บทสัมภาษณ์กระผมเอง
ประชาชาติธุรกิจ
ศาสตรา โตอ่อน แจ็กไม่กลัวยักษ์ ? สิทธิ-หน้าที่ และความชอบธรรม
29 ม.ค.2549 "ชินคอร์ป" แจ้งตลาดหลักทรัพยฯพร้อมแถลงข่าวปิดดีลซื้อขายหุ้นตระกูลชินวัตรให้กองทุนข้ามชาติ "เทมาเส็ก"เป“นดีลที่มีมูลค่าสูงถึง 7.3 หมื่นล้าน และจากนั้นเป็นต้นมาได้ก่อให้เกิดกระแสการวิพากษ์วิจารณ์ และการเรียกร้องให้มีการตรวจสอบ "อภิมหาดีลประวัติศาสตร์" จากทั่วสารทิศ ส่งผลสะท้านสะเทือนต่อสถานะของนายกรัฐมนตรี "ทักษิณ ชินวัตร" ในฐานะอดีตเจ้าของและผู้ก่อตั้งกลุ่มชินคอร์ปอย่างหนักหน่วง...ต่อเนื่อง
20 มี.ค. "ศาสตรา โตอ่อน" อ.หนุ่มแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต ยื่นฟ้องหน่วยงานรัฐให้เพิกถอนสัมปทานชินคอร์ปต่อ "ศาลปกครอง"
22 มี.ค. "ศาลปกครอง" มีคำสั่งไม่รับฟ้อง
26 มี.ค. "ศาสตรา" ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด"
19 ก.ย." เกิดการปฏิวัติยึดอำนาจโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.)"ทักษิณ ชินวัตร" กลายเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ของประเทศไทยไม่มีใครคาดคิดว่า ผลพวงของอภิมหาดีล "ชินคอร์ป-เทมาเส็ก" จะส่งผลสะท้านสะเทือนถึงเพียงนี้ "เทมาเส็ก" และอดีตเจ้าของ-ผู้ก่อตั้งกลุ่ม "ชินคอร์ป" เองก็คงคาดไม่ถึงด้วยเช่นกัน....
5 ต.ค.ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งรับคำฟ้อง !!!
การฟ้องร้องของอาจารย์"ศาสตรากลายเป็นปรากฏการณ์น่าสนใจขึ้นในบัดดลยิ่งเมื่อย้อนกลับไปดูลำดับเหตุการณ์ข้างต้น ยิ่งพบความน่าสนใจติดตามรายละเอียดใน "ประชาชาติธุรกิจ" กับบทสัมภาษณ์ "ศาตรา โตอ่อน" ในบรรทัดถัดไป
- ทำไมครั้งที่แล้วศาลถึงยกฟ้องเวลายื่นคดีไปที่ศาล
ศาลต้องมานั่งดูก่อนว่าจะรับคำฟ้องหรือไม่รับ ประเด็นว่ารับหรือไม่รับ เป็นประเด็นว่าผู้ฟ้องคดีมีความเดือดร้อนเสียหายจากข้อพิพาทหรือเปล่า ฐานในการฟ้องคดีนี้มี 2 ฐาน คือฐานเกี่ยวกับสัญญาการปกครอง และฐานละเลยปฏิบัติหน้าที่ ผมฟ้องในฐานละเลย เพราะเห็นว่าหน่วยงานรัฐมีอำนาจตรวจสอบ เมื่อพบว่าสัญญามีความขัดแย้งต่อกฎหมายต้องดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด จะแก้ไข ยกเลิกเพิกถอนก็ว่ากันไป แต่กลับไม่ทำอะไรเลย ผมถึงต้องฟ้องฐานละเลยทีแรกศาลปกครองกลางไม่รับฟ้อง เนื่องจากบอกว่า เป็นประเด็นสัญญาการปกครองซึ่งผมไม่ใช่คู่สัญญา ผมเลยอุทธรณ์ไปว่าไม่ได้ฟ้องฐานสัญญาการปกครอง แต่ฟ้องฐานละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งศาลท่านก็เห็นว่า คำอุทธรณ์ฟังขึ้น
