http://www.ausaid.gov.au/scholar/
You may interest in.
ขอบคุณครับ คุณพี่
ตอนนี้ผมเตรียมขอทุน ระมัน อยู่ ไม่รู้ว่าจะได้รึเปล่า
ถ้าไม่ได้กะไป ด้วยอรรถของตัวเองที่เหลือจากค่าเหล้าขอรับ
จาก เมฆบ้า 114
Hmm I love the idea behind this website, very unique.
»
Great site loved it alot, will come back and visit again.
»
Post a Comment