- พิจารณาคนละประเด็นกับที่ฟ้อง
ใช่ ซึ่งคำอุทธรณ์ก็ฟังขึ้น คดีก็เข้าสู่ศาล
- ไม่เกี่ยวกับการเปลี่ยนขั้วอำนาจการเมือง
ถ้าดูในคำสั่งรับคำฟ้องของศาลปกครองจะเห็นว่า คำสั่งลงวันที่ 12 ก.ย. เกิดก่อนรัฐประหารแต่ยังไม่ได้อ่าน เพราะเป็นขั้นตอนภายใน
- อะไรเป็นจุดเริ่มต้นที่ผลักดันให้ออกมาฟ้อง
ผมออกไปต่อสู้กับความไม่ถูกต้องทางกฎหมาย ตั้งแต่ปี 2544 ตอนยังเรียนปริญญาโท ก็เรื่องคดีซุกหุ้น ผมไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลขณะนั้น ก็ทำใบปลิวไปแจกที่ศาล ตั้งแต่นั้นก็ติดตามเรื่องนี้มาตลอด ในฐานะนักกฎหมาย ผมคิดว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดในการปกครองประเทศคือหลักนิติรัฐ แต่ตลอดเวลาที่ผ่านมาระบบทักษิณทำลายระบบนิติรัฐไปหมดเลย ระบอบทักษิณเลียนแบบวิธีการของโลกาภิวัตน์ เลียนแบบวิธีการซิกแซ็กของนายทุน เพื่อแสวงหาผลกำไรสูงสุดโดยไม่คำนึงถึงอะไรเลย ไม่คำนึงถึงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ไม่คำนึงถึงวัฒนธรรม ไม่คำนึงถึงกฎหมาย
ระบอบนายทุนโลกาภิวัตน์มุ่งแสวงหากำไร ทำยังไงก็ได้ที่จะเข้ามาครอบงำด้วยอำนาจทุน ผมขอเอาคำของ อ.เจริญ คัมภีรภาพ มาที่ว่า กระบวนการโลกาภิวัตน์เป็นระบบกฎหมายของโลกซึ่งกำลังเข้ามาทำลายระบบกฎหมายภายใน แต่เวลาเขาใช้จะใช้คำว่า เข้ามาเปลี่ยนแปลง คือมันดูดีไง ซึ่งจริงๆ กฎหมายภายในบางเรื่องก็มีขึ้นมาเพื่อปกป้องประโยชน์สาธารณะ แต่กระบวนการโลกาภิวัตน์โลกไม่ได้สนใจกฎหมายภายใน เพราะโลกาภิวัตน์โลกคือความต้องการในการเคลื่อนย้ายทุนอย่างเสรี คือต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง กฎหมายคือสิ่งกีดขวางอย่างหนึ่ง สมมุติจะเข้ามาลงทุน มาซื้อที่ ต้องการเข้ามาแย่งทรัพยากร ถ้าติดกฎหมายที่ดิน กฎหมายเรื่องนั้นเรื่องนี้จะเข้ามาได้ไหม กระบวนการที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบันคือกระบวนการโลกาภิวัตน์ของทุน นักธุรกิจพูดจะบอกแต่ตลาดเสรี ซึ่งเป็นการมองแบบแยกส่วน
- กรณีชินคอร์ปเป็นตัวแทนกระแสโลกาภิวัตน์
ใช่ แต่ปัญหาคือธุรกิจชินคอร์ปมาจากการรับสัมปทาน ซึ่งรากเหง้าของสัญญาสัมปทานคือประโยชน์สาธารณะ แม้จะทำกำไรก็ต้องอยู่ในขอบเขต การโอนหุ้นชินให้เทมาเส็กไม่ก่อให้เกิดประโยชน์สาธารณะและผิดกฎหมายหลายฉบับ
- ทุนโลกาภิวัตน์คนละขั้วกับเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเวลาคำนวณความสูญเสีย หรือจีดีพี ต้องบวกสิ่งที่สูญเสียไปด้วย ไม่ใช่พูดถึงแต่การผลิต หรือผลิตภัณฑ์มวลรวม ทุนโลกาภิวัตน์จะไม่พูดถึงของเสียที่ลงไปสู่พื้นดิน มูลค่าวัฒนธรรมที่ถูกทำลาย หรือกฎหมายที่ได้รับความเคารพนับถือน้อยลง ถ้าบริษัทต่างๆ เลี่ยงกฎหมายได้ ทำไมชาวบ้านจะเลี่ยงกฎหมายไม่ได้
- การเลี่ยง กม.กับทำผิดกฎหมายเหมือนกัน
เหมือนกัน สมมุติ กฎหมายห้ามฆ่าคน ถ้าคุณเอามีดไปแทงเขา คุณผิด การเลี่ยงคือกฎหมายว่ายังงี้แต่ใช้สมองมากมาย ดูว่าจะทำยังไง ตีความตามตัวอักษรยังไงไม่ให้ออกมาแล้วให้เหตุผลในเชิงตรรกะได้ แต่ผลสุดท้ายเหมือนกัน คือนำไปสู่การกระทำที่ผิดกฎหมาย จริงๆ คำว่าช่องว่างทางกฎหมายไม่มีหรอก เพราะกฎหมายเป็นสิ่งที่มีทั้งตัวอักษรและเจตนารมณ์ ซึ่งต้องไปด้วยกันตลอด การหลีกเลี่ยงกฎหมายคือการใช้ตัวอักษรมาบิดเบือนเจตนารมณ์ กฎหมายภาษีก็เหมือนกัน การที่เราต้องเสียภาษีเป็นหน้าที่รับผิดชอบส่วนบุคคล เป็นความยุติธรรมทางสังคมที่รายได้ต่างๆ ต้องจัดสรรแบ่งปันไปสู่สังคมร่วมกัน เอาไปพัฒนาอะไรต่างๆ ร่วมกัน ถ้าคุณมัวแต่เอาถ้อยคำมา แต่ไม่เข้าถึงความยุติธรรม คุณก็ไม่ใช่นักนิติศาสตร์ แต่เป็นแค่นักอักษรศาสตร์ เป็นแค่พวกเล่นแร่แปรธาตุที่ใช้แต่ถ้อยคำ นักกฎหมายที่เป็นแบบนี้ คนไม่รู้กฎหมายบางทีเถียงเขาไม่ได้ แต่กับคนบางคนไม่ต้องเรียนกฎหมายก็สามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้ เป็นเซนส์ในความดีงามของมนุษย์
- เห็นแง่มุมไหนถึงยื่นฟ้อง
ผมสอนวิชากฎหมายปกครองก็รู้เรื่องสัญญาทางปกครอง โดยหลักพื้นฐานเห็นชัดเจนว่า การเปลี่ยนมือผู้ถือหุ้นจากไทยมาเป็นสิงคโปร์ มีการเปลี่ยนตัวคู่สัญญา ดังนั้นต้องกระทบสัญญาสัมปทานแน่นอน ก็ต้องกลับไปเช็กว่า ขัดกฎหมายอะไรบ้าง ประเด็นนอมินีเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ปี 40 ซึ่ง 49 ก็ยังคุ้มครองเรื่องสิทธิเสรีภาพประชาชน มาดู พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจคนต่างด้าว ก็เป็นกิจการที่ห้ามคนต่างด้าวทำ นี่ประเด็นแรกที่เห็น เดือน มี.ค.ผมฟ้อง เพราะคิดว่าถ้ามีการยกเลิกสัมปทานจะปกป้องผลประโยชน์ประเทศชาติได้
- ตัวกฎหมายมีปัญหา
มันถูกแก้จาก 25% เป็น 49% เพื่อเปิดช่องให้ง่ายขึ้น ทีนี้วิธีการพวกนี้ที่ปรึกษากฎหมายชอบทำ คือตั้งบริษัทขึ้นมา เอาทนายความไปถือหุ้น ทำเยอะแยะเต็มไปหมด หวังผลอย่างเดียวคือกำไรสูงสุด ไม่รู้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบหรือเปล่า จริงๆ ปัญหาคือตัวกฎหมายมีดีอยู่แล้ว แต่ปัญหาในการบังคับใช้และการตรวจสอบไม่ดีพอ
- ดูแค่ชั้นเดียวใช่
ก็อ้างแค่ตรงนั้น จริงๆ หลักการที่สำคัญ เจตนารมณ์ของกฎหมายคืออะไร ไม่ให้ต่างชาติเข้ามามีอำนาจในกิจการเหล่านั้น เพราะจะกระทบความมั่นคงของประเทศ ดังนั้นจะมาดูแค่ชั้นเดียว หรือตีความตามตัวอักษรได้ยังไง โอเค คุณคิดว่าบริษัทหนึ่งมี 100 หุ้น ต่างชาติถือ 40 คนไทย 60 เป็นรายย่อย ถามว่าใครมีอำนาจในการโหวต ต่างชาติใช่ไหม ดังนั้นต้องดูอำนาจในการกำหนดทิศทางบริษัท กฎเกณฑ์เหล่านี้ต้องมีการปรับปรุงกฎเกณฑ์ใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญอาจไม่มีการระบุ แต่ตัวรัฐธรรมนูญจุดสำคัญคือห้ามต่างชาติเข้ามามีอำนาจในตัวทรัพยากร ดังนั้นถ้าตีความตามรัฐธรรมนูญ เกณฑ์มันควรบัญญัติไว้ หลักในการพิจารณาต้องดูว่า ใครเป็นคนมีอำนาจ และต้องดูรัฐธรรมนูญด้วย เพราะรัฐธรรมนูญกว้างกว่า พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจ
- เมื่อรัฐไม่ทำหน้าที่ก็ต้องฟ้อง
ใช่ เพราะหน่วยงานรัฐต้องดูแล ผมเองไม่อยากเป็นคนทำหน้าที่นี้หรอก ถ้าเขาทำหน้าที่ของเขา ผมจะอยากทำ ทำไม เงินก็ไม่ได้ มีแต่ความเสี่ยงด้วย ประเด็นนอมินี เทมาเส็กเองคงพยายามลดสัดส่วนหุ้น พอลดสัดส่วนหุ้นลงไปก็ไม่ผิดแล้ว แต่ประเด็นเรื่องรัฐธรรมนูญต้องมาดูให้ชัดว่ามีอำนาจอยู่หรือเปล่า
- ตอนยื่นฟ้องไม่ได้รวม กทช.
พอศาลรับฟ้องก็จะใส่ประเด็นเพิ่มเติมไป ดีลเทมาเส็กกับครอบครัวชินวัตรมี กม.อีกตัวที่ต้องดูคือ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ที่กำหนดไว้ว่า ในกรณีที่มีเปลี่ยนแปลง ต้องขออนุญาต กทช.ด้วย ยิ่งถ้าเป็นบุคคลต่างชาติต้องได้รับการอนุญาตจาก กทช. จากข้อมูลการตรวจสอบของคณะกรรมาธิการวุฒิสภา ซึ่งตรวจสอบไว้ก่อนหน้ายุบสภาแป๊บเดียว และเอกสารนี้ไม่ได้เผยแพร่ พบว่าไม่มีการขออนุญาต กทช. เมื่อคุณโอนสิทธิตามสัญญาโดยไม่ขออนุญาต ก็ผิดสิ ประเด็นนี้นอมินีหรือไม่นอมินีไม่เกี่ยวแล้ว ต่อให้คุณโอนให้คนไทยด้วยกันก็ต้องแจ้ง กทช. เพราะ กทช.มีอำนาจตรงนี้ชัดเจน
- กทช.อ้างว่าขอข้อมูลกระทรวงพาณิชย์ไป
กทช.มีอำนาจในการตรวจสอบ การขออนุญาตเป็นเงื่อนไขก่อนโอน ไม่ใช่โอนแล้วให้ กทช.ไปตรวจ ก่อนโอนเขาต้องมาขออนุญาต เมื่อโอนแล้วมาขอก็ต้องโวยวาย ถามว่าเป็นแบบนี้ โอนไปแล้วจะทำยังไง ผิดกฎหมายไหม ณ วันนี้สิงคโปร์ถือหุ้น พอมีปัญหา แล้วก็ออกมาประกาศว่าต้องการลดสัดส่วนหุ้น มันก็ทำผิดกฎหมายอีก เพราะไม่แจ้ง กทช. ถามว่ากิจการโทรคมนาคมเป็นเรื่องประโยชน์สาธารณะไหม ต้องการ การควบคุมผู้ประกอบกิจการ เพราะอำนาจของข้อมูลข่าวสารเป็นเรื่องของสังคมที่ต้องควบคุม ตรวจสอบ
- คาดหวังอะไรจากสิ่งที่ทำบ้าง
การยกเลิกเพิกถอนสัมปทานหรือเปล่าเป็นเรื่องของศาลที่ต้องพิจารณา แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นชัดคือมีกฎหมายที่สามารถปกป้องประโยชน์ของประเทศชาติได้ แต่ที่ผ่านมาหน่วยงานราชการ หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ปล่อยปละละเลย โดยเฉพาะประเด็นนอมินี เปรียบเสมือนเสือที่เอาหนังแกะมาหุ้ม เขากลายเป็นนิติบุคคลสัญชาติไทย มีสิทธิอะไรบ้าง มีสิทธิซื้อที่ดินได้ถูกไหม มีสิทธิในการใช้ทรัพยากรของประเทศ
- นักธุรกิจบอกว่า ซื้อที่ดินไปก็เอาไปไม่ได้
อำนาจหรือสิทธิไม่ได้อยู่ที่เอาไปได้ไหม เหมือนคุณมีสมบัติ มีที่ดิน ตายไปแล้วเอาไปได้ไหม ก็ไม่ไดh แต่ถามว่าการมีที่ดินหมายถึงอะไร การปลูกพืช การได้กินได้ใช้ ได้ดำรงชีพใช่ไหม การให้ต่างชาติมาถือครอง ดินกินไม่ได้ แต่ได้สิทธิในการทำประโยชน์ ในการดำรงเลี้ยงชีพ ต่างชาติชอบมาลงทุนในประเทศเราเพราะ ค่าแรงถูก แต่ที่สำคัญคือต้นทุนเรื่องสิ่งแวดล้อมไม่มี หรือมีก็น้อยมาก ถามว่าปีๆ หนึ่งมีขยะพิษมาทิ้งในบ้านเราตั้งเท่าไร นักธุรกิจมองแบบนี้ ผมไม่ได้ปฏิเสธว่า จะมาทำธุรกิจไม่ได้ หากำไรได้แต่ต้องมีระบบการควบคุม ต้องบาลานซ์ให้ได้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของหน่วยงานรัฐ ที่ผ่านมาภาครัฐไม่ได้ทำงานรับใช้ประโยชน์สาธารณะ แต่รับใช้ทุนโลกาภิวัตน์
- สัมปทานไม่ได้ระบุเรื่องการเปลี่ยนเจ้าของ
นั่นเป็นหลักวิธีคิดแบบสัญญาทางแพ่ง ไม่ได้มีวิธีคิดเพื่อประโยชน์สาธารณะ ตัวสัญญาต้องเป็นไปตามสัญญา แต่เมื่อคุณโอนไป มีกฎหมายอื่นต้องดูด้วยถูกมั้ย แต่ไปอ้างแต่สัญญา แต่อันนี้เป็นระบบสัญญาในกฎหมายมหาชน
- เคสอื่นก็ทำแบบนี้หน่วยงานรัฐต้องไปตรวจสอบสิ
วันก่อนสิงคโปร์ส่งจดหมายมาถึงผม จาก อเบอร์ดีน แอสเส็ท เมเนจเม้นท์ ส่งหลักฐานของเทเล นอร์มาให้ บอกให้ตรวจสอบกรณีนี้ด้วย ผมขอตอบผ่านสื่อมวลชนไปละกันว่า คุณไม่ควรเขียนมาหาผม ควรเขียนไปหาหน่วยงานราชการ ให้ทำหน้าที่นี้ และ 2.ต้องเขียนไปหาประธานาธิบดีคุณด้วยว่า จะมาทำธุรกิจประเทศอื่น หัดดูตาม้าตาเรือมั่ง ว่ามีผลประโยชน์ประเทศชาติอยู่
- ส่งมาเมื่อไร
จดหมายลงวันที่ 5 ต.ค. (วันเดียวกับที่ศาลปกครองสูงสุดอ่านคำสั่งรับฟ้องคดี)
- ไม่ให้เลือกปฏิบัติ
เพราะบริษัทอื่นก็ทำผมบอกแล้วไงว่า ไปบอกหน่วยงานราชการและฝากไปบอกประธานาธิบดี ลี เซียน ลุงด้วยว่า การทำธุรกิจในไทย โปรดระวังหน่อย คนไทยมีปัญญานะ ผลเรื่องศาลผมไม่ได้คาดหวังอะไร แต่คิดว่าสิ่งหนึ่งที่จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงคือบอกหน่วยงานราชการว่า คุณต้องทำงานมากขึ้น คือทำให้กลไกปกติทำงานมากขึ้นผมสอนวิชากฎหมายมหาชน กฎหมายปกครอง พอเห็นปุ๊บก็รู้ นักธุรกิจไม่เข้าใจระบบทางกฎหมายปกครอง สัญญาทางปกครอง สัญญาสัมปทาน โดยทฤษฎีกฎหมายปกครอง คือการกระทำของฝ่ายปกครองโดยหลักการแล้วจะไปขัดแย้งกับกฎหมายไม่ได้ ถ้าขัดแย้งต้องถูกยกเลิกเพิกถอน
- ไม่ได้ปฏิเสธทุนโลกาภิวัตน์
เป็นสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในโลก แต่มองว่า ประเทศเราจะจัดระบบวิธีการอยู่ยังไงกับโลกาภิวัตน์ ทุนโลกาภิวัตน์ในตัวของมันเองไม่ได้เป็นสิ่งประเสริฐ มันวัดการเจริญเติบโตที่ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การใช้อำนาจข้อมูลข่าวสารโดยการโฆษณา การสร้างความต้องการในการบริโภค ซึ่งท้ายที่สุดนำไปสู่ความยากจน ของโลก เพราะทรัพยากรในประเทศต่างๆ ถูกทำลาย นักธุรกิจอาจมองแค่กำไรและตลาดหุ้น ในหลวงตรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งคือการลดการบริโภคลง จริงๆ แล้ว ถ้าดูปัจจัยแบบเชื่อมโยงกันทั้งหมด จะเห็นได้เลยว่าระบบเศรษฐกิจพอเพียงคือหนทางแห่งความมั่งคั่งร่ำรวย เพราะมันค่อยๆ กิน ค่อยๆ ใช้ กินไปนานๆ กินไปยาวๆ อยู่กันได้นานๆ แบ่งปันช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ผมไม่ได้ปฏิเสธทุน แต่ทุนเองก็ต้องเข้าใจ และเป็นมิตรกับประชาชนมากขึ้น มีคุณธรรมมากขึ้น ไม่ใช่มีแต่ความโลภ
- ในฐานะนักกฎหมาย ในฐานะนักวิชาการ ในฐานะคนไทย ได้แสดงบทบาทอะไรบ้างในแง่กฎหมาย
การฟ้องคดีที่เกี่ยวกับสัมปทาน หัวใจของสัญญาสัมปทานคือประโยชน์สาธารณะ คือการปกป้องประโยชน์สาธารณะ ในแง่นักกฎหมายคิดว่าได้ทำหน้าที่แล้วในฐานะนักวิชาการ ไม่ใช่แค่คนสร้างความรู้ หรือผลิตความรู้ ความรู้ทุกอย่างต้องนำไปใช้ และเกิดประโยชน์ได้ ในฐานะนักวิชาการก็ได้ทำหน้าที่ในการนำวิชาความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในแง่ประชาชนก็คิดว่า ได้ทำหน้าที่ในการปกป้องผลประโยชน์สาธารณะ ซึ่งหมายถึงปกป้องผลประโยชน์ของผมด้วย
- นักศึกษาสนใจสิ่งที่อาจารย์ทำแค่ไหน
ก็สนใจนะ แต่ผมไม่ได้คาดหวังว่า ตัวเองจะต้องเป็นอะไรที่เด่นดัง หรืออะไรเลย แต่คิดว่า ถ้าสิ่งที่ทำสร้างแรงบันดาลใจให้ใครได้ นักกฎหมายรุ่นใหม่ๆ คนที่กำลังละล้าละลังอยากเดินไปในเส้นทางที่เป็นอุดมคติ อุดมการณ์ ถ้าตรงนี้สามารถไปช่วยอะไรตรงนั้นได้ ก็คิดว่าทุกคนควรกล้าที่จะออกมาทำมากกว่า เพราะว่าในยุคนี้ ถ้าเรายังมัวมอมเมา หลงงมงาย ประเทศชาติเราจะอยู่ไม่ได้ เพราะทรัพยากรเราจะถูกยึดไปหมด
............................................
The Nation
SUNDAY BRUNCH
Fair and clear outlook
Despite his relative youth, this law lecturer is a veteran in the fight for justice, which he wants to see done in the sell-off of Shin Corp
At first sight, Sattra Toa-on looks just like the young guy next door. Yet, he made news headlines last month by taking state officials to court for dereliction of duty over the sale of
Shin Corp.
The 28-year-old junior law lecturer at Rangsit University argued that the deal seriously damaged the interests of the Thai public and consumers, and accused officials at various government agencies of negligence in this regard. The Central Administrative Court agreed to hear the case last month.
Sattra also told the court that the Bt73-billion sale of Shin Corp to Temasek Holdings of Singapore violated at least four laws - Article 39 and Article 40 of the 1997 charter, the Foreign Business Act and the National Telecom Commission law.
In essence, he argued that the licences of iTV, Shin Satellite Plc and Advanced Info Service (AIS), now held by Temasek, are no longer valid because the Singaporean firm's direct and indirect shareholdings in these businesses has topped 96 per cent, far exceeding the legal limit of 49 per cent.
Chatting over a tall glass of iced coffee at a cafe in Bangkok's Siam Discovery shopping complex, Sattra said the Shin-Temasek deal in January, which proved to be the final straw for opponents of former premier Thaksin Shinawatra, was really bad for Thailand.
"I'm sad that some poo yais (elders) in this country have failed to protect national interests," he said.
"Personally, I believe that globalisation, especially globalised capital, is not good for the country when it is extreme.
"Worse is that Thaksin, for instance, even joined forces with these globalised capitalists to damage our public interests [when his family sold their majority stake in Shin Corp to the Singaporeans]."
A lecturer for the past three years, Sattra earned his master's in law from Thammasat University and became a barrister-at-law in 2003. His speciality is administrative law and concession contracts.
"As a lecturer, I need to do my homework before classes, so I did a lot of research into the concession contracts and licences of iTV, Shin Sat and AIS. All these are scarce national resources that have strategic importance for our country.
"Looking closer, you'll see that they're 'soft' powers, because these businesses are all information-based - be it mobile phones [more than 17 million users for AIS], or satellites [whose systems may contain national intelligence data] or iTV, which operates a national TV network," Sattra said.
"The danger is that Thai people could be turned into pure consumers of all these key national services whose policies, contents and menus could be easily manipulated by foreigners. They might even use these so-called soft powers to influence our public policies in the future," he warned.
"Overall, it's the negative side of globalisation, whose forces are leading our economy to be more capitalistic and our society to be more consumerist. I think His Majesty the King's initiatives on sufficiency economy are an alternative to the excesses of globalisation."
Sattra isn't a novice at taking on former premier Thaksin. Back in 2001 when he was still studying for his degree at Thammasat, Sattra was involved in the assets-concealment case, in which Thaksin was narrowly acquitted by the Constitution Court.
"We didn't strictly follow the rule of law in that case," Sattra said, pointing out that other politicians were found guilty in similar cases but Thaksin wasn't.
In February this year, Sattra joined the anti-Thaksin People's Alliance for Democracy to campaign for his ouster. The following month, he filed his first lawsuit against the Shin-Temasek deal in the Central Administrative Court, but the case was dismissed on the ground that he wasn't directly affected by the deal.
He then lodged an appeal with the Supreme Administrative Court on the ground that state officials' dereliction of duty in overseeing this transaction had seriously damaged public and consumer interests. As a result, the lower court was ordered to take up the case.
Legal pundits believe that the case now has three key points of contention.
First, the deal failed to comply with the Foreign Business Act as far as the use of nominees is concerned.
Second, proper administrative procedures were not followed in this transaction. For instance, there was no prior approval of the deal from the National Telecommunications Commission, which has regulatory powers.
Third, key elements of the concession contracts between the state and the private sector governing iTV, Shin Sat and AIS were violated after the majority stake of Shin Corp was sold.
About himself, Sattra said: "I might be somewhat atypical for my age. I'm a bit hardened by my growing up, since I left my family and hometown of Sing Buri for a Buddhist temple when I was only six.
"During my teens, I wasn't the activist type either. In fact, I didn't join any such activities at Thammasat during my years there. I preferred reading on my own and observing life, urban and rural, and studying law.
"At Thammasat, I was given many opportunities to advance my skills under the guidance of Ajarn Suraphol Nittikraipot [now the university president]," Sattra recalled. "I once gave legal counsel to a university janitor who was asked by the administrative staff to pay more than Bt20,000 for a stolen computer. It wasn't his fault but the staff insisted they had to take legal action against him. In the end, the demand was dropped. Fairness must prevail."
Now Sattra has taken his desire to see fairness prevail from an individual case to a national cause.
Nophakhun Limsamarnphun,
Somroutai Sapsomboon
12 comments:
wow!
เหอะ เหอะ นี่แหละรุ่นพี่ที่กูนับถือ มันต้องอย่างงี้สิวะ
จ๊าบใจ กูอ่านเจอในโพสท์ทูเดย์โดยบังเอิญ อันที่มีรูปมึงถ่ายใต้คอมม่อน อันนั้นให้เหตุผลดีมากนะ น่าจะเอามาลงบ้างนะกร้าบพ้ม..
ไม่ได้อ่านในหนังสือพิมพ์แฮะ พึ่งได้รู้เรื่องก็วันนี้เอง
บอกได้คำเดียวว่า คูล แม๊น
พีเอส
เมื่อกี้พึ่งดูท่านเปาเสร็จ โคตรชอบละครเรื่องนี้จริงๆพับผ่าดิ ดูแม่งทุกตอน
ขอบคุณขอรับ มิตรรักขาร็อก
ผมนั่งดูตัวเองย้อนหลัง แล้วนั่งเกาหัวแกรก แกรก แล้วรำพึงว่า กูนี่มันบ้าจริงๆ
ขอบคุณสำหรับบทความนะค่ะ
Google TV is an application available on select Sony high definition televisions, Blu-ray Disc players and Logitech's Revue. s time to prop up the bottom of the Apple - TV and expose all of its internals. The Apple TELLY is far from a mass-marketplace machine, but its sales numbers display that even in the reasonably small industry, Apple dominates the levels of competition.
Here is my web blog :: apple tv review
It's unclear from the report, as well, if Google will offer cellular versions of the tablet immediately (last year the company released a wi-fi-only version months before debuting a 3G version). It definitely will be a major threat to Kindle Fire. Moving on, this handset ships with Android Gingerbread for its OS but soon enough the famous Ice Cream Sandwich update will land on this phone.
Also visit my web-site - google nexus 7 tablet
Polarising filters are a must-have accessory for any landscape photographer.
On the other hand when you add a vertical grip and a second
battery to selected camera design the cameras all of a sudden complete speedier.
It's slightly different in terms of look and design, but in terms of functionality the only improvement is a digital zoom.
Review my site ... canon eos 6d
Is it an advantage or disadvantage to save everything on
the web. Even so, several average well-known options of their software
are: listening to stay phone calls, notification for
Sim modifications, locale checking with Worldwide positioning system, accessibility to emails dispatched and
received by way of the i - Phone, view phone documents background and other
specifics of inbound and outbound phone calls are the attributes that are
preferred in most i - Phone spy applications from distinctive makers.
While the Inspiron and Samsung both offer the new i3 processor, the Acer AS5253 comes with a quick AMD-E series 2.
Also visit my web page samsung chromebook
The question is - which platform provides the best viewing
experience. Could it be that the big media companies want to keep the two seperate on purpose.
Thus, Roku has been the favorite name when it comes to streaming players.
my weblog roku 2 xs
Just go and browse through some serviceed online websites and acquisition out the
deals of your best with just few simple clicks.
The Black - Berry Playbook price has not yet
been revealed but it is thought that it could
be up to £100 cheaper than the equivalent i - Pad model, which
will make it a very attractive proposition indeed once the Black - Berry Playbook release date arrives.
In standard version Blackberry Playbook there are no support for GPRS, EDGE and 3G.
my site playbook review
Post a Comment